ที่มา : การแสดงมะโย่ง เมื่อ ตุลาคม 12, 2008 http://www.pattanian.com/index.php?topic=10.0 |
อีกคาถาหนึ่งที่น่าสนใจเป็นคาถาเบิกโรงของคณะมะโย่งจากนราธิวาสมีใจความว่า เนาะ แซเปาะ ซตือฮูแย มาดู มาแบ ดี กีฮี ดี กาแน ดี บลาแก ดี ดะแป เนาะ อูจะ ฌูเฆาะ ซาระ ดาแล ดาดอ ซือปาต็อฮ กาตอ ซือรีบู ยัง ฌาดี เนาะ มีเตาะ อำปน ดี แนแนะ มาอัฮ ฆูรู อำปน ซีอออแฮ มาอัฮ ยัง เกอซือมัว แนแนะ ฌาแง มูกอแย ดายอ ปานัฮ ปูโจ็ะฮ์ ฆือเลาะแค บฮาซอ ปานัฮ ปูโจะฮ์ มูกอแย ลายู เนาะอากะ บฮากะ อาเกะ บฮาเกะ เฮาะ ยัง อูโซ เฮาะ ยัง เนาะ แซเปาะ มาแบ ดี กีฮี ดี กาแน บลาแก ดะแป ดี อาตัฮ ดี บอว็อฮ เนาะ แซเปาะ ฌือมาแล ดี กีฮี ดี กาแน ดี บลาแก ดะแป ดี อาตัฮ ดี บอว็อฮ เนาะ แซเปาะ ปาดอ ซตือฮูแย มาดู เนาะ แซเปาะ บือฮี มีเตาะ อูโน บือฮี ตีฆอ ลาก็อฮ ปาดอ ตือปะ เปอแมแน เมาะโย่ง แมะบูงอ เนาะ เนาะ มือนาโบโฮ (๑๒) หมายความว่า ขอปัดป้องให้พ้นภัยจากศัตรู ผีมาแบ ที่อยู่ทางด้านซ้าย ขวา หลัง และหน้า ขอบอกกล่าวสิ่งที่อยู่ในอก หนึ่งคำกล่าว หนึ่งพันอย่างที่เป็นไป ขอขมาต่อบรรพบุรุษ ขอขมาต่อครูบาอาจารย์ ให้ขมาคนหนึ่ง ให้ขมาทั้งหมด บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย ขอท่านจงอย่ามีใบหน้าโกรธเคืองเง้างอน หัวร่อ เริงรื่น ขจัดใบหน้าที่โกรธเคืองเง้างอนออกไป ขออัญเชิญสิ่งที่มีมาแต่ดั้งแต่เดิม ขอปัดป้องผีมาแบที่อยู่ทางด้านซ้าย ขวา หลัง หน้า ข้างบน และข้างล่าง ขอปัดป้องเหล่าศัตรูทั้งหมายมี ขอให้ถอยออกไปจากสถานที่แสดงมะโย่งของแมะบูงอจะเบิกโรง สักสามก้าว เมื่อโต๊ะโบโม็ฮว่าคาถาบทนี้จบแล้วจะอัญเชิญบทขอพรในคัมภีร์อัลกุรอ่าน เพื่อขอความสวัสดิภาพ จากองค์อัลล็อฮ ขอให้การแสดงประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยไม่มีเหตุขัดข้องแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาคาถาเบิกโรงทั้งสองบทนี้ จริงอยู่ว่าสะท้อนให้เห็นความเชื่อของบรรพบุรุษในเรื่องผี วิญญาณ และผสมผสานกับความเชื่อในคติฮินดูที่มีอำนาจมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของมนุษย์ อาจให้คุณหรือโทษ แต่เมื่อชนชาวมลายูยังคงปฏิบัติอยู่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่เชื่อในศาสนาอิสลาม ไม่เชื่อในพระเจ้าคือ อัลล็อฮ แต่ปฏิบัติโดยถือเป็นธรรมเนียม และไม่กล้าละทิ้งไปเสียทีเดียว จึงมีการอัญเชิญบทขอพรจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน ในตอนจบพิธี แสดงถึงความเป็นสุดยอดของพิธีกรรมคือขอพรจากพระเจ้าไม่ใช่จากผี ปัญหานี้จะว่าผิดหรือถูกอย่างไร จัดแย้งกับศาสนาอิสลามมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของแต่ละคน ไม่มีใครกล้าตัดสินว่าขัดกับ ศาสนาอิสลามร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือไม่ขัดกับศาสนาเพราะเรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่มีคาถาบทหนึ่งที่ใช้ในการสะเดาะเคราะห์ของคณะมะโย่งที่อิงกับความเชื่อในศาสนาอิสลาม