MAIN        HOME

พิธี เช็งเม้ง (ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน )
ความหมาย

ชิงหมิง ( qing-ming ) หรือ เชงเม้ง เป็นชื่อของสารท ( 1 ปีมี 24 สารท ) "เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ สารท เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง เริ่มต้นประมาณ 5 เมษา - 20 เมษา เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น( ของประเทศจีน ) มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง ( เป็นที่มาของชื่อ สารท เช็งเม้ง )
ระยะเวลา
ช่วงเวลา เช่งเม้งจะทำในเดือน ๕ ระหว่าง วันที่ ๓ ถึงวันที่ ๗ เมษายน ทุกปี โดยจะสะดวกไปทำพิธีกรรมในวันใดก็ได้
ไหว้เช็งเม้ง  วันไหว้ วันใดก็ได้ในช่วง 15 วันแรกของเดือน 3 ของจีนทุกปี จะอยู่ที่ประมาณปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน

 ความสำคัญ
เช่งเม้ง (ไหว้หลุมฝังศพบรรพบุรุษ) เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อบรรพบุรุษ
แสดงถึงการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่สามัคคีกัน นอกจากนั้นยังทำให้เหล่าเครือญาติได้มาร่วมพิธีกรรมนี้ได้พบปะสังสรรค์กินเลี้ยงกันหลังจากเสร็จพิธี เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเหล่าเครือญาติ

            

พิธีกรรม
 การประกอบพิธีกรรมนี้ ชาวจีมีความเชื่อในเรื่อง พระภูมิเจ้าที่ นรก สวรรค์ วิญญาณบรรพบุรุษ ภูตผี วิญญาณเร่ร่อน การทำมาหากิน เคล็ด ชาติภพ เช่น ชาวจีนเชื่อว่าการนำสิ่งของไปเซ่นไหว้ที่หลุมศพ การพูนดินที่หลุม การโปรยกระดาษสีต่าง ๆ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ ผู้มีพระคุณ เป็นการบอกเล่าแก่สังคมว่าตนยังคงระลึกถึงผู้มีพระคุณอยู่เสมอ และการทำกงเต็ก ก็เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่า คนที่ตายไปแล้วไม่ได้ไปไหน ยังคงดำเนินชีวิตอยู่ในอีกโลกหนึ่ง และอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์เหมือนกับที่มนุษย์ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน
อาหารที่ใช้ในการประกอบพิธีมีดังนี้
คือ
๑. ไก่ต้ม ๑ ตัว
๒. หมูสามชั้น ต้ม ๑ ชิ้น (โดยประมาณขนาด ๑/๒ ก.ก.
ขึ้นไป)            
๓. เส้นบะหมี่สด
๔. ขนม ๓ อย่าง คือ เต่เหลี่ยว ข้าวเหนียวกวน
ขนมเต่า (ขนมกู้)
๕. ขนมถ้วยฟู (ฮวดโก้ย)
๖. สับปะรด ๒ ลูก (ใช้ทั้งก้านและหัวจุก)
๗. น้ำชา
๘. ธูปเทียน, กระดาษเงิน, กระดาษทอง, ประทัด
การประกอบพิธีกรรม มีดังนี้ คือ
๑. นำอาหาร ขนม และผลไม้ ใส่ภาชนะเป็น
๒ ชุด (เล็ก- ใหญ่)                               
๒. ให้นำไก่ต้ม, หมูต้มและเส้นบะหมี่สดใส่ถาดเดียวกัน
๓.
นำขนมแต่ละชนิดใส่จานแยกเป็นแต่ละชนิด
๔. สับปะรดใส่จานละ ๑ ลูก
๕. น้ำชาที่ละ
๒ ถ้วยชาเล็ก (ถ้วยตะไล)
๖. อาหารชุดใหญ่ให้วางไว้หน้าหลุมฝังศพบรรพบุรุษ
ชุดเล็กไว้สำหรับเจ้าที่
๗. จุดธูป-เทียนสำหรับบูชา (เทียน ๒ เล่ม, ธูป ๒ เล่ม
ตั้งใช้บูชาบรรพบุรุษและเจ้าที่)
๘. เมื่อธูปหมดไปประมาณ ๑/๒ เล่ม
ให้เผากระดาษเงินให้แก่บรรพบุรุษและเผากระดาษทองที่เคารพแก่เจ้าหน้าที่
๙.
ให้เอากระดาษเงินวางบนหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ
๑๐.
ให้จุดประทัดเป็นอันเสร็จพิธีกรรม

