สมเด็จเจ้าฟ้ามหิตลฯ  และงานศิลปะ

ในช่วงเวลาที่ทรงศึกษานับตั้งแต่พุทธศักราช  ๒๔๔๙ – ๒๔๕๗  ดังกล่าวมานั้น  สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร  อดุลยเดชวิกรม  พระบรมราชชนก  ได้ทรงเขียนภาพด้วยเทคนิคสีน้ำและภาพลายเส้นร่างด้วยหมึกดำเป็นภาพทิวทัศน์อันงดงามของสถานที่ประทับ  หรือสถานที่ซึ่งเสด็จไปเยือน  ภาพสิ่งก่อสร้าง  ภาพบุคคล  ภาพเรือ  ภาพจากจินตนาการ  และภาพล้อเลียน  ลักษณะภาพฝีพระหัตถ์ในส่วนที่เป็นภาพเหมือนจริงนั้น  ภาพลายเส้นจะเขียนเส้นด้วยลายเส้นที่เฉียบคม  แดสงถึงพระปรีชาสามารถและความมั่นพระทัยของพระองค์  ส่วนภาพสีน้ำก็ทรงให้แสงสีและเงาได้อย่างสมจริง  ให้ความรู้สึกอ่อนหวานโรแมนติก  ส่วนภาพล้อเลียนก็แสดงให้เห็นพระอารมณ์ขันและจินตนาการของผู้มีอารมณ์ศิลปิน  ในช่วงที่ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือนั้น  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา  กรมหลวงราธิวาสราชนครินทร์  ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง  “สมเด็จเจ้าฟ้ามหิตลฯ  และงานศิลปะ”  ว่า
                “นักเรียนนายเรือทุกคนต้องเขียนสมุดจดหมายเหตุ  มีข้อความและภาพ  ๒  ชนิด
                ๑.  สถานที่และเหตุการณ์  เช่น  การแทนพระองค์  ร. ๖  ในพิธีพระบรมศพกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก  การไปเยือนโบสถ์  อาคารที่มีสถาปัตยกรรมงาม ๆ  ทิวทัศน์ ฯลฯ
                ๒.  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางทหาร  เช่น  รูปเรือที่พบ  เส้นทางเดินเรือเข้าเมืองท่า ฯลฯ  สมุดของทูลหม่อมฯ  มีจำนวน  ๑๘๐  หน้า  นอกจากข้อความมีภาพถ่าย  ภาพวาด  และไปรษณียบัตร  สมุดของนักเรียนทุกคนจะต้องผ่านการตรวจของนายทหารปกครอง”

   
          ไปรษณียบัตรที่ส่งถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก                      ภาพสีน้ำ ทะเลสาบทีปอดสดัม เมืองที่ประทับ ทรงเขียนเมื่อ พ.ศ. 2452
                    กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย เมื่อ 20 กรกฎาคม 2448
ที่มา : ฉวีงาม มาเจริญ. 2552,7 และ 13  
สมุดบันทึกส่วนพระองค์ดังกล่าวเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ
ด้านศิลปะของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร  อดุลยเดชวิกรม  พระบรมราชชนก  เป็นอย่างดี
  และพระอัจฉริยภาพดังกล่าวก็เป็นประโยชน์ต่อการที่จะทรงบันทึกจดหมายเหตุของนักเรียนนายเรือ
  และทรงใช้คลายพระอารมณ์จากความเหนื่อยหน่ายต่อความยากลำบากของวิชาการ
ทหารเรือด้วย  เนื่องจากพระอุปนิสัยส่วนพระองค์นั้นโปรดทุกอย่างที่เป็นงานศิลปะอย่างยิ่ง
 ไม่ค่อยโปรดวิชาการทหารมากนัก  เนื่องจากทรงทราบดีว่าไม่เหมาะกับสภาพพระพลานามัย
ของพระองค์  เคยทรงปรารภถึงเรื่องนี้กับทูตไทย  ณ กรุงเบอร์ลิน  เมื่อเสด็จกลับมาร่วมงาน
พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในพุทธศักราช  ๒๔๕๓  แต่ก็ทรง
พระวิริยะอุตสาหะศึกษาเป็นอย่างดี  จนสำเร็จตามพระราชประสงค์ของสมเด็จ
พระบรมชนกนาถ  นอกจากนี้ไปรษณียบัตรที่ทรงเลือกซื้อส่งถึงพระบรมวงศ์ที่
ทรงสนิทสนมคุ้นเคยบางภาพก็งดงาม  บางภาพก็แสดงอารมณ์ขันอันแสดงถึง
ความเป็นศิลปินจของพระองค์  ในการเลือกซื้อด้วย