ประวัติความเป็นมา (ต่อ)
ที่มา : เพลงพื้นบ้านทางใต้ (รองเง็ง).baannapleangthai.com/03/03-03.htm

             การเต้นรองเง็งนี้ มีเล่นกันในชวา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวาในปี พ.ศ.2439 เมื่อเสด็จถึงตำบลจิสรูบัง เมืองการุต ก็ได้ทอดพระเนตรการเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า “รองเกง” ดังในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” ตอนหนึ่งว่า ดูเข้าเล่น “รองเกง” กันเป็นหมู่แรก 2 วง ทีหลังแยกออกเป็น 3 วง มีผู้หญิงวงละ 3 คน มีพิณพาทย์สำรับหนึ่ง คือ รนาทราง 1 ซอคัน 1 ฆ้องราง 1 ฆ้องใหญ่ 1 ใบบ้าง 2 กลองรูปร่างเหมือนชนะแต่อ่อนกว่าสักหน่อยหนึ่ง มีสองน่าเล็กๆอัน 1 ผู้หญิงร้องรับพิณพาทย์ ผู้ชายเข้ารำเป็นคู่ แต่ผลัดเปลี่ยนกัน ดูท่าทางเป็นหนีไล่กันอย่างไรอยู่ ผู้หญิงไม่ใคร่จะรำ เป็นแต่ร้องมากกว่า

แต่ผู้ชายรำคล้ายๆท่าค้างคาวกินผักบุ้งที่ตลก รำมีตะเกียงปักอยู่กลางดวงหนึ่ง พอรำกองผู้ชายตรงเข้าจูบผู้หญิง ผู้หญิงก็นิ่งเฉยๆ ไม่เห็นบิดเบือนปัดป้องอันใด เห็นทำมันหยาบอย่างไรอยู่ นึกว่าวงนั้นจะถูกคนไม่ดี ย้ายไปดูวงอื่นก็เป็นเช่นนั้นอีก
            ลักษณะการแสดงที่พระพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกว่า “รองเกง” นั่นก็คือ รองเง็งนั่นเอง ซึ่งตรงกับที่ขุนศิลปกรรมเรียก Ranggeng และอธิบายว่า (รองเคง) การเต้นรำคู่พร้อมกับร้องเพลงประสานรองเคงเรื่อง Ranggeng คล้าย SQUAREDENCE ของฝรั่ง (สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูล.  2527, 44)
 
 
.... Home ....