พระราชดำริเกี่ยวกับการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ๘ ช่อง |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่คณะกรมศิลปากรในสาระของเรื่อง เพื่อนำมาเขียนภาพตามพระราชประสงค์ ดังนี้
“บันทึกที่ส่งมานั้นค่อนข้างมาก และไม่เกี่ยวข้องกับประวัติพระพุทธรัตนสถาน แต่ผู้จัดทำก็ได้พยายามทำอย่างดีเป็นประวัติของฉัน ซึ่งไม่อยากให้ทำ ควรทำเป็นรูปภาพเกี่ยวกับพระพุทธรัตนสถาน ที่เป็นแบบเดียวกัน สไตล์เดียวกันกับภาพเขียนของเดิม หากจะมีอะไรสมัยใหม่ ก็ให้เข้ากัน แต่ต้องเป็นแบบโบราณ” |
ที่มา :สายไหม จบกลศึก. 2551,8 |
|
|
“ภาพที่เขาเขียนใหม่ ก็มีเนื้อหาตามต้องการพอสมควรเกี่ยวกับประวัติพระพุทธรัตนสถาน อยากให้เขียนเพราะว่า ก่อนที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน โบสถ์นี้ชำรุดต้องซ่อม และรูปที่เขียนขึ้นใหม่ ก็ให้เกียรติตามสภาพกาล”
“ตอนฉันบวชสำคัญ ภาพเขียนพระราชประวัติไม่สมควร แทบจะไม่เกี่ยวข้อง ทำอย่างอื่นเป็นระยะ ๆ ก็ได้”
“ตอนซ่อมพระพุทธรัตนสถาน รัชกาลที่ ๔ ท่านว่าอย่างไรก็ว่าตามนั้น เพราะท่านมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาลึกซึ้ง ต้องยกย่องรัชกาลที่ ๔”
“ควรมีประวัติตอนฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี” |
|
“ตอนเสด็จนิวัตพระนครเห็นชำรุด ตอนหลังซ่อมเสร็จได้มาทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระผนวช เฉลิมฉลองพระนคร ๒๐๐ ปี และฉลองสิริราชสมบัติครองราชย์ ๕๐ ปี”
“รูปฝาผนังแบบเดิมเป็นคลาสสิก จะไม่เขียนรายละเอียดตามหน้าคน เขียนใหม่ต้องทำเป็น Stylized เหมือนจริง เป็นจิตรกรรมสมัยใหม่ ๒ มิติ มีการตัดเส้น”
“เรื่องเสื้อผ้าก็เป็นปัญหา แต่ถ้าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก็ไม่เป็นไร เป็นไปตามจริง”
“อย่างการเขียนน้ำ ให้เป็นแบบจิตรกรรมประเพณี ตอนกลับเมืองไทย ก็ด้วยเรือสมัยใหม่ ก็เป็นข้อสอบค่อนข้างยาก อาจจะเปลี่ยนเป็นสุพรรณหงส์ ตอนเสด็จกลับมาไทย เรือสุพรรณหงส์ชำรุดมาก เมาไม่ได้เขียนให้เหมือนจริง เขียนต้องดีกว่าจินตนาการ”
“ต้องให้กลมกลืนกันกับภาพข้างบน ซึ่งไม่ใช่ Bird’s- eye view แท้ ถ้าข้างบนมีเมฆ ข้างบนของภาพนั้นอย่างไรก็ต้องมีฟ้า ทำให้เหมือนกัน กลมกลืนก่อนใช้สีดิน ใช้สีธรรมชาติ สมัยนี้ใช้สีอะคริลิก สีเคมี”
“รูปฝาผนังของไทยค่อนข้างไปเหมือนการ์ตูนสำหรับพระแก้วประยุกต์ค่อนข้างสมัยใหม่”
“ทำให้กลมกลืน โดยทำให้ภาพใหม่และเก่าผสมผสานกัน”
“อยากให้เป็นประวัติพระพุทธรัตนสถาน ซึ่งตอนแรกเห็นทิ่มตาทุกวัน ๆ สมัยที่อยู่ในพระบรมมหาราชวังที่พระที่นั่งบรมพิมาน”
“ถ้าเข้าใจตามนี้แล้วก็สบายใจ”
“ไปดูรามเกียรติ์วัดพระแก้วหลายรอบ เข้าใจดีขึ้นมาก นี่ก็คิดว่าเข้าใจภาพจิตรกรรมไทยดีขึ้น คือเขาให้ดูข้างบนใหญ่ ส่วนข้างล่างเล็ก เมื่อดูทั้งหมดแล้วเหมือนดูเป็นสามมิติ”
“ให้จัดภาพแบบไทยโบราณ ข้างล่างเล็ก ข้างบนใหญ่ หมายถึงตัวคน” |
|
|
|