ภาพเขียนช่องที่  ๒

ที่มา :สายไหม จบกลศึก. 2551,12
ที่มา: พระพุทธรัตนสถาน : จิตรกรรมฝาผนังตามแนวพระราชดำริ ในรัชกาลที่ ๙ http://www.oknation.net/blog/print.php?id

พระพุทธรัตนสถานสร้างสำเร็จ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้า ฯ  ให้จัดพระราชพิธีสมโภช  ทรงยกช่อฟ้าพระวิหาร  และอัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยด้วยขบวนพระอิสริยยศมาประดิษฐาน  ณ  พระวิหาร  มีการละเล่นอย่างโบราณเช่น  กายกรรม  ญวนหก  ไม้สูง  ไต่ลวด  งิ้ว
                ครั้งที่  ๑  ยังไม่มีพระราชดำรัส
                ครั้งที่  ๒ 
                                “เส้นแนวสันหลังคาโบสถ์พุทธรัตนสถานกับเส้นเดินอาคาร  สถาปัตยกรรมข้างเดียวให้สัมพันธ์กัน”
                                “สายสะพายพระบรมรูปรัชกาลที่  ๔  ศึกษาข้อมูลเรื่องสี  ความถูกต้อง”
                                “ศึกษาข้อมูลว่าพระพุทธรูปบูชาเป็นยุคสมัยใด”
                                “กำแพงภายในน่าจะปรับเป็นกำแพงแบบมีเสมา  ให้ศึกษาจากข้อมูล  ข้อเท็จจริง”
                                “เก่งจีนบนกำแพง  ให้ศึกษารูปแบบความเป็นจริงว่า  เหมาะสมหรือไม่  ควรมีหรือไม่มี  ถ้ามีรูปแบบควรเป็นอย่างไร”
                                “สภาพทิวทัศน์ภายนอกวัง  รูปแบบอาคารตามตำแหน่งทิศที่มอง  น่าจะเป็นพระที่นั่งศิวาลัยรูปแบบกลุ่มอาคาร  สิ่งแวดล้อม  ควรศึกษาจากข้อเท็จจริงประกอบ”
                ครั้งที่  ๓
                                “ที่อยู่บนกำแพงรูปร่างอย่างนี้หรือ  (ทรงหมายถึงใบเสมา)”
                                “รูปใบระกาตลอดแนวเส้น  ช่องไฟใบระกา  เป็นอย่างนี้หรือ  ถ้าเห็นเป็นอย่างนี้ก็เอาตามนี้  เดี๋ยวจะผิดเพอร์สเปคตีฟแบบโบราณ”
                                “พระราชอาสน์  สมัยนั้นเป็นอย่างนี้หรือ”
                                “บายศรีเขาทำอย่างนี้หรือ  กลัวว่ามีคนมาดูแล้วว่าไม่ถูก  เช่น  ไปอีสานเขาบอกว่าฟ้อนศิลปากรแท้จริงเป็นของชาวบ้าน  นี่ถ้าสามารถดูของเก่าเป็นอย่างไร  ต้องใส่ให้หมด  ถ้ารับรองก็พอไปได้”                            “ตาลปัตรพัดยศเป็นอย่างนี้จริงหรือเปล่า  เพราะพัดยศสมัยนี้เปลี่ยนไป  นี่ต้องศึกษาดี ๆ  ไม่เช่นนี้  ผู้ใหญ่ที่เขาเคยทำจะว่าได้  อย่างฉันนี่  ๗๔  ที่จริงเป็นผู้ใหญ่แล้ว  แต่ความรู้สึกยังเป็นเด็ก  เพราะไม่รู้เรื่องนี่ละผู้เฒ่า”
                                “ให้ดูให้หมด  พวกโต๊ะหมู่  ธรรมาสน์อาสน์สงฆ์  แม้แต่ต้นไม้  แต่ดูดี ๆ  รวมอย่างนี้ก็ดีแล้ว”

 
  Previous     Next