วัตถุประสงค์
    1.เพื่อปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของหลักการทางศาสนาอิสลาม
    2.เพื่อให้ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะได้ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย
 มียศฐาบรรดาศักดิ์ ชายหรือหญิง จะต้องฝึกหัดอบรมจิตใจ ตัดจากบรรดากิเลสและตัณหา
 ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
    3.เพื่อฝึกหัดให้มีความอดทน มีเมตตากรุณากับบุคคลทั่วไป
 
ต้องการให้สำนึกและรู้รสแห่งความยากลำบาก
 หิวโหย อันจะทำให้จิตใจแต่ละคนเชื่อถือ และเปรียนเทียบความเป็นอยู่ระหว่างตนกับความยากจน
 ซึ่งจะทำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความเมตตา (ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ. 2524, 72)

ที่มา : บรรจง บินกาซัน. 2542. หน้าปก

    ความมุ่งหมายของการถือศีลอด
    การถือศีลอดเป็นการฝึกฝนทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจของมุสลิมให้มีความหนักแน่น อดทน  ให้ทุกคนได้รู้รสชาติของความหิวโหยว่าเป็นเช่นไร เพื่อจะได้เห็นอกเห็นใจคนจน และจะได้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไป โดยเฉพาะอย่างนิ่งในหลักซะกาต (การบริจาครายได้ให้แก่คนจน)
 โดยทั่วไป ผู้ที่ได้ลิ้มรสความหิวโหย คือคนยากจน แต่หลักการถือศีลอดในระบอบอิสลามนี้  ทุกคนไม่ว่าจะเป็นราชาหรือมหาเศรษฐีจะได้ลิ้มรสความหิวโหยเหมือนกันทั้งสิ้น
    นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกฝนการควบคุมอารมณ์ต่างๆ ให้พ้นจากอำนาจฝ่ายต่ำ เพื่อทำจิตใจ
 ให้บริสุทธิ์ ฉะนั้นการถือศีลอด จึงเป็นอีกหลักการหนึ่งที่สร้างความเสมอภาค ภราดรภาพแก่มนุษยชาติ
 และหลักการนี้ยังเป็นการทดสอบความศรัทธาของมุสลิมในเอกภาพของพระเจ้า ทดสอบและฝึกฝน
 ความสื่อสัตย์ เพราะหากเราจะตื่นขึ้นรับประทานอาหารก่อนพระอาทิตย์ขึ้นก่อนคนอื่นๆ
 ตามปกติ แต่พอกลับบ้านแล้วทำเป็นหน้าแห้ง และรอละศีลอดพร้อมคนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เราอาจทำได้  หลอกมนุษย์ด้วยกันได้ แต่นั่นคือการแสดงความไม่ซื่อสัตย์ และเป็นคนหลอกตัวเองและพระเจ้า  แต่พอออกจากบ้านลับตาคนที่รู้จักเราอาจจะจงใจดื่มน้ำ 2-3 แก้ว หรือรับประทานอาหารอย่างเต็มอิ่ม ซึ่งแท้ที่จริงนั้นพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ ทรงเห็นการกระทำทุกอย่าง ทั้งทางกายกรรม วจีกรรม และมโนธรรม  และพระองค์ทรงเป็นผู้ตอบแทนในทุกการงาน และทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเสมอ
 (เสาวนีย์ รุจิระอัมพร-จิตต์หมวด. 2522, 111-112)