ศัพท์เรียกอุปกรณ์และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุง
ศัพท์หนังตะลุง  เป็นภาษาที่ใช้เรียกอุปกรณ์ต่าง ๆ  และพิธีกรรมต่าง ๆ  อันเกี่ยวกับหนังตะลุงโดยเฉพาะ  เป็นภาษาที่ชาวบ้านภาคใต้รุ่นก่อน ๆ  เข้าใจความหมายอย่างถูกต้องแม้หนังตะลุงจะเกิดขึ้นในภาคใต้ไม่น้อยกว่า  180  ปี  

ได้วิวัฒนาการรูปแบบไปจากเดิมมากแล้ว แต่ภาษาที่ใช้เรียกขานเกี่ยวกับเรื่องของหนังตะลุง ยังคงเรียกอยู่เหมือนเดิม ศัพท์หรือคำต่างๆ ดังนี้  

  1.     นายหนัง  เป็นผู้แสดงหนัง  เป็นหัวหน้ารับผิดชอบความเป็นอยู่ของทุกคนในคณะ 

อุปกรณ์ทุกชิ้น  นายหนังเป็นผู้จัดหา  จัดซื้อ  แม้สมัยก่อนมีหนังแสดงหลายคน  แต่ต้องมีนายหนังคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบ

2. เล่นหนัง  คือการแสดงหนัง  หรือพากย์หนังเป็นเรื่องราว

3. เครื่อง  คือเครื่องประโคมบรรเลงประกอบการแสดงหนัง  มีทับ  2  ลูก  กลอง  1  ใบ โหม่ง  ฉิ่ง  ปี่  ซอ

4. ลูกคู่  ผู้ทำหน้าที่ตีเครื่องหรือประโคมเครื่อง  มี 5-8  คน  ลูกคู่หนังผิดกับลูกคู่โนราและเพลงบอก  ไม่มีการรับเพลง

5. หมอกบโรง  เป็นหมอประจำตัวนายหนังเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาคม  พิธีกรรมต่าง ๆ 

ป้องกันไม่ให้นายหนังถูกคุณไสยของฝ่ายตรงกันข้ามและถ้าเกิดมีขึ้นสามารถแก้ไขได้  ยังทำหน้าที่ทำฝ่ายตรงข้ามด้วย  หมอกบโรงจะนั่งติดกับหัวหยวกปักรูปเสมอ

6. ถูกทำ  ถูกคุณไสยของฝ่ายตรงกันข้าม  เช่น  เสียงแห้ง  ลงท้อง  ชัก  จดมืด  หน้าโรง

