ดังนั้น พวกที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในครั้งนี้ เป็นพวกที่ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาปก็มี พวกที่ไม่นับถือพุทธศาสนา
ก็มีพวกที่สงสัยอยู่ก็มี พวกที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งอยู่แล้วก็มี เพราะฉะนั้น ประชาชนที่ไปเฝ้า
 พระพุทธเจ้าในสมัยนั้นจึงมีลักษณะอาการที่ไปเฝ้าแตกต่างกัน ซึ่งอาการที่ไปเฝ้าของประชาชนเหล่านั้น
 มีลักษณะ ดังนี้
  บางพวกเมื่อได้ทราบเสร็จแล้วก็นั่งนิ่ง ไม่พูดจาอะไร
  บางพวกเป็นเพียงแต่แสดงความยินดีแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
  บางพวกกล่าวชมเชยพระพุทธเจ้าแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
   บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตนว่า ตนเองชื่ออะไร โคตรอะไรแล้วก็นั่งนิ่งอยู่
  บางพวกก็ไม่กล่าวอะไร ไม่แสดงอาการอะไร ได้แต่นั่งเฉย ๆ
  บางพวกเป็นเพียงแต่ประนมมือไหว้ แล้วก็นั่งเฉยอยู่
เพราะฉะนั้น ประชาชนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวรรณะใดก็สามารถเข้าเฝ้าได้
อย่างใกล้ชิด เพราะพระพุทธเจ้ามิได้ทรงถือชั้นวรรณะ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นโอรสกษัตริย์ประสูติ
อยู่ใน วรรณะกษัตริย์ แต่พระองค์ถือว่าคนไม่ได้ประเสริฐเพราะสกุลกำเนิดแต่จะประเสริฐได้ก็เพราะ
การกระทำของตนเองดังนั้นจึงมีประชาชนไปเฝ้าพระองค์เป็นจำนวนมากและเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด
ประชาชนที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ได้กราบทูลขึ้นว่า
 
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเกสปุตตนิคมนี้ มีสมณพราหมณ์คือนักบวชในศาสนาต่าง ๆ เดินทางเข้ามา
เผยแพร่คำสอนศาสนาของตนอยู่เสมอๆและสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาเหล่านั้นได้กล่าวยกย่อง
 คำสอนแห่งศาสนาของตน แต่ได้ติเตียนดูหมิ่น เหยียดหยาม คัดค้านศาสนาของคนอื่นแล้วสมณพราหมณ์
นักสอน ศาสนาเหล่านี้ก็จากเกสปุตตนิคมไป
ต่อมาไม่นาน ก็มีสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาพวกอื่นได้เข้ามายังนิคมนี้ แล้วก็กล่าวยกย่อง เชิดชู
ศาสนาของตนแต่ดูหมิ่น เหยียดหยาม ติเตียน คัดค้านศาสนาของคนอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกข้าพระองค์
ก็มีความสงสัยเกิดขึ้นว่าบรรดาศาสดาหรือนักสอนศาสนาเหล่านั้น ใครเป็นคนพูดจริงใครเป็นคนพูดเท็จ
 ใครถูกใครผิดกันแน่"
พระพุทธเจ้าทรงแสดงความเห็นใจต่อประชาชนเหล่านั้นว่า"ชาวกาลามะทั้งหลาย น่าเห็นใจที่
ท่านทั้งหลายตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ พวกท่านทั้งหลายควรสงสัยในเรื่องที่ควรสงสัยเพราะท่านทั้งหลาย
ตกอยู่ใน ฐานะที่ต้องสงสัย ตัดสินใจไม่ได้ แต่เราเองจะบอกให้ ชาวกาลามะทั้งหลาย"

 
   
                      
   
         
            ความหมาย                  ความเป็นมา              หลักความเชื่อ ๑๐  ประการ            วิธีปฏิบัติ