พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส เป็นพิพิธภัณฑสถานตั้งอยู่ในบริเวณวัดมัชฌิมาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2477 - 2521  ได้ทำการบูรณะกุฎิเก่าใน พ.ศ.2482 และได้จัดตั้งห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์ของวัดมัชฌิมาวาส ที่อาคารไม้หลังศาลาฤษีดัดตน ต่อมาในปี พ.ศ.2513  ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถให้มีสภาพเหมือนเดิม  โดยมีพระราชศีลสังวร (ช่วง อตถเวที) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส  ได้เป็นแม่งานดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยตลอดและแล้วเสร็จเมื่อ 31  กรกฎาคม พ.ศ.2514  โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์  สยามมกุฏราชกุมาร  เสด็จแทนพระองค์มาทรงยกช่อฟ้า เมื่อ  วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2516
          พ.ศ.2521 - 2524  พระราชศีลสังวร  เป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส  ท่านเป็นผู้ทีเก็บรวบรวมโบราณวัตถุศิลปวัตถุในอำเมือง  อำเภอสทิงพระ  และอำเภอระโนต  ไว้เป็นจำนวนมาก  จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานมัชฌิมาวาสขึ้น เพื่อจัดแสดงโบราณศิลปวัตถุที่เก็บรวบรวมไว้ ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

( ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส http://www.thailandmuseum.com/muchimavas/history.htm )
 
         
จิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร    http://www1.mod.go.th/heritage/nation/oldcity/songkhla9.htm
จิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร  ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง มีอยู่สองแห่งคือที่พระอุโบสถและที่ศาลาฤาษี งานจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนผนังปูน เป็นงานฝีมือช่างหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และเทพชุมนุม  ถือว่าเป็นจิตรกรรมที่เด่นและสำคัญยิ่ง  องค์ประกอบของภาพมีความงดงาม และบรรจุเรื่องราวไว้สมบูรณ์มาก ทั้งได้สะท้อนภาพของสังคม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกาย การละเล่น ประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น
            ส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่ศาลาฤาษี  เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนผนังปูน เป็นภาพฤาษีดัดตน ภาพเครื่องยาไทย และโต๊ะหมู่บูชาของจีน
จารึกภาษาจีนที่เสาประตูกำแพงแก้ว พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร
ที่มา
: http://www1.mod.go.th/heritage/nation/oldcity/songkhla9.htm
จารึกภาษาจีนที่เสาประตูกำแพงแก้ว พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร  เป็นจารึกที่สลักลงบนเสาหินแกรนิตที่ทำเป็นเสาประตูกำแพงแก้ว แต่ละเสามีขนาดด้านสูง ๑๗๕ เซนติเมตร กว้าง ๒๘ เซนติเมตร หนา ๖๓ เซนติเมตร มีสี่ประตู รวมแปดเสาแต่ละเสาจารึกด้วยอักษรจีนเป็นภาษาจีนเก้าคำ รวมแปดเสาเป็นคำโคลงหนึ่งบาท แปลเป็นภาษาไทยตามประตูตั้งแต่ประตูด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงประตูด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ทวนเข็มนาฬิกาได้ดังนี้
            เจ้าพระยาผู้เป็นใหญ่แห่งตระกูลวู (ตระกูล ณ สงขลา) หมั่นบำเพ็ญพระคุณธรรมมุ่งจรรโลงสิ่งที่คู่ควรแก่ความเป็นมนุษย์ด้วยศรัทธา เพื่อเกียรติคุณปรากฏสืบไปภาคหน้า
            (เจ้าพระยา) ปฏิบัติทางที่ชอบอย่างองอาจ วางตนในทางที่ชอบ ไม่มุสาผู้อื่น  ดำริ (สิ่งใด) ไม่ต้องละอายต่อฟ้า ครองตนอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาทางอย่างเคร่งครัด
            เมืองสงขลามีเชิงเทินเกินกว่าร้อยเชิงเทิน เป็นเมืองที่แข็งแรงมั่นคงเมืองหนึ่งแห่งภูมิภาคนี้ กำเหน็จของเจ้าเมืองสูงกว่าหมื่นเจื่อง (มาตราของจีน)  เกียรติคุณกำจายทั่วทิศ
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมา ณ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ (วัด) นี้  พระบรมโพธิสมภารที่ทรงแผ่คือเมตตา  การเสด็จมาประทับ ณ เมืองสงขลา พระมหากรุณาธิคุณที่แผ่กว้างประหนึ่งน้ำฟ้าประโลมดิน

จารึกศาลาฤาษีดัดตน  อยู่ที่วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร  อำเภอเมือง ฯ เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์)  ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๐ - ๒๔๐๘  เป็นผู้สร้างขึ้น ที่ฝาผนังด้านข้างมีจิตรกรรมเขียนตำราแพทย์แผนโบราณ และภาพฤาษีดัดตน รวม ๔๐ ท่า แต่ละท่ามีจารึกเป็นคำโคลงสี่สุภาพอธิบาย คำโคลงเหล่านี้เลือกคัดลอกมาจากเรื่องโคลงภาพฤาษีดัดตน ที่จารึกไว้บนผนังศาลารายในวัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ
            ด้านในของหน้าบันของศาลาทั้งสองข้างเขียนภาพเครื่องยาไทย ตอนล่างเขียนบรรยายตัวยา สรรพคุณและวิธีใช

ศาลาฤาษี  มีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังปูนมีรองพื้น เป็นภาพฤาษีดัดตนตามตำราแพทย์แผนโบราณ มีบางตอนเหมือนกับภาพฤาษีดัดตนที่วัดโพธิ์ ฯ กรุงเทพ ฯ  แต่มีการเรียกชื่อตามภาษาท้องถิ่น ที่หน้าบันด้านในทั้งสองข้างเขียนภาพ เครื่องยาไทย และโต๊ะหมู่บูชาของจีน ตอนล่างเขียนตัวอักษรบรรยายตัวยา และสรรพคุณตลอดจนวิธีใช้ยาเหล่านั้น ที่ผนังด้านข้างมีภาพฤาษีดัดตนข้างละ ๒๐ ท่า รวม ๔๐ ท่า แต่ละท่ามีโคลงสี่สุภาพอธิบายประกอบอยู่ใต้ภาพ

 

    
จิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร งานจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนผนังปูน เป็นงานฝีมือช่างหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
PREVIOUS       NEXT