เย็นผิดปกติ  พูดตลกไม่มีคนหัวเราะ  หมอกบโรงต้องทำหน้าที่เป็นผู้แก

                                                               ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย 2547,55
7. ยกเครื่อง  เป็นการเตรียมพร้อมเครื่องประโคมต่าง ๆ  ตลอดถึงลูกคู่  ก่อนออกจากบ้านนายหนัง  ให้มีการประโคมเพลงเพื่อให้การเดินทางปลอดภัย  มีผู้คนนิยมชมชอบ  หมอกบโรงจะประกอบพิธีร่ายเวทมนตร์  3  เที่ยว  ว่าดังนี้  “นะเมตตา  โมกรุณา  พุทปราณี  ธายินดี  ยะเอ็นดู  นะยอออลือออทม”  แล้วนำเครื่องออกเดินทาง   
8.เดินโรง  คือคณะหนังออกเดินทางโดยไม่มีผู้รับหรือว่าจ้าง  เป็นการเดินทางหมายน้ำบ่อหน้า  อาจารย์หนังจะแนะให้ไปหาคนที่เป็นเพื่อนรักกับตน  เช่น  กำนัน  หรือคนใหญ่ของหมู่บ้านนั้น  หนังเดินโรงไปของพึ่งคนใหญ่ผู้นั้นจะรับรองเรื่องอาหารการกินและปลูกโรงให้แสดง  ถ้าคนดูชอบใจ  นายหนังก็จะใช้ลูกไม้ในการขอเงิน  เช่น  นางเจ้าเมืองอุ้มลูกตกระกำลำบากเพาะถูกสามีขับออกจากเมือง  พอมาถึงท่าน้ำไม่มีเงินจะเสียค่าโดยสารเรือ  ขอความเมตตาจากผู้ดูหน้าโรง  ก็จะได้เงินบ้างตามสมควร  หากการเดินทางจวนค่ำก็ต้องเข้าพึ่งวัด  เจ้าอาวาสย่ำตะโพนขอข้าวจากชาวบ้าน  โรงหนังมักมีอยู่แล้วในวัด  หนังก็แสดงให้ดูเป็นการตอบแทน  ต้องแสดงเต็มที่  เพื่อให้ผู้คนติดอกติดใจและจะมีผู้รับไปแสดงต่อในงานของตน  และรับกันเป็นช่วง ๆ  สมัยก่อนเดินทางด้วยเท้าหรือเรื่อ  ใช้เวลาแรมเดือนเดินทางข้ามจังหวัด  ถ้ามีผู้รับมาก  อาจเป็นเวลาถึงครึงปี  จึงกลับบ้าน
9. ขันหมาก  เมื่อมีผู้ไปรับหน้า  นำหมากพลู  9  คำ  ใส่ขันยื่นให้นายหนัง  บอกวันเวลา  สถานที่ที่จะไปแสดง  ถ้านายหนังรับขันหมากเป็นอันว่าตกลง  เวลาหนังไปถึงประตูบ้านหรือประตูวัดของผู้รับ  ลูกคู่จะตีกลองเป้นสัญญาณผู้รับหนังจะนำหมากพลูมารับที่ประตูบ้านหรือประตูวัด  โดยถือกันเป็นธรรมเนียม  หากนายหนังมีความจำเป็นไม่สามารถไปแสดงได้ตามวันเวลาต้องบอกล่วงหน้า  เรียกว่าคืนขันหมาก  ถ้ามีผู้รับไว้ก่อนแล้ว  แต่มีผู้รับอีก  และแสดงในเวลาตรงกัน  นายหนังจะบอกว่าติดขันหมาก  ไปแสดงให้รายอื่นที่มารับทีหลังไม่ได้

10. ราด  คือเงินที่ผู้รับมาว่าจ้างหนังให้ไปแสดง  นายหนังจะเป็นผู้ว่าเองเรียกว่า   “เรียกราด”  เพื่อความแน่นอนทั้ง  2  ฝ่าย  จะมีเงินมัดจำอีกส่วนหนึ่งด้วย
11. ขึ้นโรง  ก่อนลูกคู่จะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ  วางบนโรงหนัง  นายหนังหรือหมอกบโรง 