ซึ่งมีคุณค่าควรแก่การศึกษาและพิจารณาว่ามะโย่งขัดกับหลักศาสนาอิสลามตามที่กล่าวกันไว้หรือไม่ “เฮโมงตูโยะติเ สะตูดิเตะยาดีโละ ดืองากาแล ดูวอติเตะ ยาดีกาโบะ ดืองา ดือบู ตีฆอตีเตะ ยาดีฮามเละ ดันแซแต ปะติเตะยาดียิงดันมาแม ลีมอติเตะยาดีญิงดันปาฮี แนดีเตะ ยาดีตูโมะแฮ ตูโยะตีเตะ ยาดีกะมาแฆอาแดมือลง เฆาะดันจะลากอ จะปอยังปูญอมะลือปัส-ลือปัสปะดาฮารีนิง-ซอ-ลีมอ-ตูโยะ ลือปัส (๑๓) คาถาบทนี้มีความหมายว่า น้ำค้างเจ็ดหยด หนึ่งหยดเป็นวิญญาณและคำ (ภาษา) สองหยดเป็นหมอกและฝุ่น สามหยดเป็นอิบลิสและซาตาน (อิบลิสคือหัวหน้าใหญ่ของพวกซาตานหรือไชตอน) สี่หยดเป็นฌินและมาแบ (พวกซาตานกลุ่มหนึ่ง) ห้าหยดเป็นฌินและปาฮี (ปาฮีคือผีนางไม้) หกหยดเป็นพืชพันธุ์ เจ็ดหยดเป็นรูปปั้นอาดัม เคราะห์และอุบาทว์จัญไรจงหลุดพ้นไปนับแต่วันนี้ หนึ่ง-ห้า-เจ็ด จงหลุดไป ใจความโดยรวมของคาถาบทนี้กล่าวถึงสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้มีกำเนิดมาจากพระเจ้า คือ องค์อัลล็อฮ แต่เพียงผู้เดียว พระองค์เป็นผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์จากินเหนียว มนุษย์คนแรก คือ อาดัม พระองค์ทรงสร้างธรรมชาติ สร้างพวกผีวิญญาณที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อในศาสนาอิสลาม ไม่ใช่ความเชื่อของบรรพบุรุษ ที่ได้รับจากติฮินดูแต่อย่างใด ดังนั้น การแสดงมะโย่งสมควรที่จะอนุรักษ์ในสิ่งที่ดีงามและไม่ขัดแย้งกับศาสนาอิสลาม เอาไว้ ไม่ใช่ว่าเมื่อพบจุดที่ขัดกับศาสนาอิสลามแล้วให้ยกเลิกไปทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ดี ๆ ที่มีอยู่ ๑.๒ เครื่องเซ่นในพิธีกรรมเบิกโรง เครื่องเซ่นจัดเป็นมรดกความเชื่อจากบรรพบุรุษที่ยังหลงเหลืออยู่ ในสังคมมลายู ในการละเล่นมะโย่งเราจะพบเครื่องเซ่นหลายชนิดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ดูได้ตั้งแต่โรงละครมะโย่งที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงมะโย่งประกอบการรักษาผู้ป่วย ที่เสาเอกของโรง ถือวาเป็นเสาครู “ตียัง ฆูรู” (Tiang Guru) จะประดับตกแต่งด้วยใบโกศลเงิน กศลทองและต้นกระเช้าสีดา ึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง อุปกรณ์เครื่องมือในการรักษาโรคของแพทย์หลวง (ที่รักษาเฉพาะเชื้อพระวงศ์) ตรงเพดานหลังคาโรงด้านหน้า จะตกแต่งด้วยดอกไม้หลากสีแขวนขนมลา ข้าวตัง ข้าวเหนียวกวน กล้วย อ้อย ไส้ไก่ จั่นหมาก ซึ่งเป็นเครื่องเซ่นระลึกถึงครู และโรงละครที่มีดอกไม้นานาพันธุ์ เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของวิมานทิพยสถาน ที่ตั้งอยู่ใจกลางวนอุทยานที่สวยสดงดงาม และอุดมสมบูรณ์ ด้วยอาหารคาวหวานและผลไม้ นอกจากเครื่องเซ่นประจำเสาโรงแล้ว ยังจะต้องมีเครื่องเซ่นสำหรับโต๊ะโบโม็ฮผู้ทำพิธี และเครื่องเซ่นสำหรับครูบาอาจารย์ วางไว้ในถาดดังนี้ เครื่องเซ่นสำหรับโต๊ะโบโม็ฮหรือบางคณะเรียก “เปาะดา” ประกอบด้วย ใบพลู เงิน ๑๐ บาท ข้าวเหนียว ขวัญสามสี คือ สีแดง ขาว เหลือง วางสลับกัน ก่อเป็นรูปทรงภูเขา