|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๖๐ x ๗๕ เซนติเมตร (มีพระปรมาภิไธยย่อและข้อความ ภอ ๔-๒๕๐๓) |
|
|
ภาพเหมือนผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ภาพหุ่นนิ่ง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหล่านี้มีความงาม
กลมกลืนด้วยแสงเงาที่นุ่มนวลให้บรรยากาศลึกซึ้ง แต่บางภาพทรงใช้ฝีแปรงอย่างกล้าหาญแม่นยำ
เช่น ภาพหญิงชรา ทรงวาดเมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นต้น
ภาพที่สร้างสรรค์ตามคตินิยมแบบเอ็กซ์เพรสชั่นนีสม์ (Expressionism) เป็นลักษณะ
จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่ทรงวาดในช่วงพุทธศักราช ๒๕๐๔ – ๒๕๐๙ ทรงสะท้อนพระอารมณ์จาก
ส่วนลึกของพระราชหฤทัย ด้วยสีสันที่สดใสและรุนแรง
ภาพนามธรรม (Abstractionism) เป็นจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่ทรงสร้างขึ้นในช่วงหลัง
ทรงวาดภาพผสมผสานระหว่างข้อมูลที่ทรงเห็นจากธรรมชาติกับพระราชดำริส่วนพระองค์
มีลักษณะเป็นรูปทรงของสิ่งที่ทรงเห็น ทรงตัดทอนและเพิ่มเติมตามพระราชดำริ
จนเกิดเป็นรูปทรงใหม่ แต่สามารถสื่อถึงที่มาของเรื่องราวได้
|
|
|
ไม่ปรากฏชื่อ ภาพสีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๒๐ x ๒๖ เซนติเมตร
|
|
|
|
|
|
ไม่ปรากฏชื่อ สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๒๙.๓ x ๔๐ เซนติเมตร |
|
|
ภาพประกอบ ที่มา : เทิดไท้องค์อัครศิลปิน : จิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/12/05/entry-1 |
|
|
โดยทรงพัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์ จากงานจิตรกรรมตามคตินิยมเอ็กเพรสชั่นนิสม์
(Expreesionism) แสดงถึงพระอารมณ์ที่เป็นอิสระปราศจากรูปทรงและเรื่องราว แต่แฝงความจริง
สะท้อนผ่านฝีแปรงที่มีความเคลื่อนไหวฉับพลันมากขึ้น ผสานกับสีสันที่ลงตัวด้วยเทคนิคการวาด
สีน้ำมันทับซ้อนหนาเป็นก้อน อาทิ ภาพดิน น้ำ ลม ไฟ ทรงวาดเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘
หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ประทานข้อสังเกตเกี่ยวกับจิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มวาดภาพเหมือนซึ่งเหมือนจริงและ
ละเอียดมาก แต่ต่อมาได้ทรงวิวัฒน์เข้ากับภาพของจิตรกรรมสมัยใหม่ และทรงค้นคว้า
หาทางใหม่แปลก ๆ ที่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกของพระองค์ โดยไม่ต้องกังวลกับความ
เหมือน อันจะมีอิทธิพลบีบบังคับไม่ให้ปล่อยความรู้สึกออกมาได้อย่างอิสระ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|