๓.๔)  พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ  ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นใหม่ในเดือน  ๖  เป็นประจำทุกปี  ทรงพระราชดำริว่า
  ประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรมมีการทำนาเป็นหลัก  พระราชพิธีพืชมงคล
จรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้มีผลทางจิตใจเป็นการบำรุงขวัญชาวนาซึ่งยังคง
ผูกพันอยู่กับประเพณีเก่าแก่ที่เคยยึดถือ  เป็นกำลังใจในการผลิตพืชผลแต่ละปี
 และยังถือเป็นปฏิทินบอกน้ำฝนน้ำท่าแก่ชาวนาอีกด้วย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงกำหนดให้วันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็น 
“วันเกษตรกร”  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้แทนชาวนาทุกภาคได้เข้าเฝ้าฯ

  รับพระราชทานรางวัลการประกวดพันธุ์ข้าว
 และได้พระราชทาน  “พันธุ์ข้าวทรงปลูกด้วยพระหัตถ์”
 จากสวนจิตรลดาให้เป็นเมล็ดข้าวมิ่งขวัญ
แก่ชาวนาทั่วประเทศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ
 ไปทรงเป็นประธานในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล
แรกนาขวัญเป็นประจำทุกปีในระยะหลังได้โปรดเกล้าฯ
 ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ
 แทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีนี้

 
    
     
 

 

๓.๕)  พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ  ตามคติความเชื่อ
ของคนไทยช้างเผือกเป็นสัตว์สูงด้วยมงคลทั้งปวง  นำมาซึ่ง
ความอุดมสมบูรณ์  ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและ
ความผาสุกร่มเย็นแก่ประชาราษฎร์การได้ช้างเผือกมาสู่
พระนครถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของแผ่นดิน  และเป็นประเพณี
ที่ต้องนำช้างนั้นมาประกอบพระราชพิธีสมโภชรับและขึ้นระวาง เป็นพระยาช้างต้น  หรือนางพระยาช้างต้น  รัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  มีการจัดพระราช
พิธีสมโภชขึ้นระวางช้าง  ๘  ครั้งรวมช้างเผือก  ๑๐  ช้าง
  แสดงถึงพระบุญญาบารมีที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง

 
 
           
    PREVIOUS     NEXT