ตรงกลางยอดปักไข่ต้มเปาะเปลือกแล้ว ๑ ฟอง และมีเทียน ๑ เล่ม ปักตรงไข่อีกชั้นหนึ่ง สำรับนี้จะวางไว้ตรงหน้าเปาะดา ซึ่งนั่งอยู่บนเสื่อ เสื่อที่รองนั่งเป็น สัญลักษณ์ที่ประทับของราฌามูดา ซึ่งเป็นเทพผู้ให้กำเนิดมะโย่ง เครื่องเซ่นสำหรับบูชาครูซึ่งคนมลายูเรียกว่า ฆือรัสฆุรู (Keras Guru) ประกอบด้วย พลู ด้ายดิบ เงิน ๑๒ บาท กำยาน ข้าวเหนียวขวัญสามสี ไข่ต้ม ๑ ฟอง เทียน ๑ เล่ม วางในลักษณะเดียวกับข้าวเหนียวขวัญ ของโต๊ะโบโม็ฮด้วยเช่นกัน เมื่อพิจารณาจากเครื่องเซ่นจะเห็นความขัดแย้งกับหลักคำสอนในศาสนาอิสลามอย่างชัดเจนที่ห้ามกระทำพิธ ีที่มีลักษณะการบูชาหรือเซ่นไหว้โดยเด็ดขาด แม้แต่พระเจ้าคืออัลล็อฮ คนอิสลามมิได้เซ่นไหว็พระองค์ด้วยเครื่องเซ่น คาวหวานแต่อย่างใด แต่จะสรรเสริญพระองค์ ขอพรจากพระองค์ด้วยการละหมาด สวดมนต์โดยใช้บทสวด ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ถึงแม้ว่าการใช้เครื่องเซ่นดังกล่าวนั้นมิได้มีความหมายว่าผู้ปฏิบัตินั้นไม่นับถือคำสั่งสอนของพระเจ้า แต่พวกเขาปฏิบัติตามธรรมเนียมที่ปู่ย่าตายายเคยปฏิบัติกันมา และปัจจุบันค่อย ๆ ยกเลิกไปมากแล้วตามที่ผู้รู้ทางศาสนา ท้องติงกัน ๑.๓ ความเชื่อที่มีต่อเครื่องดนตรี ซึ่งนักดนตรีเชื่อว่าเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นมีวิญญาณสิงสู่อยู่ ซึ่งมีอำนาจ ที่จะสร้างความเดือนร้อนให้ผู้เล่นได้ หากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือลบหลู่ต่อเครื่องดนตรีชิ้นนั้น ๆ โดยเฉพาะ รือบับและฆง โต๊ะโบโม็ฮผู้ทำพิธีเบิกโรงจะจุดเทียนไปวางที่เครื่องดนตรีเหล่านี้เป็นการบอกกล่าวถึงสิ่งที่มอง ไม่เห็นเหล่านั้น เหมือนกับว่าเป็นการให้ความสำคัญ ความเกรงกลัวต่อพวกผีวิญญาณเหล่านนั้น (ซึ่งคนมุสลิมเรียกว่า อิบลิส หรือ ซาตาน) มากกว่าพระเจ้า ๑.๔ เรื่องราวหรือนิทานที่ใช้ในการแสดงเป็นเรื่องประโลมโลกที่เต็มไปด้วยจินตนาการ สิ่งเพ้อฝัน ไม่เกี่ยวข้อง กับศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่มีเรื่องราวของเทวดา นางฟ้า ผู้มีอำนาจพิเศษสามารถดลบันดาลให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ได้ โดยมิใช่อำนาจของพระเจ้า ซึ่งไม่มีในหลักคำสอน ของอิสลาม ตัวอย่างเช่น เรื่อง สังข์ทอง หรือ กนดัง อัมมัส (Gondang Emas) ที่มเหสีให้กำเนิดโอรสเป็นสอยสังข์ ซึ่งเป็นเรื่องราวเหลือเชื่อเกินจริง ทั้ง ๆ ที่นิทานเหล่านี้มีคติธรรมสอนใจมากมายและเป็นนิทานเพื่อความบันเทิง แต่มีกระแสความคิดเห็นว่าหากเยาวชนดูนิทานเหล่านี้และหลงเชื่อไปโดยไม่คำนึงความจริง แยกไม่ออกว่าสิ่งที่แสดงนั้น เป็นนิทานแล้ว อาจเกิดความสั่นคลอนในความเชื่อความศรัทธาในศาสนาอิสลามได้ ๒. สภาพสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปสังคมของคนไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมในหมู่บ้านหรือในจังหวัดตัวเมืองต่างก็มีแนวทางการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ ยอมรับวัฒนธรรมภายนอกที่หลั่งไหลเข้ามา โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตกที่นำเสนอความเจริญทางวัตถุที่นำมาซึ่ง ความบันเทิงสมัยใหม่ ในรูปของภาพยนตร์ วิดีโอเกมส์ โทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งมีความสะดวกมากกว่าการบันเทิงแบบเก่า ที่จะต้องอดตาหลับขับตานอน เพื่อจะนั่งชมละครมะโย่งหน้าโรงแสดง ท่ามกลางน้ำค้างยามดึกสองสามคืนติดต่อกัน กว่าจะจบสักหนึ่งเรื่อง และไม่ได้มีให้ชมกันบ่อย เมื่อเป็นดังนั้นคนปัจจุบันจึงให้ความนิยมกับสิ่งบันเทิงสมัยใหม่ การละเล่นพื้นบ้านเช่นมะโย่งในปัจจุบันจึงอยู่ในสถานภาพที่ไม่แตกต่างไปจากของเก่า ของโบราณ มีราคาแพง หาชมได้ยาก ถึงจะสร้างเลียนแบบของเก่าอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม ๓. ความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อระบบการครองชีพของคนในสังคม ทุกระดับชั้น เนื่องจากมะโย่งเป็นละครว่าของชาวบ้านในสังคมชาวนา ผู้แสดงมะโย่งล้วนมาจากกลุ่มชาวนาชาวสวน และผู้ใช้แรงงาน มิได้มีรายได้มากมายมหาศาล รายได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนและราคาของผลผลิตที่ได ้ในแต่ละฤดูกาล การเปิดการแสดงแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับเทศกาลปีละไม่กี่ครั้งเท่านั้น และไม่ใช่อาชีพหลัก การรับงานแสดงมะโย่งเพื่อยึดเป็นอาชีพนั้นไม่มีหลักประกันความมีดีกินดีและอยู่ดีของชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงไม่มีใครส่งเสริมให้ลูกหลานฝึกหัดฝึกร้องฝึกแสดงมะโย่งกันแล้ว นอกจากให้หางานทำตามโรงงานอุตสาหกรรม ใหญ่ ๆ ในตัวเมือง หรือทำสวนกรีดยางจะมีหลักประกันในอาชีพมากกว่า ๔. ในการสื่อสารด้วยภาษาที่จำกัดอยู่ในวงแคบเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้มะโย่งไม่สามารถแพร่สู่สังคม วงกว้างได้ เนื่องจากการละเล่นมะโย่งสื่อสารกันระหว่างผู้ชมและผู้แสดงด้วยภาษามลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งคล้ายกับ ภาษามลายูถิ่นกลันตัน ทำให้ผู้ที่จะเข้าถึงการละเล่นมะโย่งได้จะต้องเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมภาษาเดียวกัน สื่อสารกันเข้าใจ ผู้ชมที่ต่างวัฒนธรรมกันยากที่จะเข้าใจและซาบซึ้งในการละเล่นชนิดนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสชมการแสดงมะโย่ง เป็นครั้งแรกในชีวิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ มหาวิทยาลัยกือบังซาอันมาเลเซีย ซึ่งจัดโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาดนตรีและสังคมจัดขึ้นเพื่อประกอบการศึกษา เมื่อชมเป็นครั้งแรกทำให้ผู้เขียนเข้าใจทันทีว่าทำไมคนไทยเชื้อสายมลายูสมัยก่อนจึงชอบดูมะโย่งกันเพราะดูแล้ว สนุกสนานเพลิดเพลิน ดนตรีไพเราะ นักแสดงแต่งตัวสวยงาม ซึ่งเป็นจุดประสงค์สำคัญที่คณะนักแสดงต้องการ ให้ผู้ชมได้รับจากการแสดงของตน ในขณะที่ผู้เขียนนั่งชมมะโย่งอยู่นั้น มีกลุ่มนักศึกษานั่งอยู่ด้วยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งชมมะโย่งด้วยความอึดอัดเพราะไม่เข้าใจภาษามลายูถิ่นกลันตัน