ที่มา : ประเพณีให้ทานไฟ http://www.siamrustic.com/index.php?option=com
   ประวัติความเป็นมา
สันนิษฐานว่าประเพณีให้ทานไฟเกิดขึ้นจากอากาศหนาวเป็นต้นเหตุ  กล่าวคือ  ภิกษุสามเณรมีเพียงจีวรบาง ๆ  ผืนเดียวพันกาย 
และบรรดาภัตตาหารที่ได้จากการบิณฑบาตก็เย็นชืดไม่เป็นรสชาติ  พุทธศาสนิกชนจึงคิดกันจะอุปัฎฐากภิกษุสามเณรให้ได้รับความอบอุ่น
จากความร้อนของไฟและได้ฉันภัตตาหารที่ปรุงขึ้นทันทีทันใด  แต่บางท่านมีความเห็นว่าประเพณีนี้น่าจะรับมาจากอินเดียโดยอาศัย
หลักฐานจาก  “คัมภีร์ขุททกนิกาย”  ในคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึงเศรษฐีคนหนึ่งแห่งแควันสักกะชื่อโกสิยะซึ่งเป็นคนร่ำรวยกว่าใคร ๆ 
มีปราสาทใหญ่ถึง  7 ชั้น  แต่เป็นคนตระหนี่ต่อทุกคนไม่ว่านักบวช  ญาติมิตร  ชาวเมือง  ข้าทาส  แม้แต่ตนเองและลูกเมียก็มิได้ละเว้น 
วันหนึ่งเศรษฐีโกสิยะผ่านไปในกรุงราชคฤห์เห็นชาวเมืองนั่งกินขนมเบื้องที่แผงลอย  เศรษฐกิจเกิดความหยากกินขนมเบื้องขึ้นมาบ้าง 
แต่ด้วยความตระหนี่ก็ไม่ยอมซื้อกิน  จึงกลับมาบ้านด้วยความอยากกินที่ยังคั่งค้างอยู่ภายในจิตใจ  จึงหดหู่ซึมเซาผิดปกติไป  ฝ่ายภรรยา
เศรษฐีก็พยายามไต่ถามจนรู้ความ   และรับอาสาจะทำขนมเบื้องเลี้ยงสามี  แต่เศรษฐีเกิดความตระหนี่ขึ้นมาเกรงว่าจะเปลืองเงินทอง
  เพราะจะต้องเลี้ยงลูกเมียด้วย  ก็ไม่อยากให้ภรรยาทำให้  แต่ภรรยาก็ชวนเศรษฐีไปทำขนมเบื้องที่ชั้นที่ 7  ของปราสาทเพราะไม่อยาก
ให้ใครรู้เห็น  และตนเองก็จะไม่กินขนมเบื้องนั้นโดยเด็ดขาดเศรษฐีจึงเห็นชอบด้วยในขณะที่ทั้งสองกำลังทำขนมเบื้องกันอยู่นั้น 
พระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่  ณ เขตวันมหาวิหารได้ทรงทราบด้วยญาณว่าเศรษฐีผู้ตระหนี่กำลังแสดงการตระหนี่ออกมาเกินเหตุเสียแล้ว
เห็นควรให้ละนิสัยนี้เสีย  จึงรับสั่งให้พระโมคคลานไปแก้นิสัยของเศรษฐี  พระโมคคลานได้เหาะตรงไปยังประตูชั้น 7 ของคฤหาสน
์ของเศรษฐี แล้วยืนสำรวมอยู่ที่ประตูเศรษฐีเข้าใจว่าพระโมคคลานจะมาขอขนม จึงแสดงอาการรังเกียจ และออกวาจาไล
่พระโมคคลาน พระโมคคลานได้ทรมานเศรษฐีอยู่นาน ในที่สุดเศรษฐีได้ยอมถวายขนมบ้าง พระโมคคลานจึงแสดงธรรมว่าด้วยเรื่อง
ประโยชน์ของการให้เศรษฐีและภรรยาเลื่อมใสจึงนิมนต์พระโมคคลานไปรับถวายอาหารที่บ้านของตน แต่พระโมคคลานไม่รับและ
แจ้งว่าถ้าจะถวายควรไปถวายพระพุทธ
องค์และพระสาวก  500  รูป  ณ  เชตวันมหาวิหาร  เศรษฐีและภรรยาจึงได้ทำขนมเบื้องถวาย
พระพุทธองค์และสาวกทั้ง  500  รูป  แต่ทำเท่าไร ๆ  แป้งที่เตรียมไว้เพียงเล็กน้อยก็ไม่หมด  ท้ายที่สุดพระพุทธองค์ได้ทรงเทศนา
สั่งสอนเศรษฐีและภรรยา  ทั้งสองเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระโอษฐ์ก็บังเกิดความปิติอิ่มเอิบในการบริจาคทานและบรรลุ
โสดาปัตติผลในที่สุด
                จากความเป็นมาที่กล่าวมาแล้ว  อาจจะเป็นไปได้ว่า  คติดันนี้ว่าจะยึดเอาเรื่องราวอันมีมาในขุททกนิกายเป็นมูล  เพราะว่าในวันให้ทานไฟนั้นพุทธศาสนิกชนได้ถวายขนมเบื้องแด่พระภิกษุสงฆ์  เช่นเดียวกับในเรื่องราวตามคัมภีร์ดังกล่าว
                ประเพณีการให้ทานไฟกระทำในวันที่คาดว่าอากาศจะหนาวเย็นที่สุด  ในตอนเช้าตรู่ของวันใดวันหนึ่งในเดือนอ้าย
ต่อเดือนยี่  แต่จะเป็นวันใดนั้น  ทางวัดจะทำความตกลงกับอุบาสกอุบาสิกาเป็นปี ๆ  ไป
                พอเช้าตรู่ของวันนัดหมาย  พุทธศาสนิกชนก็จะพร้อมใจกันไปยังวัดที่ใกล้บ้านโดยจัดแจงยกเอาเครื่องประกอบในการ
ทำขนมพื้นบ้านทั้งหลายที่เตรียมไว้ไปด้วย  แล้วช่วยกันก่อกองไฟและทำขนมกัยนในทันทีทันใด  ขนมที่นิยมทำกันได้แก่ขนมเบื้อง
  ขนมครกและขนมกรอก  ส่วนการก่อไฟจะก่อกี่กองก็ได้แล้วแต่จำนวนพระภิกษุสงฆ์ในวัดนั้น ๆ หากมีหลายรูปก็ก่อหลายกอง 
หากมีน้อยก็ก่อน้อยกอง  เมื่อก่อไฟแล้วก็นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาผิงไฟ  เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
                เมื่อขนมที่ทำกันนั้นสุกได้ที่แล้วก็นิมนต์พระสงฆ์มาที่โรงฉันซึ่งมีกองไฟอยู่ใกล้ ๆ  หรือไม่ก็ปูเสื่อรอบ ๆ  กองไฟนั้น  เมื่อพระสงฆ์มาสู่ที่ฉันเรียบร้อยแล้วก็ประเคนขนมที่ทำเสร็จใหม่นั้น  ครั้นพระสงฆ์ฉันจนอิ่มโดยทั่วแล้วท่านก็ให้พรเมื่อให้พรจบแล้วพระสงฆ์ก็จะกลับไปปฏิบัติกิจของสงฆ์ซึ่งขณะนั้นอากาศเริ่มอบอุ่นขึ้น
เพราะแสงแดด  หลังจากนั้นพุทธศาสนิกชนก็จะร่วมกันรับประทานขนมที่เหลือจากถวายพระกันเป็นที่สนุกสนานและช่วยกันขนของ
ที่ใช้ประกอบ
การทำขนมกลับบ้านด้วยความอิ่มเอิบในผลบุญที่ได้กระทำ  ประเพณีการให้ทานไฟก็จบลงเพียงแค่นี้
                ต่อมาประเพณีการให้ทานไฟได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง  กล่าวคือพุทธศาสนิกชนได้มีการทำขนมต่าง ๆ  เพิ่มขึ้นหลายชนิด
  แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังเป็นขนมพื้นบ้านง่าย ๆ  ที่ทำเสร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว  ได้แก่  ขนมจู้จุนกล้วยแขก  ข้าวเหนียวกวน 
ขนมกรุบ  และข้าวเกรียบปากหม้อ  เป็นต้น  นอกจากนี้ในบางคราวก็มีการเลี้ยงอาหารคาวด้วย
                ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก  กล่าวคือแต่เดิมพุทธศาสนิกชนจะไปทำขนมที่วัดพร้อม ๆ กับก่อไฟให้ภิกษุสงฆ์
ได้ผิงในวันที่อากาศหนาวเย็นที่สุด  แต่เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไป  การจะไปทำขนมอยู่ที่วัดอาจทำให้เสียเวลาในการ
ประกอบอาชีพ  ขนมที่จะถวายพระภิกษุสงฆ์ในวันให้ทานไฟจึงเป็นขนมที่ทำสำเร็จไปจากบ้านเมื่อไปถึงวัดก็ก่อไฟให้พระภิกษุสงฆ์ผิง
และประเคนขนมถวาย  เป็นอันเสร็จพิธี

