การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง  ๘  ช่อง  ตามแนวพระราชดำริ

    

            

    
จิตรกรรมฝาผนังด้านบน เรื่องประวัติพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณี
มัย มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ เขียนเมื่อพุทธศักราช 2410
   ผนังด้านทิศเหนือ จากลพบุรีสู่เมืองหริภูญไชย
ที่มา :สายไหม จบกลศึก. 2551,26

เมื่อต้นร่างภาพทั้ง  ๘  ช่องได้รับพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว  และเคลื่อนย้ายจิตรกรรมที่เขียนเมื่อพุทธศักราช  ๒๕๐๔  ออกแล้ว  กรมศิลปากรได้เริ่มทำผนังพระพุทธรัตนสถานเพื่อการเขียนภาพตามกรรมวิธีโบราณ  ในเวลาเดียวกันก็เริ่มการขยายภาพเท่าขนาดจริงสรรหาสีซึ่งกำหนดใช้สีฝุ่น  ทดสอบพื้นผนังและทดสอบการใช้สี  โดยเขียนสีลงในแผ่นผนังจำลองขนาดเล็ก ๆ  หลายแผ่น  ป้องกันอุปสรรคปัญหาการเขียนภาพบนผนังจริง  ซึ่งต้องประณีตในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน
                การบริหารงานเพื่อรักษาแนวศิลปกรรมที่เขียนใหม่ตามพระราชดำริให้ภาพจิตรกรรมทั้ง  ๘  ช่องเป็น  “ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่  ๙”  ด้วยการจัดสรรศิลปินกระจายลงทุกช่อง  โดยจำแนกประเภทภาพ  ได้แก่  ต้นไม้  ผู้คน  สถาปัตยกรรม  น้ำ  เรือ  สิ่งแวดล้อม  หรือการปิดทอง ฯลฯ  ศิลปินผู้ใดถนัดเขียนภาพลักษณะใด  หรือปฏิบัติงานในขั้นตอนใด  จะต้องฝากฝีมือไว้ในภาพที่มีงานที่ตนถนัดไว้ทุกแห่ง  เป็นการรักษาลักษณะศิลปกรรมให้มีความสม่ำเสมอ  ไม่เผลอนำศิลปะเฉพาะตัวของตนเองเข้ามาผสมผสาน  พยายามรักษาแนวดั้งเดิมอันเป็นภูมิปัญญาไทยไว้ให้เด่นชัด  ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกประการ

 
Previous     Next