เดินเวียนโรง  3  รอบ  บางคณะใช้มือจับที่หัวรอดตัวกลางแล้วบริกรรมคาถาว่า  “ออนอ  ออพ่อ  ออแม่  อออา  ออแอ”  ต่อจากนั้นนึ้นโรงได้
12. ตั้งเครื่อง  เมื่อขึ้นบนโรงพร้อมแล้วตีเครื่อง  1  เพลง  เป็นการบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า  คืนนี้หนังแสดงแน่นอน  หนังมาขึ้นโรงแล้ว  เสียงโหม่งได้ยินไปไกลพอสมควร
13. แก้แผง  หรือแตกแผง  แผงรูปขนาบด้วยไม้ไผ่หัวท้าย  2  คู่  ผูกมัดไม้ไผ่ด้วยเชือก   เมื่อแก้ออกทั้ง  4  มุม  ยกฝาแผงบนขึ้น  การวางแผงต้องให้รูปสำคัญอยู่ด้านบน  เช่นรูปฤาษี  พระอิศวร  เทวดา  อยู่ด้านบน  เรียกว่า  รูปหัวหน้า  รูปพระรูปนางอยู่ถัดไป  เรียกว่ารูปเชิด  รูปไม่สำคัญอยู่ใต้สุด  มักใช้กระดาษรองเป็นชิ้น ๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดรูป  รูปฤาษี  ปรายหน้าบทปักทางหัวหยวก  รูปตลกสำคัญปักทางปลายหยวกที่วางทาบติดกับตีนจอ  รูปเทวดา  พระอิศวร  นางเมขลา  นิยมเหน็บหลังคา  รูปเบ็ดเตล็ดปักกับหยวกที่ผูกแขวนกับฝาทางด้านซ้ายขวาของจอ  รูปอื่น ๆ  แขวนห้อยกับเชือกที่ผูกกับฝาให้ตึงพอหยิบได้สะดวก  โดยเอาข้อต่อของมือรูปเกี่ยวกับเชือก  คนแก้แผงมีหน้าที่เก็บรูปเข้าแผง  เมื่อหนังเลิกแสดง  เรียกว่า  ดับแผงจนชาวบ้านเอาคำนี้มาใช้เป็นสำนวน  มีความหมายว่าเตรียมตัวหนี  หรือรีบออกเดินทาง
14. เบิกโรงก่อนหนังจะเริ่มลงโรง  เจ้าภาพต้องเตรียมอาหารคาวหวานใส่ถ้วยเล็ก ๆ วางบนถาด  12  อย่าง  เรียกว่า  “แต่งเท่สิบสอง”  เหล้าเป็นขาดไม่ได้  พร้อมด้วยหมากพลู  9  คำ  เทียน  9  เล่ม  เงินเบิกโรง  1  บาท  ใส่ในพาน  นายหนังหนือหมอกบโรง  จะประกอบพิธีชุมนุมเทวดา  ว่าโองการธรณีสาร  ไหว้สัดดี  อัญเชิญดวงวิญญาณของครูหนัง  ให้มาปกป้องผองภัยทั้งปวง  แล้วปักเทียนที่ทับกลองพร้อมด้วยหมากพลู  แห่งละ  1  คำ  นายหนังเคาะทับกลองเบา ๆ  ลูกคู่ขึ้นกลองลงโรง  เงินค่าลงโรงเป็นกรรมสิทธิ์ของคนแบกแผงปัจจุบันเงินค่าเบิกโรงไม่น้อยกว่า  100  บาท  และไม่มีการยกเท่สิบสองเหมือนสมัยก่อน ๆ  แล้วมีเทียนหมากพลูเป็นใช้ได้

