ผ้าปัก  :  ประณีตศิลป์
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,200

            เนื่องด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารีได้เสด็จฯ  ทรงเยี่ยมบำรุงขวัญทหารนาวิกโยธินบ้านทอน  จังหวัดนราธิวาส  เมื่อเดือนกันยายน  2524  และทรงมีรับสั่งเกี่ยวกับอาชีพเพื่อเสริมรายได้ของกลุ่มแม่บ้าน  ซึ่งทรงดำริเห็นว่า  การปักผ้าด้วยมือ  น่าจะเป็นวิชาที่ฝึกเป็นอาชีพให้กับคนในพื้นที่ได้
             กลุ่มปักผ้าค่ายจุฬาภรณ์จึงจัดตั้งขึ้นที่โรงฝึกศิลปาชีพ  พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส  โดยกองศิลปะชีพคัดเลือกผู้ที่สมัครใจและปรารถนาที่จะเข้ารับการฝึกอบรมการปักผ้าด้วยมือ  กลุ่มแรกที่เข้าฝึกอบรมก็ให้ดำเนินการสอนการปักผ้าให้กับสมาชิกศิลปาชีพในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี  รวมทั้งที่ศูนย์ศิลาปาชีพบ้านเนินธัมมัง  ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ซึ่งได้มีการขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นต่อมา
             ผ้าปักเป็นการตกแต่งผ้าด้วยกรรมวิธีการปักผ้าของไทยแต่โบราณ  ซึ่งเรียกว่า  “ปักซอยด้วยมือ”  โดยใช้เส้นด้ายฝ้ายหรือเส้นไหมปักลงบนผืนผ้า  การปักผ้าต้องมีความประณีตเรียบร้อยสวยงามตลอดทั้งผืน  ลวดลายที่ปักต้องเด่นชัดสวยงามความตึงหย่อนของเส้นด้ายที่ใช้ปักต้องสม่ำเสมอและถูกต้องตามลักษณะลายปักพื้นฐาน
 

ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,201

งานปักผ้าได้รับยกย่องว่าเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีคุณค่าเหนือกว่างานปักด้วยเครื่องจักรมากและเป็นพระราชดำริของ
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถให้อนุรักษ์ไว้
             การปักผ้าดังกล่าว  ต้องใช้ความประณีต  อดทนและความพยายามเป็นอย่างยิ่ง  โดยแต่ละชิ้นงานจะใช้เวลา
ในการปักประมาณ  1 – 3  เดือน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลวดลายที่จะปัก  ซึ่งลวดลายดังกล่าวทางกองศิลปาชีพ
จะเป็นผู้กำหนด  และผลงานจะนำถวายให้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐาน
             ผ้าปักที่สวยงามจะนำไปประดิษฐ์เป็นของตกแต่งบ้าน  เช่น  หมอนอิง  ผ้าปูโต๊ะ ภาพประดับฝาผนัง  เป็นต้น


                                                            ********************************

เอกสารอ้างอิง
ใต้...หรอย มีลุย : บอกเล่าเรื่องราว ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้. 2547. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง