สงกรานต์ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ความงดงามของประเพณีสงกรานต์อันประกอบด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมดังกล่าว เปรียบเสมือนสายใยความผูกพันแห่งอดีตกับปัจจุบัน เป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง แต่กำลังจะถูกลบเลือนไปในสภาพปัจจุบันกิจกรรมหลายอย่างได้ถูกยกเลิกไป สุนทรียภาพอันเกิดจากภาษาและดนตรีได้เงียบหายไป เพลงร้องอันไพเราะที่เกิดจากภูมิปัญญาของตนถูกแทนที่ด้วยบทเพลงสมัยใหม่ ความเอื้ออาทรความห่วงใยและความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นมีความสุขโดยการ ประพรมน้ำ ถูกแทนที่ด้วยการขว้างปากิริยาก้าวร้าวรุนแรงไม่สนใจ ในความเจ็บปวดและอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น พิธีกรรมอันเคยสง่างามถูกบีบรัดด้วยความรีบร้อนให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว |
||
|
||
ภาพกิจกรรมเด่นๆ ในเทศกาลสงกรานต์ทั่วไทย คลิก | ||
เอกสารอ้างอิง : กองสร้างสรรค์กิจกรรม ฝ่ายกิจกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์. http://www.songkran.net/th/ (เข้าถึง 20 ก.ย.2550) วันสงกรานต์. http://www.NongkhaiWeb.com, (เข้าถึง 20 ธ.ค. 2549) วันสงกรานต์. http://www.zabzaa.com/event/songkran (เข้าถึง 10 มี.ค. 2550) สมชัย ใจดี, ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. 2531. ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) 2523. สงกรานต์. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ. |
||
Home >> |
||