ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาต
คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ
๑.   การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ
๒.   บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
๓.   ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


ที่มา: ในหลวงกับการใช้ภาษาไทย http://www.siamrath.co.th/web/?q

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  คณะเอกอัครราชทูต  และกงสุลใหญ่ไทยที่ปฏิบัติราชการอยู่ในต่างประเทศ  พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  ณ ศาลาดุสิตดาลัย  สวนจิตรลดาพระราชวังดุสิต  เมื่อวันที่  ๒๙  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐  ในโอกาสที่กระทรวงจัดประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทย  ประจำปี  ๒๕๕๐
                พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณะเอกอัครราชทูตและ กงสุลใหญ่ไทยในวันนั้น  แสดงถึงพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยคนไทยที่ไปเมืองนอก  แล้วลืมภาษาไทย  และทรงชี้ให้เห็นความสำคัญของภาษาไทยว่า  เป็นเอกลักษณ์สำคัญของความเป็นชาติ  ที่แสดงถึงความมีอารยธรรมและความเจริญของชาติไทยมาช้านาน  จึงจำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้  และใช้ให้ถูกต้อง  ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า
                “ท่านทูตคงกลุ้มใจที่คนที่ไปอยู่ต่างประเทศไม่กี่วัน  ลืม  ไม่นาน  กลับมาพูดภาษาไทยไม่ได้  เพราะว่านึกว่าไปต่างประเทศนั้น  ต้องไปเรียนรู้ความไม่เป็นไทยฉะนั้น  ก็เห็นใจท่าน  เพราะว่าท่านเป็นทูต  คนที่ไปต่างประเทศไม่กี่วันและไปพบท่านทูต  พูดภาษาไทยไม่ได้  แต่ว่าต่างประเทศ  ฝรั่งไปพบท่าน  มาเมืองไทยไม่นานกลับพูดภาษาไทยได้  อันนี้ชอบกล  ประหลาดมาก  แต่ว่าต้องเข้าใจว่าคนที่ไม่ได้ไปต่างประเทศ  แต่ก็ได้มีโอกาสไปต่างประเทศ  เขามีปมด้อย  คนไทยนั้นส่วนใหญ่ไม่มีปมด้อย
                คนไทยมีความภูมใจที่เป็นคนไทย  เพราะว่าอยู่เมืองไทย  เป็นคนไทย  เขาได้สามารถศึกษาว่า  เมืองไทย  คนไทย  มีความดี  แต่ผู้ที่ไปต่างประเทศนึกว่าเราพูดอย่างเดียวกับผู้ที่ไปเมืองฝรั่ง  ไม่ใช่พวกที่ไปเมืองแขก  เมืองจีน  แต่ว่าพวกที่ไปฝรั่งเพราะเห่อว่าฝรั่งเขาเจริญฝรั่งเขาเจริญเพราะว่าบ้าน เมืองของเขามีความก้าวหน้าหลายอย่าง  คนไทยก็เลยมีปมด้อยว่า  เราไหนว่าไม่มีความเจริญ
                ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าจะทำยังไงสำหรับแก้ไข  ก็เล่าให้ท่านฟังแล้วว่า  ข้าพเจ้ามาเมืองไทย  ไม่รู้ภาษาไทยแล้วก็ออกไปอายุ  ๕  ขวบ  กลับมาอายุ  ๑๑  ก็ไม่ค่อยรู้ภาษาไทย  ที่จริงรู้ภาษาไทยก็โดยที่สมเด็จพระบรมราชชนนีท่านไม่พูดภาษาฝรั่งกับเรา  ท่านพูดภาษาไทย  ก็เลยรู้ภาษาไทย  แต่เขียนภาษาไทยไม่ค่อยได้  อ่านไม่ค่อยได้  ตอนอายุ  ๑๑  ก็ได้เรียน  จนกระทั่งอายุ  ๑๘  ก็เขียนภาษาไทย  อ่านภาษาไทยไม่ค่อยได้  มาอ่านภาษาไทยได้ทีหลัง  แต่ก็อยู่ที่ความเป็นไทยนี่ลำบาก  ก็พยายามที่จะเรียนภาษาไทย  แต่ผู้ที่ไปแล้วไปหาท่านทูตแต่พูดภาษาไทยไม่ชัด  นั่นส่วนใหญ่เขาก็รู้ภาษาไทยออกไป  ๒ – ๓  วัน  ลืมภาษาไทยแล้ว  เพราะว่าเป็นคนที่ไม่ศึกษา
                วิธีจะทำ  ท่านทูตก็คงต้องล้างสมองเขา  วิธีที่จะปฏิบัติต้องล้างสมองเขาว่า  ประเทศไทยมีภาษาไทยมานานแล้ว  นาน  มีวัฒนธรรมไทย  มีนานกว่าประเทศต่างประเทศในยุโรปหลายประเทศ
                ก่อนนี้ในต่างประเทศเป็นที่เขาเรียกว่า  มิดเดิล เอจ  (Middle Age)  หมายความว่าเป็นยุคที่ไม่เจริญเมืองไทยนี่ยุคกลางของเราเจริญแล้ว  ถ้าอยากจะให้แก้ไข  เราจะต้องศึกษายุคกลางของเราว่าเจริญแล้ว  และบอกับพวกที่เขานึกว่าเมืองไทยไม่เจริญให้เข้าใจ  แล้วก็ที่ประเทศนี้มีภาษาไทย  มีตัวอักษรไทยมาตั้งแต่สมัยที่เป็นยุคกลางของฝรั่ง  หมายความว่า  มิดเดิล เอจ ของคนฝรั่ง  ของเราหลายร้อยปีมีภาษา  มีตัวอักษรของฝรั่งไม่มี  เราไม่พูดถึงอเมริกา  ไม่พูดถึงแอฟริกาแต่ในยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่เจริญ  แต่ตอนนั้นไม่ได้เจริญเราเจริญก่อน  แต่ว่าที่เมืองไทยจะไม่เจริญเพราะว่ามีคนอย่างพวกที่ไม่เข้าใจ  ไม่รู้ว่าเมืองไทยเจริญมานานแล้วก็วิธีที่จะทำคือ  ต้องรู้สึกยกย่องและต้องพยายามที่จะทำให้เข้าใจว่า  เมืองไทยนี้เจริญมานานแล้ว...”

เอกสารอ้างอิง

รักในหลวง ห่วงภาษาไทย. 2544. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

http://www.aksorn.com/ (เข้าถึง 30 มิ.ย.2550)