ทื่มา : หนังตะลุง  :  อัจฉริยะลักษณ์การละเล่นแห่งเมืองใต้ 2544, 13
15. ลงโรง  คือเริ่มตีเครื่อง  จะเริ่มตั้งแต่  2  ทุ่ม  ตีเครื่องจนครบ  12  เพลง  เช่น  เพลงเดิน  เพลงออกสั่งการ  เพลงยกพล  เป็นต้น  สมัยก่อนทับเป็นตัวนำเครื่องดนตรีอื่น ๆ  ปี่ใช้เพลงไทยเดิม  แต่ขยายจังหวะให้ยาวหรือสั้นเข้า  เป็นลีลาการบรรเลงดนตรีของหนังตะลุงโดยเฉพาะ  ปัจจุบันนิยมใช้เพลงลูกทุ่งเข้าประกอบ  การลงโรงเพื่อขับกล่อมผู้ฟังหน้าโรงหนังไปพลาง ๆ  ก่อน  และให้นายหนังไ ด้ประกอบพิธีกรรม  เช่น  ผูกขี้ผูกเยี่ยว  กันเนื้อกันตัว  มีการเชิด  3  ครั้ง  เชิดครั้งที่  3  ออกฤาษี  ลำดับต่อไป  ตีเครื่องยักย้ายให้เข้ากับการเชิดรูป  ปัจจุบันลูกคู่ตีเครื่องหายากไม่ค่อยมีคนมาฝึกหัดสืบสานต่อ  ทั้ง ๆ  ที่มีค่าจ้างคืนหนึ่ง ๆ  ไม่น้อยกว่า  200  บาท  ค่ากินอยู่ค่าเดินทาง  นายหนังเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น
16. แทงหยวก  หยวกกล้วยที่ใช้ปักรูปต้องเป็นหยวกที่ตัดมาใหม่ ๆ  หยวกที่โรงหนังอื่นใช้แล้วไม่เอา  แต่ถ้าหนังโรงนั้นแสดงต่อ  เป็นกี่คืนก็ได้ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่  การวางหยวกให้หัวหยวกอยู่ทางขวาของจอ  กลางหยวก  ใช้มีดครูแทงเป็นรูปสามเหลี่ยม  ฐานอยู่ล่าง  เอาหยวกที่แทงออก  เสกหมากพลูฝังใน  1  คำ  ใช้มือขวาวางเหนือหยวกตรงรอยแทง  และใช้กาบหยวกที่แทงออกปิดให้เรียบร้อย  เสกคาถาผูกใจคนดู  3  คาบ  ”อิตถีโย  บุรุสโส  โรตันตัง  จาระตัง  เรเรรัง  เอหิ  อาคัตฉายะ  อาคัตฉาหิ” 
17. เบิกปากรูป  รูปที่ออกเป็นครั้งแรกลูบขึ้น  3  ครั้ง  แล้วร่ายมนต์เบิกปาก  เฉพาะรูปตลกสำคัญ  เช่นด้วยเหล้า  โดยเอาหางจากหรือก้านธูปจุ่มลงในเหล้าแล้วนำไปจิ้มที่ปากรูปพร้อมกับชักปากร่ายมนต์ว่า  “ด้อล่อหิ  หิล่อด้อ”  สามคาบ
18. ชักฤาษี  คือการเชิดรูปฤาษี  “แล้วสอนให้ออกยักษ์ชักฤาษี”  ซึ่งมีวิธีเชิด  โดยเฉพาะกว่าจะชักได้ถูกต้องใช้เวลาฝึกฝนพอสมควร  ถือเป็นศิลปะชั้นสูง  มีชื่อเรียกต่างกัน  เช่น  ฤาษีท่องโรงฤาษีตกบ่อ  ฤาษีขุดมัน
19. ลูบจอ  จะลูบจอก่อนออกปรายหน้าบทใช้มือทั้งสองไปจดกันที่จอ  3  ครั้ง  ร่ายมนต์มหาเสน่ห์คนดูรักหลงใหล  “นะคำนึง  ดมคิดถึง  พุทตามมา  ธาร่ำไร  นะรักสนิท  โมปลอบจิต  ยะปลอบใจ  ยะอะอย่าลืมรัก  รักแล้วอย่าลืม”
20. ชักเสียง  ก่อนออกเสียงขับบทครั้งแรก  นายหนังใช้หัวแม่มือขวากดที่เพดานปากแล้วเอาน้ำลายมาปลุกเสก  ทำให้เสียงดังฟังไพเราะเสียงไม่แห้ง  “โอมส่งเสียงกูไป  เข้าในหัวใจมนุษย์หญิงชาย  โอมระรวย  พระพายพัดหวย  ระรวยเป็นบ้า  พระพายพัดพา  โอมระรวยมหาระรวย”  สามเที่ยว
21. ฉะรูป  ออกพระรามกับทศกัณฐ์รบกันหลังจากออกฤาษี  (ปัจจุบันไม่มีแล้ว)

