ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,182
สำหรับกรงนกกรงหัวจุกที่นิยมทรงสี่เหลี่ยมคางหมู  สูงประมาณ  30  นิ้ว   ด้านล่างกว้างประมาณ  14  นิ้ว  นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแบบเช่น  แบบปัตตานี  แบบนราธิวาส  แบบนครศรีธรรมราช  แบบสิงคโปร์  ทรงกลมแบบถังเบียร์  แบบสุ่มไก่  แบบหกเหลี่ยม  แบบสี่เหลี่ยมและแบบโดมมัสยิด  ไม้ที่นำมาทำเป็นกรง ได้แก่  ไม้สาวดำ  ไม้มะม่วงป่า  ไม้ประดู่  ไม้ชิงชัน  ไม้มะเกลือ  ไม้หลุมพลอ  ไม้ตะเคียน  ไม้สัก  ส่วนไม้ที่นำมาทำซี่ลูกกรง  ได้แก่  ไม้ไผ่สีสุก  ไม้ไผ่ลำละลอก  ไม้ไผ่ตงและไม้ไผ่อื่น ๆ  ซึ่งไม้ไผ่ที่ดีที่สุดคือ  ไม้ไผ่สีสุกและไม้ไผ่ลำละลอก      

ไม้ไผ่ที่จะนำมาทำ  ถ้าหากจะให้แข็งแรง  ทนทานและอยู่นาน  ให้ใช้ไม้ไผ่ที่แก่จัด  ซึ่งก่อนที่จะนำมาเหลา  ต้องเอาไปแช่น้ำทะเลนานประมาณ  2-3  เดือน  แล้วนำมาเก็บในที่ร่มประมาณ  2-3  เดือนจะทำให้เนื้อไผ่เหนียว  มอดไม่กิน  เวลาเหลาไม้ไผ่เนื้อจะสวยสดคงที่
             ส่วนช่างทำกรงนกปรอดหัวจุกที่ฝีมือดี  มีหลายคนเช่นกัน  จังหวัดปัตตานีได้แก่  เจ๊ะอาแม,  สุไลมาน  จังหวัดนราธิวาส  ได้แก่  บังยา,  เล็ก,  มะนัง,  จังหวัดตรัง  ได้แก่  โกฮั๊ว  จังหวัดสงขลา  ได้แก่  บังแอ  อย่างไรก็ดียังมีช่างทำกรงอีกมากที่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ  ของปักษ์ใต้  และมีฝีมือในระดับต่าง ๆ  กันไป



          
      กรงนกเขาชวา แบบไม่มีดอก ฝีมือช่างสาและ จังหวัดปัตตานี                   กรงนกเขาชวาทรงโอ่งแบบโบราณ ฝีมือช่างกูอาแซ จังหวัดปัตตานี
                                                                                       ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,183
             
            แบบมีดอก รางวัลชนะเลิศ งานของดีเมืองนรา 2546                          แบบกรงแกะสลัก รางวัลชมเชยที่1 งานของดีเมืองนรา 2546     
         ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,184
 แบบปัตตานีโบราณ ทำด้วยมะม่วงป่า อายุกรง 50 ปี      แบบปัตตานีประตูกริชไขว้ ทำด้วยไม้ตะเคียน         แบบปัตตานีประตูกริชไขว้ ทำด้วยไมสาวดำ
 ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,185
 
<<< PREVIOUS       NEXT >>>