Image
What's Hot

      ภาพที่ ๘ "สระบัว" (พ.ศ.๒๕๓๕)
      ภาพ "สระบัว" เป็นภาพพิมพ์หินที่ทรงวาดไว้ในพิธีเปิดงานครบรอบ ๑๐๐ ปี ของศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร และทรงเปิดนิทรรศการศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ ครั้งที่ ๙ ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ในวันนั้นทรงวาดลงบนแม่พิมพ์หิน ๒ ภาพ ภาพแรกเป็นภาพ "ช้าง" และภาพที่สองภาพ "สระบัว" เป็นครั้งแรกที่ทรงวาดบนแผ่นหินเพื่อเอาไปทำเป็นภาพพิมพ์ Lithograph จากที่ทรงทดลองวาดภาพ "ช้าง" ด้วยพู่กันขนกระต่าย ทรงทราบถึงปัญหาในการเขียนบนหินว่า ต้องใช้ปริมาณน้ำที่มาก เพราะหินจะดูดน้ำจนแห้งทำให้วาดยาก คราวที่เขียนภาพ "สระบัว" จึงทรงใช้น้ำในปริมาณที่มาก และทรงใช้พู่กันกลมแบบพู่กันจีนที่ทรงถนัด พู่กันชนิดนี้จุ่มน้ำได้ดี ทรงวาดภาพสระบัวด้วยจินตนาการของพระองค์ทรงจัดวางดอกบัว ฝักบัว และใบบัวให้อยู่ในมิติเดียวกัน ไม่มีระยะใกล้ไกล ทรงวาดริ้วน้ำเพื่อให้เห็นเป็นสระบัวเติมปลาลงในน้ำ และบนอากาศมีผีเสื้อบินอยู่ ทรงเล่าว่า "ฝักบัวเอาไว้กิน ต้องมีปลา มีผีเสื้อด้วย" ภาพนี้ทรงใช้เวลาวาดภาพไม่นาน น้ำที่แห้งและสีที่ตกตะกอนลงบนแม่พิมพ์หินพอดิบพอดีสวยงาม ยิ่งเมื่อทรงเน้นสีดำเข้มๆ ลงบนฝักบัวและใบบัว ทำให้ภาพนี้เกิดมิติขึ้นเช่นเดียวกับภาพเขียนจีนที่โปรด ภาพ "สระบัว" จึงเป็นภาพฝีพระหัตถ์ภาพหนึ่งที่เป็นศิลปะภาพพิมพ์หินที่ทรงคุณค่ายิ่ง แม้ว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงปิเสธอยู่เสมอว่ามิได้เป็นศิลปิน ทรงเป็นจิตรกรสมัครเล่นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงจากผลงานฝีพระหัตถ์ที่ทรงมาตลอดพระชนมชีพกลับจำนวนมากมายมหาศาล การที่จะทรงเป็นจิตรกรจริงหรือจิตรกรสมัครเล่นจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ งานฝีพระหัตถ์ทั้งหลายเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนคนดูว่าทรงรักในศิลปะ จนไม่อาจแยกพระองค์ออจากศิลปะได้ แม้ว่าจะทรงมีพระราชภารกิจมากมาย แต่ยังทรงแทรกกิจกรรมทางศิลปะอยู่เสมอ ทรงงานวาดรูปได้ทั้งเวลาที่เพิ่งตื่นบรรทมเวลาที่ประชวรและแม้จะดึกดื่นเลยเที่ยงคืนไป หากมีพระประสงค์จะวาดก็ทรงทำอยู่เสมอ ในระยะหลัง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๗ ที่ต้องเสด็จออกงาน ทั้งที่เป็นผู้แทนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้งที่เป็นงานของพระองค์เอง ตลอดทุกวันไม่มีเวลาว่างทรงทราบว่าพระราชภารกิจเหล่านี้ได้แบ่งเวลาที่จะทรงใช้จินตนาการและการสร้างสรรค์ออกไปมา ยังเป็นช่วงเวลาที่เจริญพระชนมายุมากขึ้น เคยรับสั่งไว้ในขณะที่ทรงให้สัมภาษณ์ในขณะนั้นว่า "อาจจะทรงเริ่มวาดภาพอีก" และเมื่อผู้เขียนได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเมื่อครั้งเสด็จเปิดนิทรรศการแห่งหนึ่ง (พ.ศ.๒๕๕๐) และเตรียมพระองค์ที่จะเริ่มพระราชภารกิจวาดภาพให้เป็นที่ระลึกสำหรบเจ้าภาพ ซึ่งในช่วงเวลาหลังจะทรงงานวาดภาพเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเปิดนิทรรศการศิลปะเกือบทุกครั้ง มีรับสั่งว่า "เดี๋ยวนี้ไม่ต้องเขียนรูปที่บ้าน มาเขียนเอาที่มาเปิดงาน" แล้วก็ทรงแย้มพระสรวล ผลงานฝีพระหัตถ์เป็นที่ประจักษ์ว่ามีคุณค่าในทางศิลปะสูง การกล่าวเช่นนี้มิได้เป็นการกล่าวที่เกินความจริง หรือเป็นเพราะฝีมือของเจ้านายจึงพากันยกยอปอปั้นศิลปะทั้งหลายนั้นมีส่วนลักษณะเฉพาะบุคคลของผู้วาดอยู่ ผลงานฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เช่นกัน ไม่ได้ทรงศึกษาศิลปะมาจากสถาบันไหน แต่ทรงแสดงออกถึงพระบุคลิกภาพเฉพาะพระองค์ได้ งานศิลปะโดยทั่วไปจะมีข้อเด่นและข้อด้อยอยู่เสมอ หากเป็นผลงานที่อยู่ในรูปแบบหรือลัทธิใดกจะสมบูรณ์อยู่ในรูปแบบนั้น แต่จะมีข้อบกพร่องเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับงานในรูปแบบอื่นภาพฝีพระหัตถ์ก็เช่นกันที่ทรงจำกัดอยู่ในรูปแบบหนึ่งที่ไม่ทรงผ่านการศึกษาแบบอะคาเดมี จึงไม่อาจล่าวถึงเฉพาะเรื่องฝีมือได้ แต่เมื่อทรงมีความจริงใจ ความบริสุทธิ์ใจที่สามารถแสดงออกมาซื่อๆ คล้ายกับศิลปะแบบ Naive art อันเป็นแบบที่จิตรกรทำนั้น แบบนี้จึงจะเป็นหัวใจของศิลปะ อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติผูล่วงลับไปแล้ว เป็นปรมาจารย์ใหญ่ทางศิลปะที่มีผู้นบถือทั้งประเทศ ได้เคยกล่าววิจารณ์ถึงพระปรีชาสามารถในทางศิลปะของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไว้ว่า "ข้าพเจ้าได้มีโอกาสชมผลงานของพระองค์รู้สึกทึ่งและปีติเป็นล้นพ้นที่พระองค์ทรงมีพรสวรรค์ทางจิตรกรรม ภาพฝีพระหัตถ์ทุภาพแสดงความคิดและอารมณ์ต่างกัน ภาพป่าสน ทรงพระปรีชาฉลาดจัดฉากธรรมชาติป่าสนที่เชียงใหม่ ที่ไม่น่าจะเห็นงามแต่ทรงประทับใจ เขียนระบายสีน้ำมันอย่างถูกต้องด้วยฝีแปรงกล้า น่าประหลาดใจ"