เทศกาลเช็งเม้ง
ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษ ที่ สุสาน
          ประเพณีเดือน 3 หรือเรียกว่า “ ซาโง้ย “ ของชาวจีน หรือ ประเพณีเช้งเม้ง หรือที่ภาษาฮกเกี้ยนเรียกว่า “ เฉ่งเบ๋ง “ เป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่สุสานฝังศพหรือที่ป่าช้า (ฮวงจุ้ย) ซึ่งจะกระทำกันในวัน 4 ค่ำ หรือ 5 ค่ำ เดือน 3 ของจีน หรือตรงกับวันที่ 5 เมษายน ของ ทุก ๆ ปี เป็นพิธีกรรมที่ชนรุ่นหลัง แสดงถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษ โดยก่อนที่จะถึงวันเซ่นไหว้สักสองสามวัน ลูกหลานก็จะชักชวนกันไปถางหญ้าบริเวณหลุมฝังศพ (บ่อง) ของบรรพบุรุษ ให้สะอาดเรียบร้อยปราศจากต้นไม้ หญ้ารกรุงรัง รวมทั้งบริเวณเจ้าที่ (ไท้เต่กัง) และพูนดินบนหลุมศพให้สูงขึ้น เมื่อถึงวันไหว้ลูกหลานก็จะเอากระดาษสีต่าง ๆ มาตกแต่งหลุมศพ การโดยกระดาษหลากสี อาจจะเป็นการให้เห็นได้ชัดว่า วันนี้ลูกหลานมาไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกให้รู้ว่า หลุมศพนี้มีลูกหลานมาเซ่นไหว้แสดงความระลึกถึง ความกตัญญูแล้ว ส่วนหลุมศพที่ไม่มีคนมาไหว้หลาย ๆ ปี นานไปก็จะสูญหายจากนั้นก็จะนำอาหารคาวหวานไปเซ่นไหว้ การนำกระดาษหลากสีไปประดับบนหลุมฝังศพ เปรียบกระดาษสี คือ เสื้อผ้าใหม่สำหรับผู้ตาย และการนำดินมากลบบนหลุมให้เป็นเนินสูง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการทำให้ลูกหลานทำมาหากินเพิ่มพูน หากหลุมศพใดไม่กลบดินหรือพอกพูนดิน ลูกหลานจะทำมาหากินไม่บังเกิด ไม่ มีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูน อนึ่งในระยะนี้ ถ้าลูกหลานต้องการซ่อมแซมหลุมศพ (บ่อง) ให้ สวยงามก็สามารถทำได้ แต่สำหรับเดือนอื่น ๆ ห้ามทำเด็ดขาด ถือว่าเป็นสิ่งอับปมงคลจะทำลูกหลานมีอันเป็นไป หรือลูกหลานจะทำมาหากินไม่เจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันจะเห็นว่า ชาวบ้านยังคงมีความเชื่อในด้านกระทำกับหลุมศพ และถือเคล็ดว่าหากไม่ได้ทำหรือทำไม่ดี ตนเองจะได้รับผลกระทบในการทำมาหากิน และความเป็นอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียนรู้จากคนรุ่นก่อนที่ได้เล่าสืบต่อกันมา และจากประสบการณ์ของตนเอง
          วัน “ เช้งเม้ง “ ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนปฏิบัติอยู่นี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมของประเพณีที่ให้ลูกหลาน
อนุชนรุ่นหลัง ได้แสดงถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษ เป็น วันรวมญาติครั้งใหญ่เพื่อร่วมกันกระทำกิจกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษ วันเช้งเม้งจะมี 2 แบบ คือ วันเช้งเม้งเก่า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เมษายน และวันเช้งเม้งใหม่ ซึ่งจะกระทำกันระหว่างเดือน 2-3 สำหรับชาวจีนในภูเก็ตนั้น นับเอาวันที่ 5 เมษายน เป็นวันเช้งเม้ง ตลอดระยะเวลาก่อนวันที่ 5 เมษายน 10 วันหรือหลังวันที่ 5 เมษายน 10 วัน ลูกหลานจะพากันไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่สุสานบรรพบุรุษพร้อมทั้งนำสิ่งของไปเซ่นไหว้ เช่น น้ำชา (เต๋) ขนมข้าวเหนียวกวน (บี้โก้) ขนมฟู (ฮวดโก้ย) ขนมเต่าแดง (อั้งกู้) เนื้อ หมูต้ม ไข่ไก่ต้ม หมี่เหลือง (ส้ามเช้ง) กระดาษสี ต่าง ๆ แปะบนหลุมฝังศพ (บ่องจั้ว) ธูปเล็ก (เหี้ยว) เทียนเล็ก (เจก) กระดาษทองเล็ก (กิ้มจั้ว) กระดาษเงินเล็ก (หยินอาจั้ว) ประทัด (ผ่าง)
          นอกจากนั้นยังมีเครื่องทำกงเต็ก อันได้แก่ เสื้อผ้า ธูปเทียน
ดอกไม้ กระดาษเงิน กระดาษทอง เพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า เมื่อเผาของจำลองเหล่านี้แล้ว จะไปถึงผู้รับในปรโลก
          ชาวจีนในอดีตเมื่อมีญาติพี่น้อง
หรือพ่อแม่ตาย บรรดาลูกหลานนิยม ฝังศพของญาติพี่น้อง และบรรพบุรุษ แม้แต่คนงานกรรมกรเหมืองแร่ดีบุกในสมัยก่อน ที่ไม่มีครอบครัว ต้องอาศัยที่ทำงานในเหมืองเป็นที่พักอาศยเมื่อตายไป บรรดาพรรคพวกที่ร่วมงานด้วยกัน ก็จะนำศพนั้นไปฝังตามสุสานป่าช้าที่ทางราชการได้กำหนดไว้ สำหรับผู้ที่มีฐานะดี ก็จะมีสุสานประจำตระกูล หรือสุสานภาษาเดียวกัน ซึ่งแสดงเอกลักษณ์ของสุสานแต่ละกลุ่มภาษาที่แตกต่างกัน ในทางรูปธรรม แต่ความหมายที่สื่อก็จะเหมือนกัน เพื่อให้วิญญาณผู้ตายสู่สุคติ และให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้มีความเจริญรุ่งเรือง

ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง

  1. เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา ลำบากเพื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต           "เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก"
  2. เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน ) ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ
  3. เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน" เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม
  4. เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน
  5. กราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่บรรพบุรุษ ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน

ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง

  1. ทำความสะอาด สุสาน ( เซ้าหมอ )
    ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว
    หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง ( ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่งห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ ) บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง
    ( สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ )
    ( ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม และบางความเชื่อ
    ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว )

2. กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล

การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย )

    1. เทียน 1 คู่ + ธูป 5 ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ )
    2. ชา 5 ถ้วย
    3. เหล้า 5 ถ้วย
    4. ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
      *** ควรงดเนื้อหมู – เพราะเคยมีปรากฎว่า
      เจ้าที่เป็นอิสลาม ***
    5. กระดาษเงิน กระดาษทอง
           

การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น )

    1. ชา 3 ถ้วย
    2. เหล้า 3 ถ้วย
    3. ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
      * ของไหว้
      ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย *
    4. กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
    5. เทียน 1 คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก

หมายเหตุ
*** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจียะปี ( ป้ายหิน
ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )
เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ
ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด***
พิธีเช็งเม้ง
ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ
ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) *** เป็นอันเสร็จพิธี
บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ
แสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้ย

  1. เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง ลงบนเนินหลังเต่า ( เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก
    ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา
  2. ทุกครั้งที่มา จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน
    ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ
    หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์  โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี
  3. ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ
    ข้อเท็จจริง :
    ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว แต่ปลูกหญ้าได้
  4. หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น
    ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็นสารทนี้เท่านั้น
    ขึ้นอยู่กับฤกษ์
    หากทำในสารทนี้ โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก
    อสูร
  5. จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป
    ข้อเท็จจริง :
    ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภ
    หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา ( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )
  6. บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง
    ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ
    ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ
  7. บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ
    ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี
  8. การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี
    ข้อเท็จจริง :
    ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก
  9. การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์
    ข้อเท็จจริง :
    เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้ หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก
  

การไหว้ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องไหว้ใน สารทเช็งเม้ง เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน จะพบว่าคนกลุ่มหนึ่งจะไปไหว้ก่อนถึงเทศกาลเช็งเม้ง เพื่อหลีกหนีปัญหาการจราจร   และเราสามารถเลือกไปไหว้ในช่วง ตังโจ่ย แทน ( โดยเฉพาะหากด้านหลัง สุสาน เป็นทิศตะวันตก ) อากาศเย็นสบายกว่า ปํญหา จราจรน้อย ของไหว้ราคาไม่แพง คนไม่พลุกพล่าน

เทศกาล ใน การไหว้บรรพบุรุษ
สารท ราศีเดือน ห้ามทิศ
( ชง ปะทะ )
ห้ามทิศด้านหลัง
สุสาน
ชุนฮุน
( 21 มีนา - 4 เมษ )
/4 /10
( 270 +/- 15 องศา )
ทิศตะวันตก
เช็งเม้ง
( 5 เมษ - 20 เมษ )
/5 /11
( 300 +/- 15 )
ทิศใต้
ตังโจ่ย
( 22 ธค. - 5 มค. )
/1 /7
( 180 +/- 15 )
ทิศใต้

