อาชีพของชาวใต้ : มรดกทางวัฒนธรรม  ท่ามกลางความหลากหลายของเชื้อชาติ

   
  
 ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,189,190
         ธรรมชาติของมนุษย์นั้นอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  จากเดิมที่อาศัยเพียงให้พอแก่การประทังชีวิตและสร้างความสะดวกสบายในการดำรงชีพ  ชาวใต้ก็เฉกเช่นเดียวกัน แต่ความที่ชาวใต้เป็นถิ่นที่อยู่ของหลากหลายวัฒนธรรม  ความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณี  การนำมาซึ่งวิถีการใช้สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิตจึงมีหลากหลายไปด้วย  แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชาวใต้นำมาใช้ในการดังกล่าวก็ได้แตกต่างจากคนในภูมิภาคอื่น ๆ  กล่าวคือ  ยังใช้สิ่งที่พบเห็นรอบตัวมาเป็นเครื่องมือและปัจจัยใช้สอย เมื่อสังคมมีการพัฒนาจากการจัดทำเพื่อใช้เองก็เกิดเป็นอาชีพ  เป็นอาชีพที่มีที่มาจากลักษณะของชาวใต้โดยเฉพาะ  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพที่เกิดจากการใช้พืชที่มีอยู่มากมายในภาคใต้ 
อันได้แก่  ต้นตาล  ต้นมะพร้าว  ต้นยางพารา  ต้นกก  ต้นลำเจียก  ต้นกระจูด  พืชประเภทเถาอื่น ๆ  และไผ่อันเป็นที่มาของเครื่องจักสานและหัตกรรมต่าง ๆหรืออาจได้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เกี่ยวเนื่องจากสัตว์  ไม่ว่าจะเป็นรังนกนางแอ่นที่มีพัฒนาการการเก็บที่โดดเด่นอย่างมาก  หรือการรังสรรค์กรงนกที่วิจิตรบรรจงมีคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะและความงาม  ตลอดจนสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและอารมณ์สุนทรีที่เต็มเปี่ยมด้วยความตั้งใจของชาวใต้

 

 ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,185

กรงนก : อุตสาหะ และความงดงาม
             คนใต้ชอบเลี้ยงนกเหมือนกับคนไทยในภาคอื่น  นกที่คนใต้ชอบเลี้ยงกันมากได้แก่  นกเขาชวา  ชาวบ้านนิยมเรียกว่า  นกเขาเล็ก  และนกปรอดหัวจุก  ชาวบ้านนิยมเรียกว่า  นกกรงหัจุก  ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้ดูเล่น  ฟังเสียงร้อง  และนำไปประกวดแข่งขันซึ่งมีแทบทุกเสาร์-อาทิตย์และในงานเทศกาลต่าง ๆ  เมื่อมีการนิยมเลี้ยงนกสิ่งที่ตามมาก็คือ  อาชีพการทำกรงนก  ซึ่งสร้างรายได้ที่มั่งคงให้กับครอบครัว
             กรงนกที่ทำออกมามีหลายแบบ  ทั้งแบบทั่วไป  แบบสั่งทำตามปกติ  และแบบสั่งทำพิเศษ  ซึ่งกรงนกที่สั่งทำนั้นจะมีความละเอียด  ประณีตและสวยงามเป็นพิเศษทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำด้วย
             กรงนกเขาชวาและกรงนกกรงหัวจุก  มีลักษณะแตกต่างกัน  โดยกรงนกเขาชวานิยมทรงรูปกลมมน  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  14  นิ้ว  สูงประมาณ  16-18  นิ้ว  มีลักษณะเรียบ ๆ  และได้มีการพัฒนา  โดยแกะดอกเป็นรูปต่าง ๆ  ที่ซี่กรง  เรียกว่า  “กรงมีดอก”  ล่าสุดมีการพัฒนาถึงขั้นทำด้วยไม้สาวดำไม้มะม่วงป่า  และไม้ชิงชัน  ทั้งตัวกรงและซี่กรง  พร้อมทั้งแกะสลักที่ฐานกรง
             สำหรับช่างทำกรงฝีมือดีเท่าที่ทราบและรวบรวมได้หากเป็นกรงนกเขาชวาจังหวัดปัตตานีได้แก่  ดูแวนิ่ง  (เสียชีวิต),  กูอาแซ  (เสียชีวิต),  โกยี่,  สาและ,  สุไลมาน,  จังหวัดยะลา  ได้แก่  เซ๊ะสเต็ง  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  ได้แก่  เล็ก  (เสียชีวิต),  และมะนัง

 ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,186
<<< PREVIOUS      NEXT >>>