ลักษณะการเต้นรองเง็งซึ่งดูคล้ายศิลปวัฒนธรรมตะวันตกนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกส หรือชาวสเปน ได้นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศชวา มลายูก่อน โดยเฉพาะเมื่อถึงวันรื่นเริงปีใหม่ พวกฝรั่งนิยมเต้นกันสนุกสนาน ชาวพื้นเมืองบังเกิดความสนใจและได้ฝึกซ้อม จนกระทั่งเกิดศิลปะรองเง็งหรือรองเกงขึ้น
            สำหรับรองเง็งในประเทศไทยนั้นนิยมเต้นกันในบ้านขุนนางมุสลิมไทย ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยการแสดงมะโย่ง หรือมโนราห์ไทยมุสลิม โดยมะโย่งแสดงเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ 10-15 นาทีระหว่างจะสลับฉากด้วยรองเง็ง เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็ง ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง เพื่อให้เกิดความสนุกสานยิ่งขึ้น จึงเชิญฝ่ายชายเข้าร่วมวงด้วย ในที่สุดรองเง็งจึงเป็นการเต้นรำที่ถูกอกถูกใจชาวบ้าน ภายหลังจึงมีการจัดตั้งคณะรองเง็งรับจ้างเล่นในงานต่างๆทำนองรำวง ซึ่งแพร่หลายในปัจจุบัน

ที่มา : OK Nation www.oknation.net/blog/siwach/2007/05

            ความจริงการเต้นรองเง็งของไทยมุสลิม เป็นการเต้นที่สุภาพ คือไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกัน ผู้ชายสมัครเต้นมีสิทธิ์โค้งผู้หญิงหรือพาร์ทเนอร์ได้ทุกคน การเต้นแต่ละเพลงมีลีลาไม่เหมือนกัน เพลงหนึ่งก็เต้นไปอย่างหนึ่ง ฉะนั้นผู้เต้นรองเง็งต้องฟังเพลงได้ด้วย ว่าเพลงนั้นจังหวะเต้นอย่างไร ฝ่ายชาวบ้านบางคนแม้จะไม่สันทัดก็สามารถออกไปเต้นได้ เพราะไม่ต้องพาคู่ไปเต้นแบบลีลาศ ต่างคนต่างเต้นไปตามจังหวะ ไม่ต้องกลัวเหยียบเท้ากัน

ประวัติความเป็นมา (ต่อ)

 

 

 

 

 

 

 

.... Home ....