สาระของเพลงเรือแหลมโพธิ์ เพลงเรือแหลมโพธิ์จัดเป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว มีพื้นที่การเล่นอยู่บริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลามานับร้อยปี เพลงเรือแหลมโพธิ์ปกติจะมีเนื้อหาที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะสังคมท้องถิ่นเอาไว้เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ทัศนะ และอารมณ์ขัน ทำให้มองเห็นภาพชีวิตของชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมพื้นบ้านชนิดนี้ได้ดีศูนย์กลางการเล่นอยู่ที่บริเวณแหลมโพธิ์ ซึ่งเป็นแหลมเล็กๆ ยื่นลงไปในทะเลสาบสงขลา พื้นที่ประมาณ 5 ไร่ อยู่ทางตอนเหนือของหมู่ที่ 3 บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นเพลงที่พวกฝีพายเรือยาวร้องเล่นในเรือร่วมกับประเพณีชักพระ เพื่อชักลากเรือบุษบกพระไปสู่จุดหมายในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ปัจจุบันเพลงเรือแหลมโพธิ์ปรับประยุกต์มาเป็นเพลงร้องบนบก โดยเป็นหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบางกลำรัชมังคลาภิเษกมีอาจารย์นวลศรี ถนอมศรีมงคล ผู้รู้เพลงเรือเป็นผู้สอน ผู้สูงอายุในท้องถิ่นเล่าว่า ชุมชนที่ชักพระมายังแหลมโพธิ์เท่าที่เคยมีมาในเขตอำเภอหาดใหญ่ ได้แก่ บางโหนด หัวควาย ท่าแซ คลองแห บ้านหาร บางนก บางกล่ำ คูเต่า แม่ทอม ท่านางหอม ท่าเมรุ บางทิง บางหยี โคกขี้เหล็ก ( เพลงเรือแหลมโพธิ์ http://www.klonghaecity.org/index.php?module ) ๑ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ๒. ทราบประวัติและศิลปะการตกแต่งเรือพระ ๓. ทราบประเพณีการแต่งกายของชาวบ้านโพธิ์ในอดีต ๔. ทราบสภาพทางสังคมท้องถิ่นในเรื่องชีวิตประจำวันความเชื่อทางไสยศาสตร์และทางเศรษฐกิจ |
|
ที่มา : เพลงเรือลดอุบัติเหตุ www.khlong-u-taphao.com/... |
|
|
|