มโหรีเป็นลักษณะการประกอบวงดนตรี
ประเภทหนึ่งของชาวไทยสยาม ปรากฏตาม
หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี
และวรรณกรรม อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา มีการเคลื่อนไหว
พัฒนาทางรูปแบบและวิธีการบรรเลง
มาจนกระทั่งปัจจุบัน

 
หน้าแรก
     ประเภท
         ขนาด
เครื่องดนตรี
 
 
 
 

ที่มา : รังสิต จงฌานสิทโธ.2558,20

 

๓. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก

 

 

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 
 
ที่มา : วงมโหรี http://thailandclassicalmusic.com/thaimusic/6mhore.htm#mhore3
 

* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง) 
เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่งในรูป ให้ ซอด้วงเป็นต่ำแหน่งหลัก*

  ๔ วงมโหรีเครื่องคู่ 
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วงปี่พาทย์
ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีก็เพิ่มระนาดทุ้มกับ
ฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้น
เดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้นอีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย 
ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลิบ (คันเล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน 
เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่อง
คู่
 
 
ที่มา : วงมโหรี http://thailandclassicalmusic.com/thaimusic/6mhore.htm#mhore3
 

วงมโหรีเครื่องใหญ่

  ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับระนาดเอก
เหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึงเลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง 
ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูกระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก 
เรียกว่าระนาดทองรวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้
บรรดาเครื่องดนตรีต่างๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาด
เอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง)ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) 
ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลงให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรี
มีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะแก่กำลัง อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตี
เหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลย์กับเครื่องดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะดังมากกว่าพวก
เครื่องดีดและเครื่
องสี
 
 
 
ที่มา : วงมโหรี http://thailandclassicalmusic.com/thaimusic/6mhore.htm#mhore3
Next