บุคคลที่ต้องถือศีลอด
      บุคคลที่จำเป็นต้องถือศีลอด ก็เช่นเดียวกับผู้ที่ต้องละหมาด คือ บังคับสำหรับ
ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วทุกคน และบุคคลนั้นจะต้องปราศจากสิ่งสกปรกเช่นเดียวกัน
แต่การถือศีลอดมีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภท คือ
บุคคลที่ได้รับการผ่อนผัน

    • คนชรา
    • คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หายหรือสุขภาพไม่ปกติ หากถือศีลอดแล้วจะเป็นอันตราย
      ร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรังเช่น ฮ่องกงฟูต ไซนัส หรือสุขภาพไม่ดีเพราะหูไม่ได้ยิน ตามัว จะยกมาเป็นข้ออ้างไม่ถือศีลอดย่อมไม่ได้
    • หญิงมีครรภ์ และแม่ลูกออ่นที่ให้นมแก่ทารกหรือแม่นม เพราะหญิงเหล่านี่อยู่ในภาวะ
      ที่ต้องการอาหารมาก
    • บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหาม กรรมกรในเหมืองแร่ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ และศรัทธาของเขาเองว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเองและลวงพระเจ้า
    • บุคคลที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ซึ่งเป็นการลำบากในการที่จะถือศีลอด เพราะ
      การเดินทางในสมัยก่อนลำบากมาก
    • หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด

      บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้หยุดหรือละเว้นการถือศีลอดด้วยความจำเป็นต่างๆนี้ พระผู้เป็นเจ้า ได้ทรงวางแนวทางปฏิบัติไว้ให้คือบุคคลเหล่านี้เมื่อพ้นจากภาวะความจำเป็นต่างๆ ดังกล่าว
      เช่น เมื่อหมดรอบเดือน เมื่อสิ้นสุดการเดินทาง หายจากการเจ็บป่วย เป็นต้น
      ให้ถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดในช่วงระยะเวลา11 เดือน ก่อนที่เดือนรอมฎอนปีใหม่
      จะมาถึง ยกเว้นผู้ที่จะถือศีลได้โดยลำบากเช่น คนชราคนทำงานหนักตลอดทั้งปี แม่นม เป็นต้น ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 1 คนในวันที่ขาด โดยอาหารนั้นต้องเหมือนกับที่คนรับประทาน
      (เสาวนีย์ รุจิระอัมพร-จิตต์หมวด. 2522, 111-112)

 
ที่มา : บรรจง บินกาซัน. 2542,ภาพปก
PREVIOUS