ข้อเสนอแนะเพื่อการสืบสานและอนุรักษ์การละเล่นมะโย่งให้คงอยู่ต่อไป
จากการศึกษาการละเล่นมะโย่งเท่าที่กล่าวมาทั้งหมด พบว่าการละเล่นมะโย่งไม่ได้มีความหมายแค่เพียงเป็น
สิ่งบันเทิงหย่อนใจของคนในสังคมเท่านั้น แต่เป็นการบอกถึงเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มชนที่เป็นเจ้าของบอกถึง
ความเจริญในด้านความคิดและแสดงออกทางพฤติกรรมโดยการใช้ศิลปะเป็นสื่อนำเสนอ การละเล่นมะโย่งไม่ได้
้เป็นแต่เพียงแหล่งการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของกลุ่มชน แต่ยังเป็นแหล่งศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นที่สำคัญ
อีกแหล่งหนึ่ง ดังนั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะได้มีการสืบสานและอนุรักษ์เอาไว้เป็นมรดกของท้องถิ่นต่อไป
ด้วยวิธีการเก็บบันทึกภาพการแสดงมะโย่งเอาไว้ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะภาพของพิธีกรรมเอาไว้ในรูปของวีดิทัศน์เก็บไว้
ตามพิพิธภัณฑ์คติชน ศูนย์ส่งเสริมทางวัฒนธรรม ตามสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งห้องสมุดทั่วไป ให้คนรุ่นหลัง
ได้ศึกษาต่อไป เพราะมะโย่งเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของกลุ่มชนที่สามารถช่วยสร้างความเป็นท้องถิ่นความเป็นสังคม
กลุ่มชนได้เป็นอย่างดี.(สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2540,119)
เอกสารอ้างอิง
การแสดงมะโย่ง. เมื่อ ตุลาคม 12, 2008 http://www.pattanian.com/index.php?topic=10.0 ( เข้าถึง 30 มีนาคม 2552 )
ชวน เพชรแก้ว. 2523. ชีวิตไทยปักษ์ใต้ ชุดที่ 3. กรุงเทพฯ : กรุงสยาม.
ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. 2548. ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ : ว่าด้วย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องเมืองใต้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. 2519. ตำนานการละเล่นและภาชาวใต้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ประเพณีวัฒนธรรมของคนบ้านเชิงเขา : มะโย่ง หรือเมาะโย่ง http://www.geocities.com/banchengkao/07.html
( เข้าถึง 30 มีนาคม 2552 )
มะโย่ง. http://tarachai.tripod.com/03seethaitumnan/south/nara001.htm ( เข้าถึง 30 มีนาคม 2552 )
เมาะโย่ง ศิลปะการแสดงมาลายูในแดนใต้ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=100872 ( เข้าถึง 31 มีนาคม 2552 )
สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.2540. ทีทรรศน์วัฒนธรรม : รวมบทความทางวิชาการวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
|