๑๐.  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์  (Union of Myanmar)
                มีเมืองหลวงคือ  “เนปิดอว์”  ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตกโดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ  ๖  แสนตารางกิโลเมตร  ประชากร  ๔๘  ล้านคน  กว่า  ๙๐  เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  หรือหินยาน  และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

ธงชาติ/ตราแผ่นดิ

 

ประเทศพม่านับเป็นประเทศที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง  มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่
 แต่ด้วยความเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารและเพิ่งเปิดประเทศออกสู่
สังคมประชาธิปไตย  ตลอดจนภายในประเทศยังมีความขัดแย้งในปัญหาชนกลุ่มน้อยอยู่สูง
 พม่าจึงเป็นประเทศที่จะค่อย ๆ  ขับเคลื่อนต่อไปอย่างช้า ๆ  หากแต่มั่นคงเป็นอย่างยิ่ง
  และนี่คือ  ๑๐  ประเทศอาเซียนที่จะเข้ามารวมกันเป็นหนึ่งประชาคม  น่าสังเกตว่า
ในภูมิภาคนี้ยังขาดประเทศติมอร์ตะวันออกไปอีกหนึ่งประเทศ  จึงเชื่อมั่นว่า
ในอนาคตอันใกล้  ติมอร์ตะวันออกก็จะเข้ามาร่วมกับทั้ง  ๑๐  ประเทศนี้เพิ่มขึ้น

“เนปิดอว์”  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
      เมียนมาร์  หรือพม่า  มีประชากรราว  ๕๐  ล้านคน  เขตแดนติดต่อกับประเทศไทยทางภาคตะวันตก
และภาคเหนือ  แต่เดิมเมืองหลวงของพม่าคือกรุงย่างกุ้ง  แต่เมื่อปี  ๒๕๔๙  พม่าได้ย้ายเมืองหลวง
และหน่วยราชการต่าง ๆ  มาอยู่ที่เมืองเนปิดอว์  ซี่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งราว  ๓๕๐  กิโลเมตร
 เพื่อความสะดวกในการบริหารงาน  พม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
 และมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่และงดงามไม่ว่าจะเป็นมหาเจดีย์ชเวดากอง
 พระธาตุอินทร์แขวน  หรือทุ่งเจดีย์ที่เมืองพุกาม  แม้จะถูกปกครองประเทศด้วยระบอบ
เผด็จการทหารมาเป็นเวลานาน  แต่ปัจจุบันพม่าเริ่มเปิดประเทศออกสู่สังคมประชาธิปไตย
 พม่าจึงเป็นประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดประเทศหนึ่ง

 

                   

จุดแข็ง
                มีทรัพยากรธรรมชาติ  น้ำมัน  และก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
                มีพรมแดนเชื่อมโยงทั้งจีนและอินเดีย
                ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ  (๒.๕  ดอลลาร์สหรัฐ  ต่อวัน)
                มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมอีกมากมาย
จุดอ่อน
                ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
                ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบาย
                ธุรกิจการท่องเที่ยวแทบทั้งหมดอยู่ในมือทหาร
ประเด็นที่น่าสนใจ
                การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก  ทั้งทางถนน  รถไฟความเร็วสูง  และท่
าเรือ

เอกสารอ้างอิง
อภินันท์ บัวหภักดี. 2556. ความรู้ทั่วไปเรื่องอาเซียน : ๑๐  ประเทศอาเซียน.อนุสาร อสท. 53(7):40-41.

____________________ เปิดโลก AEC : จุดแข็งและจุดอ่อนทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
ของ 10 ประเทศอาเซียน. อนุสาร อสท. 53(10) : 42-44.
____________________ เปิดโลก AEC : เมืองหลวงอาเซียน 10 ประเทศ.อนุสาร อสท. 53 (9) : 42-43.

_________________ เปิดโลก AEC : ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน. อนุสาร อสท. 54(10) : 46-47.

เอกลักษณ์ของแต่ละชาติ ประเทศในกลุ่มอาเซียน.... http://picpost.postjung.com/116457.html


 
PREVIOUS