ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง

นอกจากจะถือว่าหนังตะลุงเป็นเรื่องบันเทิงใจอย่างมหรสพทั่ว ๆ  ไปแล้ว  ยังมีความเชื่อทาง
ไสยศาสตร์ปะปนอยู่ด้วยหลายประการ  ซึ่งจะประมวลเป็นข้อ ๆ  ต่อไปนี้

1. การปลูกโรงหนังตะลุง  จะไม่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  และทิศตะวันออก  คือถือกันว่าถ้า

หันไปทางทิศตะวันตกชื่อเสียงจะตก  ถ้าหันไปทางทิศตะวันออกจะเป็นการแข่งกับแสงอาทิตย์  และพระจันทร์  ถือเป็นอัปมงคล  หนังจะไม่ยอมเล่น  แต่ปัจจุบันความเชื่อเช่นนี้เสื่อมคลายลงไปเป็นอันมาก

2. หยวกที่ใช้ปักตัวหนังมักจะเจาะแล้วฝังหมากฝังพลูไว้ข้างใน  เพื่อป้องกันการถูกระทำทางไสยศาสตร์  และเพื่อผูกใจคนดู

3. หนังตะลุงแต่ละโรงมักจะมีหมอไสยศาสตร์  หมอไสยศาสตร์จะคอยทำพิธีเพื่อป้องกันการถูกกระทำต่าง ๆ  โดยเฉพาะถ้าเป็นการประชันด้วยแล้วถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

4. รูปหนังที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์  เช่น  รูปฤาษี  รูปพระอิศวรทรงโค  รูปเทวดา  หนังตะลุงจะต้องนับถืออย่างมั่นคง  และรูปเหล่านี้มักจะทำจากหนังสัตว์ที่ตายอย่างพิสดาร  เช่น  ฟ้าผ่าตาย  หนังเท้าของครูอาจารย์  บิดามารดา  ส่วนรูปตัวตลกต่าง ๆ  ก็มีเคล็ดว่า  ให้ใช้ตัดหนังหุ้มอยัยวะเพศชายของคนตายแล้วมาปะติดตรงส่วนปากล่างของรูปเพื่อจะได้ช่วยให้ตลกและชวนขันยิ่งขึ้น

5. ก่อนออกเดินทางไปแสดง  ณ ที่ไดก็ตาม  คณะหนังจะต้องประโคมดนตรีขึ้นเป็นเพลงเดิน

 และเชิดเป็นการเอากฤษ์  และในขณะเดินทางไปนั้น  ถ้าหากผ่านวัดหรือสถานทที่ศักดิ์สิทธิ์ต้องตีกลอง  เพื่อเป็นการคารวะทุกแห่งไป

ที่มา : มานิสา ปิยะสิงห์. 2539,46
6. เมื่อไปถึงบ้านงานแล้ว  จะนำรูปหนังและเครื่องดนตรีขึ้นทางหน้าโรงเท่านั้น  ส่วนนายหนังและลูกคู่ต้องขึ้นทางหลัง  และก่อนขึ้นต้องเดินเวียนโรงหนังหนึ่งรอบ  ถ้าโรงนั้นเคยมีคณะอื่นมาแสดงแล้ว  จะต้องทำความสะอาดเสื่อหมอน  และเปลี่ยนหยวก  สำหรับปักรูปเสียใหม่ด้วย  ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการกระทำทางไสยศาสตร์นั้นเอง

7. ถ้าเป็นการแสดงในงานศพ  ผู้แสดงจะต้องมีคาถาอาคม  หรือความรู้ทางไสยศาสตร์เป็นอย่างดี  ถ้าไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายได้และเมื่อถึงวันเผาศพหนังจะต้องขนย้ายเครื่องที่แสดงลงมาไว้ข้างล่างให้หมด  แล้วค่อยขนย้ายเข้ามาใหม่เมื่อเผาศพเสร็จแล้ว8. ถ้าเป็นงานแต่งงาน  ต้องแสดงก่อนวันแต่งงาน  หลังจากพิธีแต่งงานแล้วไม่นิยมแสดงเพราะถือว่าเป็นอัปมงคล

9. การผูกจอหนัง  นายหนังจะต้องผูกเชือกเส้นกลางของขอบล่างหนึ่งเส้น ที่ลูกคู่เว้นไว้เพื่อเอาเคล็ดว่าเป็นการผูกใจคนดู

10. การวางรูปเพื่อเตรียมแสดงและการเก็บรูป  รูปที่นำออกมาจากแผงถ้าเป็นรูปตัวตลกวาง

ไว้ในที่ต่ำ ๆ  ส่วนรูปศักดิ์สิทธิ์  เช่น  เทวดา  ฤาษี  ต้องแขวนไว้เหนือระดับศีรษะ  และเมื่อเก็บเข้าแผงจะตองจัดอย่างมีระเบียบ  คือรูปไม่สำคัญวางไว้ข้างล่าง  จัดรูปพระ  รูปยักษ์ไว้คนละส่วนไม่ปะปนกัน  รูปเทวดาและฤาษีจะต้องจัดไว้ข้างบนสุด  รูปผู้หญิงจะสัมผัสกับรูปฤาษีไม่ได้อย่างเด็ดขาด  นอกจากนั้นแผงที่ใช้เก็บรูปจะให้ใครข้ามไม่ได้เช่นเดียวกัน

11. ก่อนลงมือแสดงต้องมีพิธีเบิกโรง  ถ้าเป็นงานมงคลเจ้าภาพต้องจัดหาขันหมากหนึ่งชุดมีหมากพลู  9  คำ  เทียนหนึ่งเล่ม  ถ้าเป็นงานอวมงคลให้เพิ่มเสื่อหนึ่งผืน  หมอนหนึ่งใบ  หม้อน้ำมนต์หนึ่งใบ  ถ้าเป็นงานแก้บนใช้หมากพลู  9  คำ  เทียน  9 เล่ม  บางคณะเพิ่มดอกไม้  ข้าวสาร  ด้ายดิบด้วย  ส่วนเงินค่าเบิกโรงในแต่ละครั้งจะได้แก่ผู้หามแผงเก็บรูปหนัง  (เงินค่าเบิกโรงแต่เดิมคิดเป็นเงิน  1.50  บาท  ในปัจจุบันนี้คิดเป็นเงิน  12  บาท)
                เป็นที่น่าเสียดายว่าในปัจจุบันนี้หนังตะลุงของนครศรีธรรมราชแม้จะยังเป็นทที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง  และผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านชาวเมืองอยู่มากก็ตามแต่ก็เป็นการผูกพันกับชีวิตชาวชนบทเท่านั้น  หนังตะลุงเริ่มหมดความนิยมจากคนในเมืองที่มีความเจริญทางวัตถุอย่างเห็นได้ชัด  เพราะเดี๋ยวนี้มีภาพยนตร์และการละเล่นอื่นที่น่าสนใจและทันสมัยมากขึ้น  และอีกประการหนึ่งซึ่งน่าเสียดายมากก็คือ  หนังตะลุงส่วนใหญ่ได้พยายามปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัย  จนเอกลักษณ์ที่แท้จริงได้สูญหายเกือบหมดสิ้นแล้ว (ชวน  เพชรแก้ว. 2532, 3 – 9)


ที่มา : หนังตะลุง : อัจฉริยะลักษณ์การละเล่นแห่งเมืองใต้. 2544,8
PREVIOUS