วันงาน - พิธีรับตัวเจ้าสาว"ที่บ้านเจ้าบ่าว"
|
|
นำโคมไฟไว้ที่ห้องคู่บ่าว-สาว ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543,(5) |
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีทางบ้านเจ้าสาว ก็มาถึงตอนที่เจ้าสาวจะต้องนั่งรถไปกับเจ้าบ่าว พร้อมด้วยคนถือตะเกียง ซึ่งจะต้องเป็นญาติผู้ชายของฝ่ายหญิงการจุดตะเกียงนี้หมายถึงให้ชีวิตคู่มีแต่ความสว่างไสว และถือเคล็ดว่าให้มีลูกชายเป็นผู้สืบสกุล รวมทั้งคนหาบขนม ในการนี้พ่อเจ้าสาวจะเป็นคนจูงเจ้าสาวขึ้นรถ พลางกล่าวอวยพร พร้อมกับพรมน้ำใบทับทิมให้ด้วยว่า "ขอให้น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้เปลี่ยนคุณหนูให้เป็นคุณหญิง" สำหรับญาติฝ่ายเจ้าสาวที่ตามมาส่งเจ้าสาวถึงบ้านเจ้าบ่าว จะต้องเป็นกลุ่มผู้ชายล้วนเช่นกัน ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเตรียมตะเกียงที่สำหรับจุดให้แสงแล้วนำมาให้ญาติที่เป็นผู้ชายของฝ่ายหญิง เดินถือนำหน้าขบวนพาเจ้าสาวมาขึ้นรถ พร้อมกันนี้ยังต้องจัดกระเป๋าสีแดงภายในบรรจุทรัพย์สินเงินทองที่พ่อแม่เจ้าสาวจะให้เจ้าสาวได้นำติดตัวไปสร้างครอบครัว นอกจากนั้นฝ่ายเจ้าสาวยังต้องเตรียมกาน้ำชาและชุดยกน้ำชาสำหรับพิธียกน้ำชา พร้อมด้วยเชิงเทียนสีแดง 1 คู่ เพื่อความเป็นสิริมงคลมาด้วย
เมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวญาติหนุ่มฝ่ายเจ้าสาวจะนำตะเกียงไปวางไว้ในห้องหอและจุดทิ้งไว้ข้ามคืน โดยฝ่ายเจ้าบ่าวต้องให้อั่งเปาซองใหญ่กับผู้ที่นำตะเกียงมาเพราะถือว่าเป็นพิธีสำคัญ ปัจจุบันสามารถประยุกต์ใช้เป็นตะเกียงแบบเสียบปลั๊กแทน หลังจากนั้นจึงออกมาประกอบพิธีแต่งงานด้านนอก ก่อนที่เจ้าสาวจะเข้าบ้านเจ้าบ่าว ถ้าหากเจ้าสาวมีประจำเดือนก็ต้องก้าวข้ามกระถางที่จุดไฟไว้ จึงจะเข้าบ้านได้ แต่ถ้าหาเจ้าสาวไม่มีประจำเดือนก็ไม่จำเป็นทันทีที่เข้ามาในบ้าน บ่าวสาวจะไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพเจ้าเตาไฟและไหว้บรรพบุรุษของเจ้าบ่าวแบบเดียวกับที่ทำที่บ้านเจ้าสาว เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าทั้งคู่ได้แต่งงานกันแล้ว
จากนั้นจึงคารวะน้ำชาพ่อแม่และยกน้ำชาให้ญาติผู้ใหญ่ ชา หรือ "ขั่งเต๊" ให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว โดยทั้งสองต้องคุกเข่าลงพร้อมกับรินน้ำชาใส่ถ้วยวางลงบนถาดแล้วส่งให้ ผู้ใหญ่จะรับถ้วยชามาดื่มแล้วให้ศีลให้พร และเงินทองเพื่อเป็นทุนตั้งตัว พิธีการนี้ ถือเป็นการแนะนำให้ญาติๆรู้จักสะใภ้หน้าใหม่ไปด้วยในตัว
เสร็จพิธียกน้ำชา คู่บ่าวสาวจึงกินขนมอี๊สีชมพูหรือบัวลอยไข่หวานอีกครั้งเพื่อทั้งคู่จะได้รักใคร่ปรองดอง และหวานชื่นเหมือนรสชาติและสีของขนม พิธีนี้จะทำในวันเดียวกันหรือจะทำอีกวันก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมทำพิธีให้จบในวันเดียว
ส่วนช่วงเย็นจะจัดงานเลี้ยงแบบฝรั่งฉลองต่อแบบสมัยใหม่ที่กลายเป็นธรรมเนียมของทุกงานแล้วก็ได้
พอรุ่งเช้าถัดจากวันแต่งงาน เจ้าสาวจะต้องตื่นขึ้นมาปฎิบัติหน้าที่ลูกสะใภ้ปรนนิบัติพ่อแม่ สามีด้วยการยกน้ำล้างหน้าให้ท่าน บางครอบครัวอาจจะปฎิบัติตามธรรมเนียมนี้ 3 วันหรือบางราย 12 วัน |
|
|
ที่มา : ศรีมหาโพธิ์. 2543,(7) |
หลังวันแต่ง 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน แล้วแต่ฤกษ์ น้องชายของภรรยาจะเป็นฝ่ายไปรับคู่สามีภรรยาหน้าใหม่ เรียกเขยคนใหม่ที่ว่า “ตึ่งฉู่” กลับมาเยี่ยมและรับประทานอาหารที่บ้านเจ้าสาว และเจ้าสาวจะได้รับการต้อนรับเยี่ยงแขกคนหนึ่ง เจ้าสาวต้องเตรียมส้ม 12 ผลใส่ถาดติดไม้ติดมือกลับไปด้วย เมื่อไปถึงบ้านของฝ่ายหญิงก็ต้องทำพิธียกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเช่นกัน ผู้ใหญ่ก็จะให้พรและมอบทรัพย์สินเพื่อเป็นของขวัญในการตั้งตัว จากนั้นจะมีงานเลี้ยงต้อนรับลูกเชย จึงเป็นอันเสร็จพิธีแต่งงานอย่างแท้จริง
|
|
|
|