สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส |
||
สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสแบ่งเป็นสองประเภทคือ ตึกแถวหรือ “เตี้ยมฉู่” และคฤหาสน์หรือ “อั่งม้อหลาว” อั่งหม้อลาวเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน “อั่งม้อ” แปลว่า ฝรั่งหรือชาวต่างชาติ ส่วนคำว่า “หลาว” แปลว่า ตึกคอนกรีต อั่งม้อหลาว ก็คือ คฤหาสนืแบบฝรั่งที่นายหัวเหมืองแร่ ของภูเก็ตสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น โดยบ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นตามแบบชิโนโปรตุกีส โดยช่างชาวจีนจากปีนังก้คือบ้านชินประชาของ พระพิทักษ์ ์ชินประชา นายเหมืองต้นตระกูลตัณฑวนิชตั้งอยู่ถนนกระบี่ ถือว่าเป็นต้นแบบของบ้านคหบดีจีนที่กระจายอยู่ทั่วทั้งเมืองภูเก็ตตึกแถวเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะลึกและแคบ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วน ด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ภายในอาคารมักมีฉิ่มแจ้ หรือบ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อ และเจาะช่องให้อากาศ ถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคารตึกแถวในภูเก็ตจึงเย็นสบาย ส่วนที่ชั้นสองเป็นห้องนอนหน้าตึกแถวมีทางเดินเท้า ทำเป็นว่องซุ้มโค้งเชื่อมต่อกันไป ตลอดทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade) โดยมีชั้นบนยื่นล้ำออกมาเป็น หลังคากันแดดกันฝนซึ่งตกเกือบตลอดปี นับเป็นสถาปัตยกรรมที่ สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการเจาะช่องหน้าต่าง
|
||