การเตรียมตัวไปไหว้บรรพบุรุษ ช่วงเช็งเม้ง ตังโจ่ย

1. นัดหมาย วันเวลากับพี่น้อง ญาติมิตรให้ดี
2. เตรียมแผนที่ + เบอร์โทรศัพท์
3. แจ้งมูลนิธิ เพื่อเตรียมสถานที่ ทำความสะอาด ดายหญ้า กางเต๊นท์
4. เตรียมของไหว้
อุปกรณ์
1. ร่ม - ขนาดใหญ่ หลายอัน - บังแดด บังฝน บังลม ( เวลาจุดไฟ / ป้องกันลมเย็น )
2. ไฟแช็ค + น้ำมันรอนสัน หรือ Zippo สำหรับหยดลงบนธูป เทียน ทำให้จุดติดง่าย
    ( กรณีหมด ใช้ยาหม่องป้ายแทน - ยาหม่องมี alcohol อยู่ )
3. เทียนแดงก้านใหญ่ เมื่อจุดไฟติดแล้ว จะทนทานต่อลมได้ดีกว่าก้านเล็ก
4. ไหว้แซกี ฮกกี
    หากไหว้ที่ฮูลิน ให้จัดเพิ่ม 1 ชุด สำหรับประธานสถานที่ของภูเขาลูกนั้น
5. ผ้าเย็น - เช็ดหน้า เช็ดมือ ก่อนทาน และไว้ทำความสะอาดอื่น ๆ
6. น้ำเปล่าหลายขวด เผื่อรับประทาน และเผื่อดับไฟ เวลาไฟลามตอนเผากระดาษ ***
   ( หน้าร้อน อาจเพิ่มน้ำแข็ง แต่อย่ากินน้ำเย็นจัด )
7. ถุงพลาสติค ไว้ใส่ของ / แบ่งของกินกลับ
8. ไม้ สำหรับขีด วงกลม ที่พื้นสำหรับเผากระดาษ
9. เสื่อรองปู / หนังสือพิมพ์
    โดยเฉพาะเจ่าอุ่งและแซกี ซึ่งจะไหว้เจ้าพลัง บางครั้งอาจเจอกรวดหินแข็ง
10. ถ่ายรูปไว้จะได้จำได้ง่าย
     หากมี GPS บันทึกพิกัดได้ยิ่งดี เมื่อดูจาก Google Earth จะได้เห็นมุมมองใหม่ ในแง่ชัยภูมิ
11. หากสุสานไม่ได้พิงทิศใต้ ท่านสามารถไปไหว้ช่วงตังโจ่ยแทน ( ประมาณ 22 ธันวา - 5 มค.)
      อากาศจะเย็นสบายกว่ามาก การเดินทางสะดวกกว่า รถไม่ติด อาหารไม่แพง
      ดูรายละเอียดหน้า 73 ในหนังสือ ปฎิทินฤกษ์มงคล 2552 : ฤกษ์ไหว้สุสานบรรพบุรุษ
12. ย้ำเตือน ห้ามจุดประทัด
      *** หากไม่รู้จริง อันตราย / ห้ามเป็นอสูรและแตกสลาย ทั้งด้านหลัง ตำแหน่งที่จุด / ห้ามเป็นดาว 5 ***
      กรุณาอ่าน สุสานบรรพบุรุษ จุดประทัดเกิดเรื่องวิบัติ
     แนะนำให้ ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง
    ( สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ )
13.  *** ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า
14. ห้าม ถอนหญ้า ขุด กระทบใด ๆ ***
     ( เมื่อหลายปีก่อน ซือเฮียสุภชัยเคยเผลอไปถอนหญ้า รถ Volvo ตกหลุม ใต้ท้องรถกระแทก ห้องน้ำมันเครื่องแตก
       ต้องเรียกรถมาลากกลับ หมดค่าซ่อมหลายหมื่น โชคดีที่ประกันจ่าย แต่ก็เสียเวลาทั้งวัน วุ่นวายพอควร )
15. ก่อนกลับ อย่าลืมชำระค่าบำรุงสถานที่ ( แต่ละแห่งไม่เท่ากัน )

 

เอกสารอ้างอิง :

เกรียงไกร  บุญธนกานนท์. เช็งเม้ง : ไหว้บรรพบุรุษเทศกาลเช็งเม้ง. http:// www.fengshuitown.com (เข้าถึง 30 มี.ค.50 )
จิตรา  ก่อนันทเกียรติ.2540. ตึ่งหนั่งเกี้ย.  พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: แพรว.
ประเพณีธรรมเนียมจีน : พิธีแต่งงาน เทศกาลตรุษจีน วันสารทจีน วันเช็งเม้ง. 2543. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์น.