๘.  ราชอาณาจักรไทย  (Kingdom of Thailand)
“กรุงเทพมหานคร”  ราชอาณาจักรไทย
                กรุงเทพฯ  เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย  มีประชากรทั้งประเทศราว  ๗๐ ล้านคน
  และด้วยสภาพที่ตั้ง  หลาย ๆ  คนคาดหมายว่าน่าจะก้าวไปสู่ความเป็นเมืองหลวงของอาเซียน
อย่างไม่เป็นทางการได้ในท้ายที่สุดกรุงเทพมหานคร  หรือ  กทม.  เป็นศูนย์กลางการปกครอง
  เศรษฐกิจและการค้าของไทย  เป็นเมืองที่มีความทันสมัยและยังรักษาอดีตอันเก่าแก่ไว้ได้
ในเวลาเดียวกัน  มีพื้นที่ประมาณ  ๑,๕๐๐  ตารางกิโลเมตร  มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
หลายแห่ง  ไม่ว่าจะเป้นพระบรมมหาราชวัง  พระที่นั่งวิมานเมฆ  และวัดต่าง ๆ
 รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าอันทันสมัย  ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางเข้ามา
ท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ  ได้เป็นจำนวนมาก

               “กรุงเทพมหานคร”  มีพื้นที่ประมาณ  ๕  แสนตารางกิโลเมตร
 ประกอบด้วย  ๗๗  จังหวัด  มีประชากรประมาณ  ๖๕  ล้านคน  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
 และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ  ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์
เป็นองค์ประมุขของประเทศ

ธงชาติ/ตราแผ่นดิ
 

อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of
South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน
 คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม
 ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่า
และลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็น
สมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
  ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบ
ความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้าน
ความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วาง
แนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์
หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community)
 โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคม
และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
  โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน
 ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

                   
       
วัดอรุณราชวราราม                                                 กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ

          1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC)
 มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี
 มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้ง
รูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
          2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
 มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขาย
ระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ
 ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
        มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนา
ทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
 ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา
และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
               ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงิน
และตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม
 พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
             กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ
สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ /
 เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยว
และการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกัน
อย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
 สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยว
และการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร
 มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทย
ในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการ
สร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น
ประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
 ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจาก
การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
 เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่อง
เกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์
หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

               

จุดแข็งและจุดอ่อนทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
จุดแข็ง
                เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการ
เป็นรายใหญ่ของโลก ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่าง ๆ
                สาธารณูปโภคพื้นฐานครอบคลุมทั่วถึง
                ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
                แรงงานจำนวนมาก
                มีศักยภาพสูงในการทำธุรกิจท่องเที่ยว
จุดอ่อน
                แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
                เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
                แหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
ประเด็นที่น่าสนใจ
                ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน   เช่น  ศูนย์กลางโลจิสติกส์และ
ศูนย์กลางการท่องเที่ยว       ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่  AEC  ปี  ๒๕๕๓-๒๕๕๔
 ได้  ๖๔ เปอร์เซ็นต์  สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่  ๕๓  เปอร์เซ็นต์
 สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง

 
PREVIOUS