บ่นอยู่ตลอดเวลาว่าฟังไม่รู้เรื่อง ซึ่งต่างจาก นักศึกษาที่มาจากรัฐกลันตันและตรังกานู ซึ่งเข้าใจภาษามลายูถิ่นกลันตันเป็นอย่างดี พวกเขาจะสนุกสนานเฮฮา ตลอดเวลา มีอารมณ์ร่วมกับนักแสดง เหตุการณ์ทำนองนี้ผู้เขียนประสบเช่นเดียวกันในงานมหกรรมการละเล่น และการดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้เขียนสังเกตเห็นว่าเมื่อคณะนักแสดงมะโย่งขึ้นเวทีและเริ่มต้นแสดง หน้าเวทีแสดงมีผู้ชมอยู่ไม่มาก ผู้ชมส่วนใหญ ่เท่าที่ฟังเสียงพูดจากันมาจากปัตตานี ยะลา หรืออาจจะนราธิวาส เพราะคุยด้วยภาษามลายูถิ่นปัตตานี ผู้ชมกลุ่มน ี้จะชมการแสดงจนจบ ในเวลาเดียวกันนั้น อีกเวทีหนึ่งกำลังแสดงลิเกป่า ผู้ชมแน่นขนัดกันไปหมด ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนหนุ่มสาว เพราะคนเหล่านี้ฟังหรือพูดภาษาไทยถิ่นใต้ได้ จึงเลือกชมลิเกป่าที่สื่อสารด้วยภาษาที่ตนเข้าใจดีกว่าดูมะโย่งที่สื่อสารด้วยภาษามลายูถิ่นปัตตานีที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ ในทางกลับกัน หากจัดการแสดงลิเกป่า มะโย่งและโนราในจังหวัดปัตตานี ยะลา หรือนราธิวาส แน่นอนว่าผู้ชมส่วนใหญ่คงยืนอยู่หน้าเวทีมะโย่งมากกว่าเวทีโนราหรือลิเกป่า เพราะคนส่วนใหญ่ในจังหวัดดังกล่าวเป็นคนไทยเชื้อสายมลายูที่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานี และพูดภาษาไทยถิ่นใต้ไม่ได้ และอาจจะฟังไม่เข้าใจด้วย ภาษาจึงนับว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ที่ไม่ส่งเสริมให้การละเล่นมะโย่งแพร่หลายสู่จังหวัดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้นจะให้นักแสดงมะโย่งใช้ภาษาไทยในการแสดงก็เป็นไปไม่ได้อีก เพราะนักแสดง ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่า อายุมาก ไม่เคยศึกษาภาษาไทยเป็นกิจจะลักษณะ คนรุ่นใหม่ก็ไม่ฝึกที่จะเล่นมะโย่ง จึงขาดช่วงผู้สืบทอดการละเล่นชนิดนี้แล้ว ๕. เท่าที่ทราบปัจจุบันนี้ยังไม่มีการก่อตั้งชมรมของผู้ที่รักการแสดงมะโย่ง เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนไทย ภาคใต้เลยสักชมรมเดียว ที่จะทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางการถ่ายทอดและรักษาศิลปะชนิดนี้ให้กับลูกหลานไทย เชื้อสายมลายู เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นและกลุ่มชนของตนต่อไปก่อนที่ศิลปะชนิดนี้จะตายและเหลือไว้แต่ชื่อ ๖. คณะนักแสดงมะโย่งขาดผู้ให้การอุปถัมภ์ทั้งจากภาครัฐและเอกชนคณะนักแสดงจึงไม่เห็นความสำคัญ ที่จะถ่ายทอด การละเล่นมะโย่งให้ลูกหลานต่อไป เพราะจะต้องประสบกับปัญหาเรื่องปากท้องอย่างแน่นอน (สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2540, 110 -118) ______________________________________ (๑๒) สัมภาษณ์ นางเจ๊งเดาะ เจ๊ะเตะ บ้านเลขที่ ๖ หมู่บ้านจือปากอ ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๔. (๑๓) อนันต์ วัฒนานิกร, แลหนังเมืองตานี หน้า ๗๔. |