5.เพลงกล่อมเด็กประเภทเสียดสีสังคม

ในความเป็นจริงแล้งเพลงกล่อมเด็กชาน้องหรือร้องเรือเจตนารมณ์ที่แท้จริงคือการกล่อมหรือร้องเพื่อให้เด็กได้หลับนั้นเองแต่บางครั้งการกล่อมก็ มีตามอารมณ์หรือกลอนพาไปเพื่อความสะดวก ก็มีกลุ่มวิจัยได้แยกประเภทตามเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็ก โดยสมัยก่อนการอาศัยสังคมชนบทมี การพึ่งพาอาศัยกัน การปลูกฝังประเพณีและวัฒนธรรมอย่างในสังคมแคบๆแต่ละครอบครัวยึดมั่น ประเพณี ถ้าครอบครัวใดที่ทำผิดประเพณีก็จะ ถูกค่อนขอดนินทาแต่การจะพูดกันต่อหน้าไม่ค่อยทำกันก็อาศัยเพลงชาน้องเป็นสื่อในการกระแนะกระแหนเพื่อนบ้านใกล้เคียง จึงเกิด เพลงชาน้องประเภทเสียดสีสังคมขึ้น(ลัดดา  รักอิสระ. 2540, 37)

5.1 เพลงต้นลางสาด
(สร้อย)…………………………………………….
คือน้องเหอ คือต้นลางสาด
อยู่กลางนิวาส  นกไม่หาญสู้กิน
ข้างนอกสุกใส  ข้างในแมงติดสิ้น
นกเหอไม่หาญสู้กิน ลางสาดกลาวนิวาสเหอ (นางประณีต ทองเฝือ. 2540, 39 )

5.2เพลงพระจันทร์-ราหู
(สร้อย)…………………………………………….
นางแม่เหอ  รักลูกอาธรรม์
รักแต่พระจันทร์ รักลูกอาธรรม์
ทำพรือลูกเหอ  แม่แค้นใจนัก
ราหูไม่รัก  เกิดศึกทั้งเมืองหมุยเหอ(นางทิพย์ จันทรัมพร. 2540, 39 )

 

Previous          Next