ที่มา : เทิดไท้องค์อัครศิลปิน : จิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/12/05/entry-1

 
 

        ทัศนาหอศิลป์เจ้าฟ้า ใกล้ชิดภาพฝีพระหัตถ์
       สำหรับงานจิตรกรรมที่น่าสนใจส่วนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 ภาพ
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอนุญาตให้ยืมภาพวาดฝีพระหัตถ์นำมาจัดแสดง
อย่างถาวรอยู่ใน พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หอศิลป์เจ้าฟ้า"
 โดยภาพหนึ่งนั้นเป็นภาพของสตรีไร้ชื่อ ส่วนอีกภาพหนึ่งทรงแสดงถึงความรักในดนตรี
ที่ไม่ปรากฏชื่อเช่นกัน       
    "ภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านนั้น เป็นการวาดโดยสีน้ำมันลงบนพื้นผ้าใบทั้งคู่
สำหรับความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคงจะเป็นเรื่องของโทนสี ภาพแรกจะทรงใช้สี
ในสีโทนร้อนและฝีแปรงที่ขุ่นหนามีการแสดงออกอย่างอิสระเกี่ยวกับรูปเครื่องดนตรี
ภาพนี้เป็นภาพแนวเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ (Expressionism) ที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึง
รูปธรรมได้ชัดเจน โดยทรงใช้เครื่องดนตรีและนักดนตรีมาประกอบกัน มีการจัดวาง
องค์ประกอบของภาพที่ยุ่งเหยิงและตัดกันอย่างรุนแรง ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า
พระองค์ท่านทรงรักงานดนตรีเพียงใด"       
    สมพจน์ สุขาบูลย์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานหอศิลป์เจ้าฟ้า อธิบายภาพฝีพระ
หัตถ์แนวเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ให้ฟัง ก่อนจะเล่าถึงอีกภาพหนึ่งว่า
      

 

ที่มา : พ่อของแผ่นดิน อัครศิลปินแห่งสยาม  http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000165910

    "ส่วนอีกภาพหนึ่งนั้นเป็นภาพเหมือน มีการสันนิษฐานกันในวงการว่า เป็นภาพของ
คุณยายที่ทรงนำมาเป็นนางแบบ และอาจจะเป็นเจ้าพนักงานที่ถวายงานอยู่ในวัง โดย
พระองค์ท่านทรงถนัดการวาดภาพเหมือนจริง (Realistic) ภาพนี้ไม่เหมือนภาพแรก
ตรงที่ต้องคิดหลายชั้น เพราะเป็นภาพกึ่งนามธรรม ที่ผู้ดูต้องพินิจพิเคราะห์ให้ดี ส่วน
ใครจะคิดตีความว่ายังไง ก็คงแล้วแต่มุมมองทางศิลปะของคนๆนั้น ส่วนในช่วงหลังๆ
จะพบว่าพระองค์ท่านนิยมงานเป็นศิลปะแบบนามธรรม (Abstractionism)"       
   นอกจากนี้สมพจน์ ได้มองว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นยอดฝีมือ
เป็นอาจารย์แห่งชาติ ดังนั้นภาพฝีพระหัตถ์จึงเป็นเสมือนตัวแทนความเป็นอาจารย์
แห่งชาติของพระองค์ ซึ่งในส่วนของภาพฝีพระหัตถ์ทั้ง2 นั้นได้ตั้งแสดงมากว่า20 ปี
แล้ว ณ ห้องจิตรกรรมฝีพระหัตถ์

Previous