จิตรกรรมฝีพระหัตถ์  
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนพระราชหฤทัยงานด้านจิตรกรรม ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรง
ศึกษาด้วยพระองค์เอง ทรงฝึกเขียนเองและทรงศึกษาจากตำราต่าง ๆ เมื่อสนพระราชหฤทัยงานเขียน
ของศิลปินผู้ใด ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมศิลปินผู้นั้น ถึงที่พักเพื่อทรงทอดพระเนตรวิธีการ
ทำงานของเขา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการผสมสี ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ พระองค์ทรงนำวิธีการทำงาน
ของเขามาสร้างสรรค์งานของพระองค์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นแบบฉบับของพระองค์เอง
      หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ได้บรรยายไว้ในหนังสือจิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 และทรงตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ว่า  "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มเขียน
ภาพเหมือนซึ่งเหมือนจริงและละเอียดมาก แต่ต่อมาได้ทรงวิวัฒน์เข้ากับภาพของจิตรกรสมัยใหม่และ
ทรงค้นคว้าหาทางใหม่ ๆ แปลก ๆ ที่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกของพระองค์โดยไม่ต้องกังวลกับความ
เหมือนอันจะมีอิทธิพลบีบบังคับไม่ให้ปล่อยความรู้สึกออกมาได้อย่างอิสระ พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวทรงเป็นศิลปินโดยแท้ ทรงชื่นชมในงานของศิลปินอื่นเสมอ และดูจะไม่เคยทรงพอพระราชหฤทัย
กับภาพเขียนของพระองค์และวิธีการที่ทรงเคยใช้อยู่แล้ว และแม้ว่าโปรดที่จะค้นคว้าหาวิธีใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ

 
     
 
 
 

ที่มา : วารสารไทย.32(114) : 13

 
 

       ภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ก็ยังคงเค้าลักษณะอันเป็นแบบฉบับของพระองค์โดยเฉพาะ ขณะที่
ทรงวาดภาพนามธรรมที่มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้ แต่เป็นสาระ ดังเช่น ภาพที่พระราชทานชื่อว่า
วัฏฏะ,โลภะ,โทสะ,ยุแหย่,อ่อนโยน, บุคลิกซ้อน ก็ยังทรงเขียนรูปในลักษณะสวยงามน่ารัก กระจุ๋ม
กระจิ๋มได้ดีอีกด้วย ทั้งที่ไม่สู้จะตรงกับพระราชอัธยาศัยเท่าใดนัก ในฐานะจิตรกร ขณะทรงงาน
ทรงใส่อารมณ์และความรู้สึกของจิตรกรอย่างเต็มที่ทรงมีความรู้สึกตรงและรุนแรง ทรงใช้สีสดและ
เส้นกล้า ส่วนมากโปรกเส้นโค้ง แต่ในบางครั้งบางคราวก็มีข้อดลพระราชหฤทัยให้ทรงใช้เส้นตรงและ
เส้นแบบฟันเลื่อย"  (จิตรกรรมฝีพระหัตถ์  http://www.manager.co.th/Travel/
ViewNews.aspx?NewsID=9480000165910
)

 
 
 
 

ที่มา : วารสารไทย.32(114) : 15

 
 
Previous