22. ถูกทำ  คือฝ่ายคู่แข่งหรือหมอประจำถิ่นมีเจตนาร้ายโดยใช้พิธีกรรมทางไสยศาสตร์  ใช้ชินหรือภูตผีมารังควาน  เช่น  ล้มพับติดกับหยวก  ลงท้อง  เสียงแห้ง  จอมือ  หรือหนาวเย็นจัด  คนดูนั่งดูต่อไปไม่ได้  
23. ชักรูป  คือการเชิดรูป  ให้เข้ากับบทบาทและเนื้อเรื่องที่หนังนำมาแสดง  ชักรูปเป็นตัวนายหนังเอง  หรือคนอื่นก็ไ ด้  เช่น  หนังปานบอด  หนังแจ้งบอด  มองรูปไม่เห็นชักรูปเองไม่ได้  ต้องให้คนอื่นชักรูปให้  โดยผู้ชักรูปนั้น ๆ  ให้ตรงกับคำพากย์ของนายหนัง  ในปัจจุบันมีอัดเทปบันทึกเสียงของหนังที่มีชื่อเสียง  โดยได้รับอนุญาตหรือซื้อมาทั้งบทพากย์และการบรรเลงประกอบเรื่องเริ่มแต่ชักฤาษีจนจบเรื่อง  ลงทุนซื้อรูปครบครันตามท้องเรื่องฝึกชักรูปได้อย่างชำนาญ  เหมือนนายหนังเจ้าของเรื่องแสดงเองชาวบ้านเรียกว่าดูหนังแห้ง  ไปชักในงานศพ  งานบวชนาค  งานขึ้นบ้านใหม่  งานแต่งงาน  ใช้คนเพียงคนเดียว  ทั้งเปิดเสียงและชัก  มีรายได้คืนละ  500 – 1,000  บาท  ได้รับความนิยมจากผู้ดูพอสมควร
24. ชักกาก  คือการเชิดรูปตัวตลก  หนังสมัยก่อนมีคนชักกากโดยเฉพาะ  แต่ปัจจุบันนายหนังเป็นผู้ชักกากเอง  รูปกากหรือรูปตลก  ชักปากได้ทุกตัว  และมีสำเนียงพูดไม่เหมือนกันทุกตัว
25. กินรูป  คือการเชิดรูป  และออกสำเนียงพูดเข้ากับลักษณะนิสัย  และ  รูปร่างของ รูปนั้น ๆ  หนังกั้น  ทองหล่อ   ศิลปินแห่งชาติ  พูดรูปสะหม้อกินรูป  ใครนำไปเลียนแบบไม่เหมือน  หนังกิ้มเส้ง  พัทลุง  พูดอ้ายทองบ้านาย  และพูดนางเบียนหรือนาง  2  แขน  หาตัวจับยาก  หนังพร้อมน้อย  พัทลุง  พูดเสียงนางหรือเสียงผู้หญิงได้ดียอดเยี่ยม  ผู้หญิงที่พากย์เสียงผู้หญิงในภาพยนตร์ยกนิ้วให้ที่เดียว
26. ขึ้นบท  เอื้อนเสียงตั้งฐานเสียง  จะขึ้นว่า  ออ  ออ  แล้วขี้นบท  ตัวอย่าง  “ออ  ออ  จะสาธกยกนิทาน  (เอ้ย)  ถึง  ต่อไปมารร้าย”  ลูกคู่ขึ้นเครื่องท่อนหนึ่ง  เมื่อจบท่อนประโคมเฉพาะโหม่งกับฉิ่ง  นายหนังร้องซ้ำวรรคหน้าแล้วร้องวรรคต่อ ๆ  ไป  “จะสาธกยกนิทานถึงมารร้ายเศียรเป็นควายสรรพางค์อย่างยักษา”
27. ถอนบท  เมื่อนายหนังร้องไป  4-6  คำกลอน  ถอนบทให้ลูกคู่ขึ้นเครื่องเสียงครั้งหนึ่งช่วยให้การขับบทมีชีวิตชีวาและ  และถ้านายหนังยังคิดคำร้องวรรคต่อไปไม่ออก  จะได้มีเวลาคิดจนร้องต่อได้ดี  ตัวอย่างการถอนบท
           “สิ่งไม่ดีที่ชั่วผัวเขาห้าม
                ประพฤติตามแบบแผนให้แม่นเหมือน
                ให้เขาชมสมแท้เป็นแม่เรือน
                เมื่อยามเพื่อนผัวมาอย่าหน้างอ
                จงต้อนรับโดยดีไมตรีจิต
                ผัวคบมิตรอย่าชังฟังพ่อสอน
                อย่าแข่งดีกว่าผัวจะเดือดร้อน
                เมื่อผัวสอนควรคิดผิดหรือดี
                การนินทาว่าผัว  (เอ้ยลูกเอ้ย)  นี้ชั่วร้าย
                ลูกคู่ขึ้นไปท่อนหนึ่ง  จบเครื่องแล้วขับบทต่อไป
                “การนินทาว่าผัวนี้ชั่วร้าย  ทั้งน่าอายทั่งเสียหน้าเสียราศี”
                กลอนร้องต่อไป  ถ้ายาวมากก็ถอนบทเสียครั้งหนึ่ง  ถอนบทต้องเอื้อนเสียงโดยใช้คำอื่นเข้ามาประกอบ
28. เลยบท  เมื่อร้องจบตอน  จะเอื้อนเสียงยาว  ซ้ำสามคำหลัง  การเอื้อนเสียงตัองสัมพันธ์กับเนื้อหา  ดังตัวอย่าง
          เลยบทเมื่อขับบทจบตอน  เช่นวรรคสุดท้ายของบทเกี้ยวจอ
                “ให้เสียวศัพท์คำหวานกว่าตาลอ้อย
                ให้ชื่อหนังประเสริฐน้อย  (เอื้อนเสียงยืด)
                หอมลอยลม  (สาวเหอ)  หอมลอยลม”
                ลูกคู่ขึ้นเครื่องไปตอนหนึ่ง
                เลยบทเดิน  ถ้าเดินตัวพระ  ตัวนาง  เลยบทช้า  ถ้ายักษ์  วานร  เสือ  ราชสีห์  ม้าเดิน  เลยบทเสียงหนัก  กระแทกกระทั้น  เพราะแต่ละอย่าง  ตีเครื่องจังหวะต่างกัน
                “เสร็จปรึกษาลงยอมพร้อมใจกัน
                ตัดอรัญบุกป่าเที่ยวหานาง  (เอ้ยหานาง)
                ลูกคู่ขึ้นเครื่องเดินรูป  นาดรูป  นาดช้า  นาดเร็ว  เผยอรูป  หลบรูปเข้าจอ  ยกข้อใหม่เลยบททำนองเดียวกัน
                เลยเชิดบท  เช่น  บทรูปแผลงศร   รูปวิ่งหนี
                “มิได้ตอบวาจาตาเป็นมัน
                โลนถลันเข้าหาลอยวาริน”  (ลอยวารินแม่เอ้ย)
ลูกคู่ขึ้นเครื่องเชิด  นายหนังเชิดรูปรบกัน
                “แล้วโอมอ่านร่ายพระเวทวิเศษเดชคาถา
                ว่าเหาะหาหิเหลอยเมฆัง”  (ลอยเมฆังวามเอ้ย)
เลยบทเศร้า  หรือสลบ  เอื้อนเสียงยาว
                “สะอื้นอั้นตันอุราน้ำตานอง
กอดศพร้องว่าโอ้โอ้  (เอื้อนเสียง)  โศกาลัย
ลูกคู่ขึ้นเพลงเศร้าหรือเพลงโศก  เสียงปี่สำคัญมาก
29. ชะโรง  คือการปล่องทีเด็ดของนายหนังเพื่อ.........คนดูหน้าโรงของคู่แข่งขันมายัง  หน้าโรงของตน  เช่น  ตลก..........ฮาครืน
ทื่มา : หนังตะลุง  :  อัจฉริยะลักษณ์การละเล่นแห่งเมืองใต้ 2544, 29

