บางคณะสันนิษฐานว่ามะโย่งเกิดขึ้นในอาณาจักรมัชปาหิต บ้างก็ว่าเกิดขึ้นที่เมืองปาเล็มบัง (๕) สรุปแล้วไม่มีมะโย่งคณะใดเชื่อว่ามะโย่งเกิดขึ้นในอาณาจักรปัตตานีเลยแม้แต่คณะเดียว
ในประเทศมาเลเซียในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นั้น ละครรำมะโย่งได้รับการรับรองว่าเป็นการละเล่น
เพื่อความบันเทิงในราชสำนัก โดยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของเติงกู ตือเมิงฆง กัฟฟัร (๖) (Tengku Temenggung Ghaffar)
ซึ่งเป็นโอรสองค์หนึ่งของสุลต่านรัฐกลันตัน พระองค์เป็นผู้ที่มีความสนพระทัยในงานศิลปะและวัฒนธรรมทุกประเภท
พระองค์ให้การอุปถัมภ์แก่เหล่าบรรดาศิลปิน โดยประทานเงินเดือนให้ ทรงส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคณะละคร และพระองค์ทรงทำการคัดเลือกตัวนักแสดงและฝึกฝนให้ด้วยพระองค์เอง จนเกิดหมู่บ้านการละครขึ้นในรัฐกลันตัน
เรียกว่า “หมู่บ้านตือเมิงฆง” (Kampuung Temenggung) ตามพระนามของพระองค์ในหมู่บ้านแห่งนี้มีทั้งโรงละครมะโย่ง
มโนราห์ วายังกูลิต และโรงละครบังซาวันในสมัยของพระองค์ การละเล่นมะโย่งได้รับความนิยมสูงสุดและเจริญ
รุ่งเรืองมากที่สุดในรัฐกลันตัน และเป็นการแสดงในราชสำนักเท่านั้นต่อเมื่อสิ้นพระองค์ท่าน คณะมะโย่งมีอันต้อง
แตกวงไปเพราะขาดผู้อุปถัมภ์จากชนชั้นสูง มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ช่วงนี้เองที่มะโย่งกลายเป็นการละเล่นเพื่อความ
บันเทิงของชาวบ้านทั่วไปไม่ใช่ของราชสำนักอีกต่อไป
ส่วนมะโย่งที่พบในเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย (๗) เช่นในเมืองเซิอร์ดัง (Serdang)
และเดอลี (Deli) เป็นคณะมะโย่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคณะมะโย่งของรัฐเคดาห์และปะลิศที่เดินทางไปแสดงที่นั่น
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ โดยเดินทางออกจากรัฐปีนังสู่อินโดนีเซีย ในราวปี ค.ศ. ๑๘๘๘-๑๙๔๖ สุลต่าน สุไลมาน
ชาริฟุล อาลัม ชัฮ (Sultan Sulaiman Shariful Alam Shah) สุลต่านองค์สุดท้ายแห่งเมืองเซิอร์ดังทรงให้การสนับสนุนให้มี
ีการจัดตั้งคณะละครรำมะโย่งขึ้นในเมืองของพระองค์ เพราะพระองค์มีความสนพระทัยในศิลปะการแสดงมะโย่งเป็นอย่างมาก
คณะมะโย่งที่ก่อกำเนิดในเมืองนี้มีนักแสดงส่วนหนึ่งมาจากคณะมะโย่งของรัฐปะลิศ ภาษาที่ใช้แสดงจึงเป็นภาษามลายู
สำเนียงถิ่นประลิศ และมะโย่งในเมืองนี้รุ่งเรืองเรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ. ๑๙๖๔ เมื่อเกิดการปฏิบัติทางการเมืองล้มล้าง
ระบบสุลต่าน และการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านสุไลมาน ชาริฟุลอาลัม ชัฮ ความนิยมในละครรำมะโย่งจึงเสื่อมถอย
ตามไปด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของคณะมะโย่งปัจจุบัน มิอาจระบุแหล่งกำเนิด
ของมะโย่งได้ ในขณะที่นักวิชาการของมาเลเซียสันนิษฐานว่าน่าจะมีกำเนิดมาจากอาณาจักรปัตตานีในอดีตมากกว่าที่อื่น ซึ่งถ้าเราพิจารณาในด้านการใช้ภาษาในการแสดงแล้วย่อมมีความเป็นไปได้ที่มะโย่งจะมีกำเนิดมาจากอาณาจักรปัตตานี
ีเพราะมะโย่งจะใช้ภาษามลายูสำเนียงถิ่นปัตตานีในการแสดง ซึ่งเป็นภาษามลายูถิ่นที่พูดกันในรัฐกลันตันของมาเลเซีย
ด้วยเช่นกัน ละถ้าหากว่ามะโย่งมีกำเนิดมากจากชวาตามการคาดคะเนของคณะมะโย่งในปัตตานีปัจจุบันแล้วเหตุใด
จึงไม่เป็นที่แพร่หลายในอินโดนีเซียและไม่มีการสืบทอดหลงเหลือให้เห็นบ้าง ตรงกันข้ามจะต้องเชิญคณะมะโย่ง
จากมาเลเซียไปฝึกให้ ซึ่งต่างกับวายังกูลิตชวาที่ไม่มีวันตายจากสังคมของชาวอินโดนีเซีย แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธว่า
มะโย่งอาจจะมีแหล่งกำเนิดมาจากชวา เพราะเกาะชวาเป็นแหล่งสร้างสมวัฒนธรรมให้กันดินแดนต่าง ๆ ในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้มากมายมาหลายศตวรรษแล้วเช่นกัน
__________________________
(๕) ประพนธ์ เรืองณรงค์, สมบัติไทยมุสลิมภาคใต้ : การศึกษาคติชาวบ้านไทยมุสลิม จังหวัดปัตตานี
ยะลา และนราธิวาส (กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๗), หน้า ๙๓-๙๕
(๖) Ghulam Sarwar Yousof, “Drama-tari Mak Yong Dari Kelantan-Satupengenalan” p. 31.)
(๗) Ghulam Sarwar Yousof, “Mak Yong Di Serdang Sumatera Utara” in sirih Pinang Kumpulan Esei Budaya
(Kuaia Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1983), p. 32.
|