จากเมืองท่า Singora สู่สงขลาในปัจจุบัน |
|
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา(ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบจีน) ทำพิธีสมโภชเมื่อ พ.ศ. 2385 |
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๕-๖ เป็นยุคที่คนตะวันตกออกแสวงหาดินแดนใหม่ ๆ เพื่อทำการค้า จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาของการค้นพบเส้นทางการค้าทางทะเลคู่ขนานไปกับเส้นทางทางบก ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๘ เส้นทางการค้าทางทะเลเป็นที่นิยมสูงสุด เพราะการเดินทางทางบกนั้นไม่ค่อยปลอดภัยและมีอุปสรรคทางภูมิประเทศ
ด้วยเหตุนี้ ทำให้บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยที่เป็นคาบสมุทรทั้งอยู่ระหว่างประเทศที่เป็นอู่อารยธรรม เช่น ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศแถบอาหรับ-เปอร์เซีย และประเทศแถบชวา-มลายู เป็นดินแดนที่อยู่ในตำแหน่งเส้นทางการค้าทางทะเล พ่อค้าส่วนใหญ่จะแวะตามเมืองท่าชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อจอดขนถ่ายสินค้า ซ่อมเรือเติมน้ำจืดและอาหาร ทำให้เมืองท่าทางภาคใต้มีความเจริญรุดหน้าเป็นอันมาก
ยิ่งไปกว่านั้น เรายังมีเครื่องเทศ เช่น ว่าน กระวาน ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย พริกไทย ฯลฯ เป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดให้พ่อค้าชาวตะวันตกต้องเดินทางมาแสวงหา จนทำให้เส้นทางเดินเรือนี้มีชื่อเสียง และได้ชื่อว่าเป็น “เส้นทางเครื่องเทศ”
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาได้เริ่มต้นอย่างแท้จริงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ โดยมีศูนย์กลางการปกครอง ๓ แห่ง แห่งแรกคือเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง แห่งที่สองคือเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน และแห่งสุดท้ายคือเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง |
|
ศาลเจ้าพ่อกวนอู |
ถนนนครในและถนนนางงาม
อาคารแบบซิโน-โปรตุกีสเป็นอาคารที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะการออกแบบก่อสร้างของจีนผสมโปรตุเกส
ซึ่งมีที่มาจากบ้านเรือนแถบเกาะปีนัง และแผ่ขยายมายังชุมชนชาวจีนบนเกาะภูเก็ตในยุคที่เศรษฐกิจทำเหมืองแร่เฟื่องฟู
ซิโน-โปรกีสเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมตะวันออก ตะวันตกคือโปรตุเกส ส่วนตะวันออกก็คือจีน
ซึ่งในสมัยก่อนชาวโปรตุเกสเรียกจีนว่า “ชิโน” ลักษณะอาคารแบบซิโน-โปรตุกีสมีหลายรูปแบบ แต่ละส่วนเป็นตึกแถว
มีกำแพงหนา เพราะใช้กำแพงรับน้ำหนัก ลักษณะเด่นของชิโน-โปรตุกีสคือการนิยมใช้โค้ง (Arch) เรียงอยู่ด้านหน้าของ
ตึกชั้นล่าง รับระเบียงชั้นสอง ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า “อาเขต” หรือที่คนจีนเรียกว่า “หงอคาขี่” กลายเป็นทางเท้า
ที่มีหลังคาคลุมตลอดทางเดิน
แต่สำหรับอาคารแบบศิลปะจีนนั้น มักก่อสร้างเป็นตึกขั้นเดียว แต่ก็มีบ้างที่เป็นตึกสองชั้น อาคารส่วนใหญ่มัก
ตั้งอยู่ริมถนน และจะปรับพื้นดินด้วยการเอาดินตากแดดมาวางเบียดชิดกันผนังทำด้วยดินเหนียวผสมฝาสับ และใช้ไม้
ขนาดใหญ่ทำขื่อและจันทัน ทำจั่ว แล้วค่อยปูด้วยไม้ จากนั้นนำดินปั้นเป็นแผ่นไปวางทับบนหลังคา แล้วกรุทับด้วย
หลังคามุงหญ้าคาอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าหลังคาสองชั้นการก่อสร้างแบบนี้ว่ากันว่าเป็นบ้านที่สามารถป้องกันไฟ
ถ้าหากไฟไหม้ก็จะไหม้เฉาะหลังคาแฝกเท่านั้น
แม้ว่าปัจจุบันอาคารแบบชิโน-โปรตุกีสและอาคารศิลปะแบบจีนเหล่านี้จะทรุดโทรมลงเพราะถูกมรสุม
ตบตีมาหลายฤดูแล้วก็ตาม หากแต่อาคารเหล่านี้ก็ยังคงความงดงาม สามารถบอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีตได้อย่าง
ไม่มีขาดตกบกพร่อง ซึ่งหากใครก็ตามที่ได้มาเยือนเมืองเก่าสงขลาก็คงอดหลงเสน่ห์ของเมืองแห่งนี้ไม่ได้ อีกทั้ง
รสชาติของอาหารพื้นบ้านโบราณของชาวตำบลบ่อยาง เช่นบีฮุ้นยำ หรือยำเส้นหมี่ ต้มใส่ไส้ ขนมค้างคาว ขนมหวัก
ขนมทองเอก ขนมปาด ขนมวุ้ยโข่ย หรือขนมเทียนสด ขนมหมอฉี่ ขนมจูจุ๋น ขนมซ่อนลูก อีกทั้งของคาว เช่น
หมูฮ้อง พริกขิง ข้าวยำ ข้าวมันแกงไก่ ซึ่งแต่ละอย่างนั้นรับประกันความอร่อย โดยเฉพาะร้านอาหารบนถนนนางงาม
ยิ่งได้ออกไปชำเลืองความเป็นไปในวิถีของคนพื้นเมืองที่ยังคงรื่นรมย์กับการนั่งรถสามล้อถีบจิบกาแฟโบราณ
ที่ร้าน พื้นบ้านซึ่งเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของชุมชน ทำให้อดอิจฉาความสุขสงบของผู้คนที่นี่ไม่ได้
|
|
ร้านขายขนมไทยที่มีชื่อเสียง บนถนนนางงาม |
|
|
|