ที่มา : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. 2542,134

ความสำคัญ
วันมาฆบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ๔ อย่างคือ
๑. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
๒. ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า
๓. ท่านเหล่านั้นเป็นอรหันต์ทรงอภิญญาทั้งสิ้น
๔. วันที่ประชุมเป็นวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ หรือเดือน ๓
(จากหนังสือศาสนพิธี เล่ม ๑ กรมการศาสนา -ปัจจุบันคือสำนักพุทธศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม)
ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ ๔ อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจาตุรงคสันนิบาต โดยประชุมกัน ณ พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน นอกจากนี้ วันที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงกับวัน
ี้)

 

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคม
          วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็น "วันจาตุรงคสันนิบาต" แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ
          ๑. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
          ๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา 
          ๓. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
          ๔. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน ๓) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์
          โอวาทปาติโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการ ได้แก่

๑. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง เว้นจากความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ 
๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม ด้วยกาย วาจา ใจ 
๓. ทำจิตใจให้หมดจดบริสุทธิ์ผ่องใส

การปลงมายุสังขาร

หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา ๔๕ ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือ ตั้งพระทัยว่า "ต่อแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน" การปลงอายุสังขาร ตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ ๘๐ พระชันษา
          ด้วยเหตุนี้ ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า รวม ๒ ประการ คือ เป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ และ เป็นวันปลงอายุสังขาร

 
    ประเพณีทำบุญวันมาฆบูชา
“มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน 3 มาฆบูชานั้นย่อมาจากคำว่า”มาฆบุรณมี” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3  วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพุทธศาสนา คือเป็นวันที่มีการประชุมสังฆ์สันนิบาติครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาติ” และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืฮงต่อไป
   คำว่า “จาตุรงคสันนิบาติ” แยกศัพท์ได้ดังนี้คือ “จาตุ” แปลว่า 4 “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาติ” แปลว่า ประชุม ฉะนั้น จาตุรงคสันนิบาติ จึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ 4” กล่าวคือ มีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้คือ
  1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
  2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
  3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมกันในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆองค์
  4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์

     การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันนี้ก็คือ การทำบุญตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืนจะพากันนำดอกไม้ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ โดยเจ้าอาวาสจะนำว่านะโม 3จบ จากนั้นกล่าวคำถวายดอกไม้ ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดินเวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ จนครบ 3 รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัดเตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี (ชุลีพร  สุสุวรรณ. 2542,96-97)

 

PREVIOUS