รองเง็งเป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิมในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเมืองต่างๆของมาเลเซียตอนเหนือ ล้วนเป็นที่นิยมทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย (ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. 2548, 248) ซึ่งเป็นการเต้นรำที่มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง
            กล่าวกันว่า การเต้นรองเง็งสมัยโบราณเป็นที่นิยมในบ้านขุนนางหรือหรือเจ้าเมืองในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ที่บ้านพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่ง สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2439-2448) มีการฝึกรองเง็งโดยหญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่างๆเป็นประจำ
            เนื่องจากวัฒนธรรมชาวมุสลิมไม่นิยมให้สตรีเข้าสังคมกับบุรุษเพศโดยประเจิดประเจ้อ ฉะนั้นนอกจากผู้หญิงบริวารของเจ้าเมืองแล้ว ผู้หญิงอื่นๆที่เป็นผู้ดีจึงไม่มีโอกาสฝึกรองเง็ง  เพียงแต่นั่งดูเขาเต้นกัน รองเง็งระยะแรกๆจึงเป็นที่นิยมกันเพียงวงแคบ (ชวน เพชรแก้ว. 2523, 140-137)

ที่มา : เพลงพื้นบ้านทางใต้ (รองเง็ง).baannapleangthai.com/03/03-03.htm

  ประวัติความเป็นมา
   
... Home ...