ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว มูลค่าเพิ่มที่งดงาม |
|
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,192 |
มะพร้าวนอกจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อการบริโภค ไม้มะพร้าวยังมีความแข็งและสวยงามนำมาทำงานหัตถกรรมหรืองานตกแต่งได้ดี กะลามะพร้าว (พรก) เป็นส่วนที่เคยถูกโยนทิ้งอย่างไร้ค่า
ปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือของชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นงานหัตถกรรมที่งดงามด้วยฝีมืออันประณีต
กะลามะพร้าวมีคุณสมบัติและลักษณะพิเศษที่สามารถนำมาดัดแปลงเพื่อใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
้มาตั้งแต่โบราณ เนื่องจากกะลาที่แก่จัดมีความแข็งทนทาน สามารถขัดผิวให้เรียบได้ มีสีดำเป็นเงางาม
ตัดเลื่อยเป็นชิ้นงานขนาดต่าง ๆ ได้ง่าย
กะลามะพร้าวที่นำมาใช้นั้นต้องคัดเลือกรูปทรงให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เช่น ถ้าทำช้อนต้องเลือก
กะลามะพร้าวที่มีขนาดเล็ก ถ้าทำกระเป๋าต้องเลือกกะลาที่มีขนาดใหญ่ แล้วจึงทำการตัดแยกส่วนกะลามะพร้าวเพื่อให้ได้รูปร่างและขนาดตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยใช้เลื่อยเหล็กหรือเลื่อยไฟฟ้า แล้วนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ถ้าลูกค้าต้องการให้ผิวกะลาเงางามดำ
จะใช้น้ำมันมะพร้าวมาขัดถู หรือลูกค้าต่างประเทศที่นิยมความเป็นธรรมชาติของกะลาก็จะนำมาขัดด้วยกระดาษทรายละเอียด
และขัดผิดให้เรียบด้วยเครื่องจัดขนนุ่ม (ฝ้าย) |
|
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,192 |
เมื่อพูดถึงการผลิตหัตถกรรมจากกะลามะพร้าวคงอดที่จะกล่าวถึงศูนย์ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกะลามะพร้าวชัยบุรี
ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านคอกวัว ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จากการริเริ่มของ นายปลื้ม ชูคง ซึ่งได้เริ่มสร้างงานตั้งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับหลากหลายรูปแบบ
ออกจำหน่ายจนเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส สวีเดน นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา มาเลเซีย
และกลายเป็นสินค้าหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของพัทลุง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของนายบุญธรรม บ้านเขารูปช้าง
อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลิตชิ้นงานขายทั้งในและต่างประเทศกลุ่มหัตถกรรมกะลาของนายฉัตรชัย
หมวดช่วย บ้านสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้จัดตั้งกลุ่มผู้พิการที่มีฝีมือด้าน
งานหัตถกรรมกะลาผลิตงานด้วยฝีมือฉลุลวดลายและสร้างสรรค์งาน
เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ |
|
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,193 |
|
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,194 |
|
|
|