พระนิพนธ์สำคัญทางการแพทย์
๑. “โรคทูเบอร์คูโลสิส” พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราช
เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลก ประชานาถ พ.ศ. ๒๔๖๓
๒. “วิธีการปฏิบัติการสุขาภิบาล” ทรงแสดงในการอบรมแพทย์สาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๖๗
๓. “Diphyllobothrium Latum in Massachusette” A Report Two Indigenous Cases:,
 J.A.M.A. : 90 1607 - 1608, May 19, 1928

พระกรณียกิจในการปรับปรุงการสาธารณสุข
๑. ทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้องและความขัดแย้งต่าง ๆ
จนลุล่วงไปด้วยดี ทำให้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรกประกาศใช้ได้
๒. ทรงส่งเสริมการมารดาและทารกสงเคราะห์ โดยทรงวางโครงการให้ดัดแปลงวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลคลอดบุตร
เป็นศูนย์อบรมศึกษาพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และหมอตำแย เพื่อที่จะได้มีผู้ทำงานด้าน
มารดาและทารกสงเคราะห์เพิ่มขึ้น
๓. ทรงช่วยในการอบรมแพทย์สาธารณสุขมณฑลในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยทรงสอนวิชาปฏิบัติการสุขาภิบาลทั้งภาคทฤษฎ
ีและการอบรมภาคสนาม

ห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อ ห้องทรงงานของสมเด็จพระบรมราชชนก ในตึกเสาวภาคย์  ร.พ.ศิริราช

โรงเรียนพยาบาล เดิมคืออาคารราชแพทยาลัย

พระกรณียกิจอื่น ๆ เกี่ยวกับวิชาแพทย์ และวิชาที่เกี่ยวเนื่องกัน
- ทรงสนับสนุน ม.จ.พูนศรีเกษม เกษมศรี ในการรับนิสิตแพทย์หญิง
- ทรงมีพระดำริจะสร้างโรงเรียนสาธารณสุขในโอกาสต่อไป
- ทรงให้ทุนการศึกษาทันตแพทย์ ๑ ทุน ท่านผู้นี้ภายหลังเป็นบุคคลสำคัญ
ในการสร้างคณะทันตแพทย์ศาสตร์และมีรับสั่งกับนายแพทย์วาด แย้มประยูร
 ซึ่งสำเร็จทั้งแพทย์และทันตแพทย์ว่าจะประทานทุนในการตั้งโรงเรียนทันตแพทย

พระกรณียกิจต่อการศึกษาวิชาอื่น ๆ
๑. การประมง ประทานเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ให้กรมประมงส่งคนไปเรียนวิชาการประมง
จำนวน ๓ คน กรมประมงมีความสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง Dr. H. M. Smith ซึ่งเป็น
ที่ปรึกษากรมประมงสำรวจพบปลาบู่พันธุ์ใหม่ ที่จับได้ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งตั้งชื่อว่า
 Mahidolia Normani เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕
๒. กรมสามัญศึกษา ประทานทุนให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จ้างครูชาวต่างประเทศ ๑ คน


พระราชพระราชกรณียกิจที่เด่นๆกรณียกิจที่เด่นๆ พอจำแนกเป็นข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
๑. ทรงส่งบุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศด้วยทุนส่วนพระองค์ พระราชทานทุนการศึกษา ให้มหาวิทยาลัย
เพื่อเก็บดอกผลส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เรียกว่า"ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์"
๒. พระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า และการสอนในโรงพยาบาลศิราราชซึ่งนับว่าเป็นทุนแรกของทุนประเภทนี้
ในประเทศไทย
๓. ทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ช่วยเหลือปรับปรุงการศึกษาแพทย์และพยาบาล
ให้ได้มาตรฐานสากล
๔. พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราชอันรวมทั้งที่ดินและอาคารเพื่อใช้เป็น
สถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาลติดต่อกันเป็นระยะเวลา ไม่ต่ำกว่า ๑o ปี ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระราชทานเพื่อประโยชน์ของการแพทย์ด้วยประการตาง ๆ รวมทั้งที่มอบไว้เป็นมาดกอีกจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่างประเทศทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินประมาณ
หนึ่งล้านสี่แสนบาท

 


พระกรณียกิจในการปรับปรุงโรงพยาบาลอื่น ๆ
          ๑. ทรงเป็นประธานอำนวยการวชิรพยาบาล  ได้ทรงวางโครงการ   ๔  โครงการ  ในการปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้  รวมทั้งทรงเขียนแปลนการก่อสร้างเพิ่มเติมให้เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๗๒  และประทานทุนให้แพทย์ไปเรียนวิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา  เพื่อกลับมาประจำโรงพยาบาลนี้ด้วย
          ๒.  ประทานทุน  ๑๖,000.00  บาท  ให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค  เพื่อจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ  ๑  คน  และประทานเงินอีก  ๖,๗๕๐.๐๐  บาท  เพื่อเป็นทุนซื้อเครื่องเอกซ์เรย์ประจำโรงพยาบาล
          ๓.  ประทานเงินปีละ  ๕,๐๐๐.๐๐  บาท  ให้โรงพยาบาลสงขลา  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๔๖๘  จนทิวงคต

 
<<< Previous >>> Next