ด้านประติมากรรม  
 
 
 

ที่มา : จิตรกรรมฝีพระหัตถ์  https://klongkaew2.wordpress.com/

 
 

พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาค้นคว่าเทคนิควิธีการต่างๆ ในงานประติมากรรมด้วยพระองค์เองทั้งการปั้น การหล่อ
 และการทำแม่พิมพ์ ผลงานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว
 (Round Relief) เก็บรักษาไว้ในตู้บนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต 2 ชิ้นคือ
ชิ้นที่ 1 รูปปั้นหญิงผู้เปลือยคุกเข่า ความสูง 9 นิ้ว ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน
ชิ้นที่ 2 พระรูปปั้นครึ่งพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ความสูง 12 นิ้ว ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน
นอกจากนี้ผลงานประติมากรรมแบบลอยตัวแล้ว พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระราชหฤทัยในการสร้าง
พระพุทธรูปอีกด้วยเดือนมีนาคม พ.ศ. 2508 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร.
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2508 มีพระราชดำริให้สร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์โดยโปรดเกล้าฯ ให้แกะแบบแม่พิมพ์
ด้วยหินลับมีด แล้วหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ ต่อจากนั้นทำแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้งหล่อจากรูปหล่อปูนปลาสเตอร์ พระพิมพ์
ชุดนี้รู้จักกันในนาม ‘พระสมเด็จจิตรลดา’ หรือ ‘พระกำลังแผ่นดิน’เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 ได้มีพระราช
ประสงค์ที่จะทรงทดลองหล่อพระเศียรพระพุทธรูปด้วยพระองค์เองจากแบบพระพุทธรูปปางประทานพร ภปร.
ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เริ่มแรกทรงหล่อจากเศียรลงมาถึงพระอุระในระยะต่อมาจึงทรงหล่อท่อนล่างต่อจนครบองค์
 แม้แต่ละส่วนจะแยกกันหล่อ แต่ปรากฎว่าทรงต่อได้เรียบเนียนตลอดทั้งองค์พระ  ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2509
 ทรงหล่อพระพุทธนวราชบพิตร ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 100 องค์ เพื่อพระราชทานไป
ประดิษฐานยังจังหวัดต่างๆในระยะหลัง พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชภารกิจมากจนไม่มีเวลาที่จะทรง
สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมอีก แต่อย่างไรก็ตามผลงานฝีพระหัตถ์ที่ผ่านมาล้วนแสดงถึงพระอิจฉริยภาพ
ในเชิงประติมากรรมได้อย่างชัดเจน (จิตรกรรมฝีพระหัตถ์  https://klongkaew2.wordpress.com/ )

 
 
 
 

ที่มา : วารสารไทย.32(114) : 26

 
 
 
 

ที่มา : วารสารไทย.32(114) : 27

 
 
 
 

ที่มา : วารสารไทย.32(114) : 7

 

Previous     Next