โอกาสที่เล่น
ในอดีตดาระนิยมรำกันในหมู่บ้าน
หลังจากที่ผ่านงานหนักมาตลอดวัน
ไม่มีกฎเกณฑ์ว่าจะต้องเล่นในเทศกาลใด
เป็นการเฉพาะ ต่อมานิยมรำในงานพิธีมงคล ในปัจจุบันนี้จะมีให้ชมเฉพาะในงาน
เทศกาลสำคัญของทางจังหวัดสตูลเท่านั้น
 
    คุณค่า
การรำดาระจะให้ความสุขความรื่นเริงแก่ผู้ชม
   
  นายทอง  มาลินี  (ป๊ะทอง)  เป็นวิทยากรถ่ายทอดให้นักเรียนโรงเรียนควนโดนวิทยา
อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ประวัติ         
เกิด  ๑ มกราคม ๒๔๖๓ ภูมิลำเนา ๑๘๑ หมู่ ๑ ตำบลควนโดน กิ่งอำเภอควนโดน
จังหวัดสตูล จบการศึกษาชั้นประถมการศึกษาปีที่ ๔ ประกอบอาชีพทำนา
         การ แสดงเริ่มหัดการแสดงเมื่ออายุ  ๑๓  ปี ได้หัดดาระกับโต๊ะครูเปี๊ยะ ซึ่งเป็นครูดาระคนแรกในตำบลควนโดน และหยุดเล่นดาระไปช่วงระยะหนึ่ง
เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี ในอดีตการเล่นดาระจะเห็นในพิธีมงคลสมรส และช่วงหลังจากงานเก็บเกี่ยวจากภาคเกษตรกรรม

   
นายทอง  มาลินี 
  ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ         
เป็น วิทยากรพิเศษในการเผยแพร่ศิลปะการแสดงดาระ และได้แสดงในงาน
ประเพณีสำคัญๆ   ของจังหวัดสตูล และงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล การแสดงหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อปี่ พ.ศ. ๒๕๒๗
  ปัจจุบันดาระในจังหวัดสตูล มีเพียงคณะเดียวคือที่ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน
มีนางสมศรี ชอบกิจ ครูโรงเรียนควนโดนวิทยาเป็นผู้ดูแล ดาระคณะนี้สืบทอดต่อ
มาจากนายทอง มาลินี ซึ่งเคยเล่นดาระมาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ และมีคณะดาระเป็นของตนเอง ต่อมาเมื่อชราภาพลง ผู้ร่วมคณะได้แยกย้ายกันไป บ้างก็ตายจากกันไป เหลือเพียง
นายทอง มาลินี เพียงคนเดียว
           
      เอกสารอ้างอิง
       การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ - ดาระ  http://www.prapayneethai.com/      ( เข้าถึง20 สิงหาคม 2554 )
      “ดาระ” บ้านควนโดน : ครบเครื่องเรื่องการสืบทอด โดย พลอย นิลณรงค์
       http://www.sesao.go.th/e-news/news.php?id=4181      ( เข้าถึง20 สิงหาคม 2554 )
       ประทุม  ชุ่มเพ็งพันธุ์.  2548.  ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ : ว่าด้วยภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา วัฒนธรรม        ประเพณีพื้นบ้าน.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น .  
PREVIOUS