มหาราชนักประดิษฐ์
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย
 
    หน้าแรก          พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย      วันเทคโนโลยีของไทย       รางวัลเทิดพระเกียรติ         พระจอมปราชญ์แห่งแผ่นดิน         พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
  

ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B                    

เทคโนโลยีกับการประดิษฐ์
    คำว่า  “เทโนโลยี”  แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า  “Technology”  เป็นการทับศัพท์ สมัย
หนึ่งมีผู้พยายาม แปลว่า  “เทคนิควิทยา”  แต่ไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป คำแปลนี้จึงสูญ
หายไป ต่อมาในปี ๒๕๒๒  ได้เกิดมีกระทรวง  “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการ
พลังงาน”  ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒  คำว่าเทคโนโลยี จึงเริ่มแพร่
หลายและใช้ต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน คำบาลีที่ใกล้เคียงคือคำว่า  “วืชชา”  หรือคำ
สันสกฤตว่า  “วิทยา”  ซึ่งต่อมาใช้เป็น  “วิชา”  คนไทยโบราณนิยมชมชอบ  “คนดี
มีวิชา”  มีการศึกษาวิชาต่าง ๆ เช่น วิชาช่างสิบหมู่ วิชาแพทย์ การนวดแผนไทย การใช้
ยาจากพืชสมุนไพรในการรักษาโรค การผังเข็ม หรือปักเข็ม ซึ่งถ่ายทอดมาจากจีน
เป็นต้น คำดั้งเดิมว่า  “วิชชา”  ในพระพุทธศาสนานั้น มีตัวอย่าง เช่น  “วิชชา๓”  คือ
เทคโนโลยีทางจิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งประกอบ
ด้วย ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือรู้ระลักชาติได้ จึงรู้ว่ามนุษย์และสัตว์โลกมีการเวียน
ว่ายตายเกิด  ๒. จุตุปปาตญาณ รู้สาเหตุของการเกิดว่ามาจากอวิชชา เป็นปฐมเหตุ และ 
๓. อาสวักขยญาณ รู้วิธีและสามารถขจัดอวิชชา ซึ่งประกอบด้วย กิเลส ตัณหา อุปาทาน
ให้หมดไป จึงสามารถหลุดพ้นจากสภาวะการเวียนตายเวียนเกิด สำเร็จเป็นพระ
อรหันต์ได้ดังนี้

ถ้าจะพิจารณาจากตัวอย่างและเหตุผลต่าง ๆ แล้ว จะเห็นว่า  “เทคโนโลยี”  ก็คือ
ความรู้และความสามารถที่ช่วยให้ผู้มี (เทคโนโลยี) นั้น สามารถทำสิ่งที่ต้องการได้สำเร็จ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุ เช่น เทคโนโลยีการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรหรือยาแผนปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นการฝังเข็ม หรือผ่าตัด รักษาโรค หรือการออกกำลังแบบแอโรบิก มวยไทย หรือ
การทำล้อรถ หรือเครื่องกลเติมอากาศ ทำว่าว หรือเครื่องบิน หรือเทคโนโลยีทางสังคม เช่น
การเรียนการสอน การพูดในที่สาธารณะ การปลุกระดมมวลชน การโฆษณาประชาสัมพันธ์
การวางแผนกลยุทธ์ การตลาด การร่างรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมาย การพัฒนาโดยหลักการ
เศรษฐกิจพอเพียง หรือ เทคโนโลยีทางจิต เช่น การสะกดจิต การทำสมาธิ การกระทำให้เกิด
ญาณทั้ง ๓ ประเภท วิปัสสนากัมมัฏฐาน การใช้โทรจิต ฯลฯ เป็นอาทิ อย่างไรก็ดีพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้นิยามของ  “เทคโนโลยี”  ไว้อย่างกะทัดรัดและครอบคลุมที่สุดว่า
 “เทคโนโลยีคือการรู้จักนำ (สิ่งต่าง ๆ) มากทำให้เป็นประโยชน์” หรือ  “การทำเป็น” 
ซึ่งตรงกันข้ามกับ  “การทำไม่เป็น”  นั่นเอง และพระองค์ก็ได้ทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง
และต่อเนื่องตลอดมา

ทรงประดิษฐ์เทคโนโลยีเพื่อประชาชน
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพในด้าน
วิศวกรรม เพื่อประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมใช้แก้ปัญหาความทุกข์ยาก
เดือดร้อนของประชาชน ตั้งแต่เริ่มครองราชย์ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริมากมายสุดที่จะคณานับโครงการเหล่านี้ต้องอาศัยเทคโน
โลยีหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ อันได้แก่วิศวกรรมด้านสำ
รวจ วิศวกรรมทางเรือ วิศวกรรมไฟฟ้าและการสื่อสาร วิศวกรรมการเกษตร
วิศวกรรมการชลประทาน วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและ
แม้กระทั่งเทคโนโลยีเชิงสังคมอีกหลายสาขา ผลงานการประดิษฐ์คิดค้น
ของพระองค์ โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องจักรกลการเกษตร จะทรงเลือก
เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ ที่เกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย พัฒนาจากภูมิปัญญา
ไทย ลดการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจากแหล่งภายนอก แต่ต้องมีประสิทธิภาพ
เกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกร และช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ได้จริง ทั้งอาศัยวัสดุในประเทศมาใช้ในการประดิษฐ์ เน้นความง่ายในการ
ใช้งาน การซ่อมบำรุง และราคาต้องไม่แพง