พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ที่นี่เดิมทีเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ชาวจีนฮกเกี้ยนบรรพบุรุษชาวรุ่นแรก
ที่อพยพมาอยู่ภูเก็ตได้ร่วมกันก่อตั้ง ขึ้น ตัวอาคารแบบชิโนโปรตุกีสที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 บนหน้าจั่วมีปูนปั้นรูป
ค้างคาว ซึ่งตามความเชื่อของชาวจีนถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของโชคดีอันยิ่งใหญ่ เข้าไปดูข้างในเป็นห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของชาวจีน
ที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ภูเก็ต เรื่องราวของบุคคลผู้มีส่วนในการบุกเบิกภูเก็ต เรื่องของชุดแต่งกายประจำถิ่น อาหารพื้นเมือง เทศกาลงานประเพณี สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส และภาพถ่ายเก่าแก่ที่แสดงความเป็นมาของภูเก็ตตั้งแต่ยุคเหมืองแร่ การทำสวนยางพารา จนมาถึง
การท่องเที่ยว ในปัจจุบันหากอยากรู้จัก อยากเข้าใจภูเก็ต ขอให้เข้ามาชมที่นี่ก่อน แล้วจะรู้ว่าภูเก็ตไม่ได้เติบโตขึ้นมาจากหาดทรายหรือสายลม
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวยังไม่เก็บค่าเข้าชมนัยว่าจะรอให้ห้องจัดแสดงในชั้นที่สองเรียบร้อยเสียก่อนทุกวันนี้ใครไปชมก็ช่วยกัน
บริจาคหยอดสตางค์ใส่กล่องด้านหน้าอาคารบ้างก็ดี จากตัวเมืองต่อไปที่อำเภอกะทู้ แนะนำให้ไปดูพิพิธภัณฑ์ใหม่ของเมืองภูเก็ต นั่นคือ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ โครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เทศบาลตำบลกะทู้ เป็นคนริเริ่ม ทางไปพิพิธภัณฑ์นั้นหายากพอสมควรหากไม่ได้เป็นคนพื้นที่ คงต้องถามทางชาวบ้านเขาพอสมควร รูปทรงอาคารภายนอกของพิพิธภัณฑ์ ออกแบบเป็นอาคารสไตล์ชิโน-โปรตุกีส มีลานกว้างอยู่ตรงกลาง ที่เรียกว่า "จิ่มแจ้" ตกแต่งลายปูนปั้น ซุ้มโค้งเเบน สะท้อนความงามผสมผสานระหว่างจีนกับตะวันตก ชาวภูเก็ต เรียกอาคารแบบนี้ว่า "อั้งม้อหลาวนายหัวเหมือง" ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งทำกันมากว่า 500 ปี จึงทำให้ชาวยุโรปทั้งโปรตุเกส
ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ กับชาวจีนฮกเกี้ยน ทั้งที่ผ่านมาจากสิงคโปร์และปีนังหรือมาจากมณฑลฮกเกี้ยนโดยตรงต่างหลั่งไหลเข้ามา
ทำเหมือง แสวงโชคกับทรัพย์ในดินและตั้งหลักแหล่งในเกาะแห่งนี้ จนทำให้เกิดวัฒนธรรมผสมผสานไทย ยุโรปและจีน กลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ไม่เหมือนที่ไหนในเมืองไทย แม้แต่ในภาคใต้ด้วยกันเอง
PREVIOUS NEXT
|