ถ้าจะแบ่งระดับหรือประเภทของรองเง็ง สามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. ประเภทที่ 1 แบบผู้ดีตระกูลสูง จะเน้นความสุภาพ ความอ่อนช้อย
  2. ประเภทที่ 2 แบบชนชั้นกลาง เต้นไม่หยาบโลนหรือไม่สุภาพจนเกินไป แต่รักษาศิลปะไว้เต็มที่
  3. ประเภทที่ 3 แบบชนชั้นต่ำ ออกหยาบโลน มิได้เน้นศิลปะ เหมือนรองเง็งเมืองมารุตในบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าวข้างต้น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะบริเวณสี่จังหวัดภาคใต้ ชาวบ้านขายยางพาราร่ำรวย
เพราะสมัยนั้นราคายางสูงมาก ตกกลางคืนชาวบ้านมักสนุกสนานกันด้วยการเต้นรองเง็ง ปรากฏว่ารองเง็งเกิดขึ้นหลายคณะ ทำนองเดียวกับจังหวัดอื่นๆในภาคใต้ มีคณะรำวงกันคับคั่ง ปัจจุบันการเต้นรองเง็งเป็นที่นิยมของไทยมุสลิม มักมีการแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานประจำปี แต่ประเภทศิลปะชั้นสูงหรือที่มีศิลปะยอดเยี่ยมนับวันจะหาดูได้ยากยิ่งขึ้น (ชวน เพชรแก้ว. 2523, 140-145)

ที่มา : บรรณาลัย www.oknation.net/blog/print.php?id=85579

เอกสารอ้างอิง
         ชวน เพชรแก้ว. 2523. ชีวิตไทยปักษ์ใต้ ชุดที่3.
กรุงเทพฯ:กรุงสยามการพิมพ์.
       ปทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. 2548. ศิลปะวัฒนธรรมภาคใต้ ว่าด้วยภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
        เพลงพื้นบ้านทางใต้ (รองเง็ง). http://baannapleangthai.com/03/03-03.htm (เข้าถึง 2 ก.ค. 2552)
         รองเง็ง
. http://www.ipe.ac.th/main/view.php?group=40&id=798 (เข้าถึง 2 ก.ค.2552)
         ศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิม “รองเง็ง”
.http://www.oknation.net/blog/tavan/page12 (เข้าถึงี่ 2 ก.ค. 2552)
         สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูล. 2527. วัฒนธรรมสาร สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดสตูล. สตูล:สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูล.
       

การแบ่งระดับของรองเง็ง
 
... Home ...