                ประเพณีการให้ทานไฟเป็นเพณีที่ปฏิบัติด้วยเหตุผลทางพุทธศาสนา  ผู้ปฏิบัตินอกจากจะได้รับความสุขใจ  ความอิ่มเอิบใจ
ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนแล้ว  ยังมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมด้วย  กล่าวคือประชาชนที่ไปร่วมกิจกรรมนี้จะได้พบปะ
สังสรรค์ร่วมกัน  แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ  แต่ก็มีความหมายกับการดำรงอยู่ของชีวิต  เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีงาม  กิจกรรมนี้จึงมีส่วนช่วยยึดเหนี่ยวให้คนในสังคมมีความผูกพันกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  อันจะนำไปสู่การร่วมมือกันในกิจกรรมอื่น ๆ  อีก
                ในกรณีที่ประเพณีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรูปแบบไปบ้าง  เช่น  มีชนิดของขนมมากขึ้น  มีการเตรียมขนมสำเร็จรูป
ไปถวายพระ  เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป  เป็นการเสียเวลาในการประกอบอาชีพนั้น  สภาพเช่นนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ยอมรับได
้เพราะมิได้เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ  สิ่งสำคัญคือ  ทางราชการ  นักวิชาการ  และประชาชนต้องสนใจศึกษาและหาทางสนับสนุน
อย่างจริงจังให้ประเพณีนี้คงอยู่ตลอดไป

ที่มา : ประเพณีให้ทานไฟ http://www.siamrustic.com/index.php?option=com
 
PREVIOUS