30. คำคอนหรือทำนองคอน  เป็นคำร้องที่หนัง........นครศรีธรรมราช  ใช้คำร้อง  โดยเฉพาะมีจังหวะที่ตื่นเต้น........นิยมใช้กับบทนางสาว  บทเกี้ยว  บทสมหวัง  บทโต้ตอบ........อบรมสั่งสอน  หนังเมืองตรัง  เมืองพัทลุง  นำมาเลียนแบบแต่สู้หนังเมืองนครขับร้องไม่ได้  ส่วนหนังเมืองสงขลาขับร้องคำกลอนแทบไม่ได้เลย  คำคอนใช้กลอนสี่  สี่  ตัวอย่าง
                “มืดตาไม่ได้
                เล่นไฟโรงรับ
                น่าเฆี่ยนน่าขับ
                ฟันสับทิ้งเสีย
                นึกเกรงอาญา
                เพื่อนว่าหึงเมีย
                สูญเบี้ยเสียอัฐ
                เหมือนซัดลงคลอง”
ตัวอย่างคำคอน  กลอนสามห้า
                “มิตรของหนู
                มิตรสี่หมูใช่เหมือน
                มิตรป่าเถือน
                มิตรปลิ้นปลอกหลอกหลอน
                ยามมีทรัพย์
                มิตรก็นับกินนอน
                ยามเดือดร้อน
                มิตรก็ร้างห่างไกล”

