เมืองเก่าสงขลาบนเส้นทางสายอนุรักษ์และพัฒนาสู่จุดหมาย “เมืองมรดกโลก” (ต่อ) |
|
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา-สถาบันทักษิณคดีศึกษา เกาะยอ ป้อมปืน เมืองสงขลาโบราณฝั่งหัวเขาแดง |
เมืองสงขลาย้ายจากฝั่งแหลมสนมาอยู่ฝั่งบ่อยางตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยมีการสร้างบ้านเมืองใหม่ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นกำแพงเมือง ป้อมปราการ วัดวาอาราม จวนเจ้าเมือง ตลอดจนศาลหลักเมือง ซึ่งได้ทำพิธีสมโภชเมือง
พ.ศ. ๒๓๘๕ ชาวเมืองสงขลาในยุคนี้มีทั้งชาวจีน ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน กลายเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวในชุมชน
ด้วยความเป็นเมืองที่ผ่านกาลเวลาอันยาวนาน ปัจจุบันบ้านเมืองจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตายุคสมัย แต่ก็ยังคงหลงเหลือร่องรอยของอดีตอันงดงามบางส่วนปะปนอยู่ในความเป็นเมืองสมัยใหม่ให้ชื่นชมและศึกษา
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา และวัดวาอารามสำคัญของเมือง อย่างเช่น วัดมัชฌิมาวาส ยังคงความสง่างามอลังการ
กำแพงเมืองเก่าแม้จะถูกทุบทำลายไปค่อนข้างมาก ทว่ายังหลงเหลืออยู่บางส่วนตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
ที่ถนนจะนะ ยังมีซุ้มประตูเมืองและกำแพงบางส่วนที่ถนนนครใน ขณะที่ตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบจีน เรือนแถวไม้ ตลอดจนอาคารสไตล์ชิโน-โปรตุกีสเรียงรายให้เห็นเป็นระยะอยู่บนถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม
ที่ผ่านมาพระนครศรีอยุธยา เมืองมรดกโลกแห่งหนี่งของไทยเราก็เคยได้รับการคัดเลือกด้วยความโดดเด่นในลักษณะ ของชุมชนที่ใช้ชีวิตอยู่กับแม่น้ำลำคลองมาแล้ว เมืองเก่าสงขลาเองถือว่ามีความโดดเด่นในด้านความเป็นเมืองบนชายฝั่งทะเลและทะเลสาบที่มีความต่อเนื่องยาวนานเช่นกัน
เหนือสิ่งอื่นใดคือการที่ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำพาเมืองไปสู่ความเป็นมรดกโลก เพราะประเด็นในด้านการบริหารจัดการก็ถือเป็นหัวข้อสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทางยูเนสโกใช้ในการพิจารณา
ระหว่างนี้เมืองสงขลาก็อยู่ในช่วงเวลาของการรวบรวมข้อมูลในทุกๆ ด้านเพื่อการนำเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อเพื่อพิจารณา คัดเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกต่อไป ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่
ไม่ว่าจะอย่างไร ขอเพียงมีการเริ่มต้น จุดหมายก็ถือว่าอยู่ไม่ไกลแล้ว |
|
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา-สถาบันทักษิณคดีศึกษา |
|
สถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
|
เอกสารอ้างอิง
จังหวัดสงขลา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%
A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%87%
E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2
ชัยวัฒน์ ชินอุปราวัฒน์. 2553. นครสงขลา เมืองเก่าและเรื่องเล่าในอดีต. 50(11): 51-61.
|
|
|