ทำบุญเหอ ทำบุญวันสารท เพลงร้องเรือเกี่ยวกับการทำบุญวันสารท |
ความสำคัญ เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที |
สาระ ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการ ดังนี้ ๑. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน เพื่อตอบแทนบุญคุณ ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ๒. เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกล ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ ๓. เป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มออกผลเพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ๔. ฤดูฝนในภาคใต้จะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ พระภิกษุสงฆ์บิณฑบาตยากลำบาก ชาวบ้านจึงจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหฺมฺรับ ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน |
ที่มา: สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร. 2540, 42 |
สารทเดือนสิบ พีธีกรรม เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วที่ (เรียกว่า "เปรต") มาจากนรก สำหรับวันนี้บางคนก็ประกอบพิธี บางคนจะประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โดยการนำอาหารไปทำบุญที่วัดเรียกว่า "หมรับเล็ก" เป็นการต้อนรับบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เรียกว่า "วันจ่าย" เป็นวันที่เตรียมหมรับ และจัดหมรับ คือการเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดหมรับ เมื่อได้ของตามที่ต้องการแล้วก็เตรียมจัดหมรับ การจัดหมรับแต่เดิมใช้กระบุงเตี้ย ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ภายหลังใช้ภาชนะได้หลายชนิด เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง หรือ กระเชอ สำหรับสิ่ง การจัดหมรับ ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุงแล้วใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาคาว หวาน ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วย (ที่ยังไม่สุก) อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าดไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย เครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน แล้วใส่สิ่งอันเป็นหัวใจอันสำคัญของหมรับคือ ขนม 5 อย่างมี ดังนี้ ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับบุรพชน ใช้ลอ่งข้ามห้วงมหรรณพ ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่นสะบ้า ในวัน สงกรานต์ ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย |
การจัดอาหารหวานคาวและผลไม้ต่างๆ เพื่อนำไปวางที่ร้านเปรต |
ความเป็นมาของประเพณีสารทเดือนสิบ |
ประเพณีสารทเดือนสิบมีขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้ 1. เนื่องมาจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เชื่อว่าในปลายเดือนสิบปูย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และคนบาปทั้งหลายที่ตกนรก จะถูกปล่อยจากนรกให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และให้กลับไปนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ดังนี้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็พยายามหาอาหารต่าง ๆ ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับที่ขึ้นมาจากนรก |
การตั้งเปรต
|
การชิงเปรต |
เอกสารอ้างอิง : นครศรีธรรมราช,สำนักงานจังหวัด. 2532. นครศรีธรรมราช 32. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ดี แอล เอส. เบญจมราฃูทิศนครศรีธรรมราช . 2542. 100 ปี เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง. ประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราช : 2528. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์. สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร. 2540. บันทึกประเพณีภาคใต.้ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร. 2542. ประวัติศาสตร์ โบราณคดี นครศรีธรรมราช. บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดี ไซน์ และการพิมพ์จำกัด . ้้ http:// www.trangzone.com/prapanee (เข้าถึง 25 ก.ค.50) |