31. เสียงเข้าโหม่ง  คือเสียงขับกลอนของหนัง  กลมกลืนกับเสียงโหม่งใบเสียงเอกฟัง  ไพเราะรื่นหู  ยกย่องกันว่าหนังผู้นั้นเสียงดี
32. ลำลาบ  คือหนังแสดงเชื่องช้า  ขับบทยาวเกินไป  พูดมากเกินไป  พูกนอกเรื่อง ปล่อยให้จอว่างอยู่นาน  ขึ้นเครื่องยาวเกินไป  ไม่รีบเรื่อง  
33. ยื่นรูป  อาจารย์หนังยื่นรูปให้ศิษย์ที่มาฝึกหัดแสดงหนังกับตน  ยื่นเฉพาะรูปสำคัญ  เมื่อศิษย์แสดงเป็นเรื่องครั้งแรก 34. ครอบมือ  เมื่ออาจารย์หนังเห็นว่าลูกศิษย์พอจะออกโรงได้  ก็ทำพิธีครอบมือให้  มี ดอกไม้  ธูปเทียน  หมากพลู  เป็นเครื่องบูชาครู  หนังรุ่นเก่าก่อน  เช่น  ตาหนุ้ย  ตาหนักทอง  แต่งบายศรี  เช่น  ดวงวิญญาณ  อาจารย์จะมอบรูปสำคัญให้ด้วย  โดยเอารูปใส่ในถุงผ้าขาวให้โผล่เฉพาะปลายไม้ตับ  ศิษย์หยิบเอาเพียงตัวเดียวหรือให้หมอบลงแล้วปิดตา  อาจารย์วางรูปสำคัญบนหลัง  ให้จับปลายไม้ตับเอาเพียงรูปเดียวลูกศิษย์ถือเป็นรูปสำคัญเช่นทุกครั้งที่แสดงหนัง
          คำศัพท์ที่เกี่ยวกับหนังตะลุงยังมีอีกมาก  เช่น  หัดหนัง  โลนหนัง  หลบรูป  เกี่ยวจอ  ปรายหน้าบท  รูปกาก  นางเบียน  บอกเรื่อง  ชักปาก   นาดรูป  ตัดเหมรย  เป็นต้น  (หนังตะลุง  :  อัจฉริยะลักษณ์การละเล่นแห่งเมืองใต.้ 2544.21-30)

ที่มา : มานิสา ปิยะสิงห. 2539,47
 
PREVIOUS