ครั้งที่  ๒
“โครงสร้างรูปทรงเรือรบ  น่าจะปรับให้เตี้ยลง  น่าจะศึกษาข้อมูลของกองทัพเรือ”
    “สายสะพานทหารให้ศึกษาข้อมูล”
    “ทหารควรทำความเคารพทุกคน”   
     “โครงสร้างองค์ประกอบโดยรวมของภาพ  ใช้ได้”
ครั้งที่  ๓
“ธงไตรรงค์ตรงกลางต้องมีช้าง”
“ด้านหน้าเป็นรัชกาลที่  ๖  ด้านหลังเป็นช้าง  ล้อมรอบด้วยคาถาพาหุง  ธงนี้มีประวัติ”
“ทหารรักษาพระองค์  รัชกาลที่  ๙  ตรงกลางมีช้างอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม”
“ทหารอาสาสมัยเก่า  สมัยรัชกาลที่  ๖  ถามคนรุ่นเก่าว่า  มีเครื่องแบบหรือ  ธงไตรรงค์เป็นอย่างไร”
“ที่กั้นเชือกมีหรือไม่ก็ไม่ทราบ  สมัยใหม่นี่ชอบกั้น  เดี๋ยวนี้มีถึงแผงกั้นจราจร  ห้ามเข้า”
“ส่วนเรือรบคงจะมีข้อมูลจากทหารเรือ  เรือรบสมัยรัชกาลที่  ๖  เป็นเรือรบหลวงพระร่วงซื้อจากอังกฤษ”
      “ข้อมูลรัชกาลที่  ๔  รัชกาลที่  ๖  นี่ลำบาก”
      “ก็มีเชือกที่เสา  รูปร่างเหมือนรัชกาลที่  ๙”
      “ต้องปรับแก้รถยนต์รัชกาลที่  ๖  อย่างนี้ก็พอจะสืบได้ว่าของใคร  เรื่องรถยนต์หลวง  สมัยเก่านี่เหมือนจักรยาน  ที่ทำมาเป็นล้อแบบเกวียน”
  “ทำอะไรให้ไปดู  แล้วจะมีความสุขหมายถึง  ให้ดูถูกต้องข้อมูลของวัสดุต่าง ๆ”
    “ช่อฟ้าในลายเส้นดีกว่า  ในภาพสีเป็นหงิก ๆ  มากกว่า  ไม่ใช่ว่าจู้จี้”
   “รูปเขียนนี้แบบไทยเก่า  ต้องมีความชัดเจนมากกว่า  แต่ว่าสัดส่วนอาจจะผิด  เพราะเป็นสไตล์แบบไทยไม่ใช่รูปถ่าย  รูปภาพไทยตอนบนจะใหญ่แต่ดูแล้วสวย  ฉันจำได้  ไปวัดพระแก้ว  ไปดูรามเกียรติ์เขียนดี”
“ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับลายไทยของพระเทวาฯ  ไม่เหมือนสีน้ำมัน  จะตวัดพู่กัน”
“ตำราพระเทวาฯ  นี่ดีมาก  ทำให้ฉันมาดูภาพนี้แล้ว  ได้เข้าใจ”

ที่มา: พระพุทธรัตนสถาน : จิตรกรรมฝาผนังตามแนวพระราชดำริ ในรัชกาลที่ ๙ http://www.oknation.net/blog/print.php?id  
  Previous     Next