ผลิตภัณฑ์จากปาหนัน : คุณค่าทางศิลปะ |
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,196 |
การที่มนุษย์เรารู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้เกิดความคิดในการประดิษฐ์วัตถุสิ่งของออกมาใช้ประโยชน์เพื่อสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจึงมีบทบาทมากในการกำหนดวัตถุดิบที่นำมาประดิษฐ์หัตถกรรมต่าง ๆ ซึ่งวัตถุดิบที่ชาวภาคใต้รู้จักนำมาจักสานเป็นเครื่องใช้สอยประจำวัน ได้แก่ กระจูด คล้า คลุ้ม ลิเพา และใยตาล นอกจากนี้ปาหนันก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ในอดีตชุมชนมุสลิมตลอดชายฝั่งทะเลอันดามันและภาคใต้ตอนล่าง นิยมนำมาสานเป็นเครื่องใช้สอยประจำวัน |
ที่มา : ใต้ หรอย มีลุย. 2547,197 |
ใบเตยปาหนันที่จะเลือกมาจักสานภาชนะจะต้องเลือกเป็นใบเพหลาด (ไม่อ่อนและแก่จนเกินไป) มีความยาวประมาณ 1 เมตร ใช้มีดคม ๆ เหลาหนามเตยที่ขอบและด้านหลังใบออกให้หมด แล้วนำมาอังไฟให้ใบเตยอ่อนตัว จะได้ไม่ฉีกขาดและหักได้ง่าย ทำเส้นเตยตามขนาดที่ต้องการ ใช้วัสดุขูดเส้นเตยเพื่อให้เกิดการคงรูปไม่ย่นหรือบิดเบี้ยว มัดรวมกันแล้วนำไปแช่น้ำไว้ 2-3 คืน เพื่อให้เตยเปลี่ยนสีแล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วผึ่งไว้ 1-2 แดด แล้วนำมาขูดให้เรียบ ถ้าต้องการให้มี ้สีสันก็นำมาย้อมสีทิ้งไว้ 3-5 นาที นำเส้นเตยที่ย้อมสีแล้วผึ่งแดดจนแห้งแล้วนำมาขูดให้เรียบอีกครั้งก่อนนำไปจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ ลวดลายที่ใช้ส่วนมากเป็นลายเรขาคณิต เช่น ลายลูกแก้ว ลานสอง ลายสาม เป็นต้น |