งู  หรือนาค  ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม  ถูกใช้หรือถูกอธิบายอยู่ในมิติที่หลากหลาย
 ทั้งสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่เลวเฉกเช่นงูถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการรักษาพยาบาลก็ได้เพราะว่ามันมีพลังชีวิต ดั่งเช่นทางการแพทย์เอางูมาเป็นสัญลักษณ์จนกระทั่งทุกวันนี้แต่ในขณะเดียวกันงูก็กัดคนตาย
งูทำลายสัตว์อื่น ๆ  ที่เป็นเหยื่อเป็นอาหารของมันฉะนั้นงูจึงเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายด้วย
จะเห็นว่าใช้งูเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายก็ได้ใช้งูเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาก็ได้  ในอีกด้านหนึ่ง
ของคติที่เกี่ยวกับงูหรือนาค  ที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นเมืองของประเทศต่าง ๆ  ในแถบนี้ 
ดั่งที่ได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น  แสดงให้เห็นว่างูหรือนาคเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตด้วย  ฉะนั้นการแต่งงานกับงูหรือการได้รับการยินยอมจากงู
คือการได้รับสิทธิในอำนาจทางโลกในอำนาจการมีพลังชีวิตหรือพลังพลังความสมบูรณ์
ของราชอาณาจักรไปพร้อมกัน ทั้งหมดเป็นสัญลักษณ์เพื่อจะทำความเข้าใจว่าคน ๆ นั้น
จะได้รับอำนาจพิเศษบางอย่างจากสิ่งลี้ลับทั้งหลายเหล่านั้น  (นิธิ  เอียวศรีวงศ์,  ๒๕๔๙ : ๕๔-๕๕)

 

แม้ในวิถีสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะวิถีสังคมใหม่ทัศนคติต่อความเชื่อที่มีต่อำนาจเหนือธรรมชาติ
ที่มักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่งมงาย  ไม่มีเหตุผลหรือขาดคำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ 
บ้างก็มองเป็นเรื่องของคน  ที่ไม่มีความรู้ขาดการศึกษาตามคอกความคิดที่ว่าคนมีการศึกษา
ต้องไม่เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นหรือขาดคำอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์  แต่ทั้งนี้  สังคมไทยยังมี
วลีอมตะไว้คอยแก้ต่างในลักษณะแบ่งรับแบ่งสู้ให้ดูดีแบบกล้า ๆ กลัว ๆ  ที่ว่า  ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
 และสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นจากปรากฏการณ์  นาคาคติ  โดยเฉพาะในบริบทของสุวรรณภูมิ
 คือเราเห็นพลังต่อรองของวัฒนธรรมเดิม  (นาคาคติ)  กับอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามา
พร้อมกับศาสนาและการค้าขายส่งผลให้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเดิมต้องมีการยอมรับปรับแต่ง
 กับเงื่อนไขตัวแปรใหม่ของบริบทที่เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่า  อย่างมีรากของวัฒนธรรมเดิม
อันเป็นสังคมแบบ  มาตาธิปไตย  ที่นับถือผี  โดยให้เกียรติผู้หญิงหรือเพศแม่ขณะเดียวกัน
เมื่อปรับเปลี่ยนมาสู่สังคมแบบ  ปิตาธิปไตย  ผ่านศาสนาจากอินเดียและจีนที่ยกย่องผู้ชาย
แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีลักษณะในเชิงสัญลักษณ์โดยที่ผู้หญิงยังคงมีบทบาทอย่างหลวม ๆ
  โดยเฉพาะในโครงสร้างของสถาบันครอบครัว
                ในเชิงสัญลักษณ์ไม่ว่านาคจะมีตัวตนจริงหรือไม่บนโลกใบนี้ซึ่งอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
  แต่อย่างน้อยที่สุด  ก็เป็นสิ่ง ๆ  หนึ่งที่ทำให้คนได้มีที่ยึดเหนี่ยวและต้องรู้สึกกลัวหรือยำเกรงต่อสิ่ง
ที่มองไม่เห็นหรืออำนาจเหนือธรรมชาติที่มีคุณค่าในด้านจิตวิญญาณต่อโครงสร้างทางความเชื่อ
ของสังคมที่จะกำกับให้มนุษย์ได้สำนึกและยำเกรงต่อธรรมชาติแวดล้อม  และมีศีลธรรมเพื่อ
การอยู่ร่วมกันอย่างศานติสุ

เอกสารอ้างอิง
ติ๊ก แสนบุญ. 2550. นาคาคติ  แห่งสุวรรณภูมิ : ผู้คน  ความหวัง  ความเชื่อ.วัฒนธรรมไทย. 49(3) : 29-35.

PREVIOUS