พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย               

 

 

       พระอนุศาส์นของสมเด็จพระบรมราชชนก

   "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน      เป็นที่สอง
    ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์        เป็นกิจที่หนึ่ง
   ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ        จะตกแก่ท่านเอง
   ถ้าท่านทรงธรรมมะแห่งอาชีพ    ไว้ให้บริสุทธิ์"

 

 

 

 

 

  พระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า" ฉันจะไปเรียนหมอหละ
เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล
ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ
ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน" ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข
และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


  หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้าน
  การแพทย์และการสาธารณสุขไว้อย่างมากมาย อาทิ

  • 1. เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์
  • 2. ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช
  • 3. ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จัดสร้างตึกคนไข้และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาล
    ได้อยู่อาศัย
  • 4. ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อ
     ณ ต่างประเทศ
  • 5. ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล
  • 6. เป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกี้เฟลเอเล่อร์ สาขาเอเซียบูรพในการปรับปรุงการศึกษา
    และวางมาตราฐานจนสามารถรับรองกิจการแพทย์ของประเทศได้
  • 7. ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง

        องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริม
และเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของประเทศ สมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล
เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่มวลสมาชิก
ทั่วโลก รวมถึงให้ประเทศสมาชิก ได้มีส่วนร่วมเฉลิมฉลองร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ
       รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติ  ได้ยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก เพื่อให้ยูเนสโกประกาศเชิดชูเกียรติ บรรพบุรุษไทย
ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม

 

เอกสารอ้างอิง
กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า. 2539. เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์ : พระ
ราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อทรงพระ

เยาว์ 2468 - 2489.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์.
100 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 1 มกราคม 2535 : The Centennial of His Royal
Highness Prince Mahidol of Songkhla 1 January 1992
.2534. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ.
100 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก : หนังสือที่ระลึกงานฉลอง 100 ปี แห่งวันคล้ายวัน
พระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, 1 มกราคม 2535
. 2534. กรุงเทพฯ : อมรินทร์
พริ้นติ้งกรุ๊พ.

วันมหิดล. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%
AB%E0%B8%B4%E0% B8%94%E0%B8%A5
( เข้าถึง 20 สิงหาคม 2552 )

 

 

 

 
Previous